มัรเญียะอ์ตักลีด

มัรเญียะอ์ตักลีด ในฟิกฮ์ของอิมามียะฮ์หมายถึงนักวินิจฉัยหลักปฏิบัติศาสนกิจผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน และมีตำราภาคปฏิบัติ (เตาฎีฮุลมะซาอิล) หรือตำราวินิจฉัย มีผู้ยึดปฏิบัติตามคำวินิจฉัยเขาในหลักปฏิบัติศาสนกิจ นักนิติศาสตร์อิสลาม (ฟุกอฮา) ส่วนใหญ่ของชีอะฮ์เชื่อว่ามุฟตีและมัรเญียะอ์ตักลีดต้องมีชีวิตอยู่ (เชคอันซอรี อ้างการเป็นมติเอกฉันท์ไว้)[1]

ความหมายในพจนานุกรมและศัพท์ทางวิชาการของคำว่ามัรเญียะอ์ แก้

มัรเญียะอ์ ในพจนานกรม เป็นคำนามที่บ่งบอกถึงสถานที่คำว่า"อ้างอิง"ในพจนานุกรม, ชื่อของที่หมายถึงสถานที่ของบุคคลอ้างอิงถึง ดังนั้นเรียกว่าเพื่อเป็นตัวแทนของมันมากกว่าคนอื่น ก็คือ เป็นและอีกเงื่อนไขเช่น pietism และที่จำเป็นต้องใช้ความรู้ของปัญหาของโลกอิสลาม และชีอะฮ์

ความในพจนานุกรมและศัพท์ทางวิชาการของคำว่าตักลีด แก้

ตักลีดในพจนานุกรมหมายถึงการแขวนปลอกคอ ศัพท์ทางวิชาการด้านนิติศาสตร์ (ฟิกฮ์) ก็ให้ความหมายตามนี้เช่นกัน เมื่อกล่าวว่าผู้คนได้ตักลีดตามนักการวินิจฉัย นั่นก็หมายความว่าการนำคำวินิจฉัยของเขามาแขวนคอของตนเอาไว้ จะเรียกคนปฏิบัติตามว่า มุก็อลลิด ส่วนผู้ถูกปฏิบัติตามว่า มุก็อลลัด[2]

ในช่วงต้นอิสลาม การตักลีดมีความหมายไปทางลบ เป็นที่ตำหนิคนที่ไม่ใช่มุสลิมที่ต้องการจะปฏิบัติตามบรรพชนของพวกเขา จากศตวรรษที่สองเป็นต้นมาเริ่มให้ความหมายไปในทางบวกซึ่งครอบคลุมถึงผู้ปฏิบัติตามฮะดีษต่างๆและคำกล่าวของบรรดาสาวก[3]

ประวัติความเป็นมา แก้

การตัดลีดในนิกายชีอะฮ์เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ยุคสมัยบรรดาอิมามมะอ์ซูม พวกท่านอนุญาตให้ผู้ปฏิบ้ติตามพวกท่านย้อนกลับไปหานักรายงานฮะดีษหรือสาวกผู้ใกล้ชิดของท่าน บางครั้งท่านสนับสนุนให้สาวกของท่านประจำการที่มัสญิดและศูนย์กลางต่างๆเพื่อออกคำวินิจฉัยและชี้นำประชาชน การสนับสนุนส่งเสริมเกี่ยวกับเรื่องนี้ในยุคสมัยอิมามมะอ์ซูม ก็เนื่องจากว่าระยะทางที่ห่างไกลกันของแต่ละเมือง การเดินทางไม่สะดวกเนื่องจากไม่มียานพาหนะ จึงเป็นการยากลำบากที่ประชาชนจะเดินทางมาเข้าพบบรรดาอิมาม อีกทั้งเรื่องการอำพรางตน (ตะกียะฮ์) สรุปคือเป็นการยากที่จะเข้าพบอิมามได้โดยตรง ในยุคการเร้นกายระยะสั้นประชาชนเริ่มรู้สึกถึงความจำเป็นในการตักลีดในเรื่องหลักปฏิบัติศาสนกิจมากยิ่งขึ้น ตามหลักฐานสาส์น (เตาเกี้ยะอ์) ฉบับสุดท้ายของอิมามท่านที่สิบสองของชีอะฮ์ ได้แนะนำแหล่งย้อนกลับเรืื่องหลักปฏิบ้ติศาสนกิจใหม่ๆ คือบรรดานักนิติศาสตร์อิสลาม (ฟุกอฮา) ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและจำเป็นที่ผู้คนต้องปฏิบัติตามพวกเขา[4]

การตักลีดในตำรา อุซูลุลฟิกฮ์ ถูกให้นิยามเชิงวิชาการตั้งแต่ศตวรรษที่สี่ เดิมทีความหมายนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต่อมาเรียกกันว่า "มัรเญียะอ์" เลย บุคคลแรกในหมู่ชีอะฮ์ที่เป็นมัรเญียะอ์ คือ เชคฏูซี ซึ่งอยู่ในศตวรรษที่ห้า บรรดาผู้รู้ท่านอื่นถือว่าตนเป็นผู้ปฏิบัติตามเขา และการบอกคำกล่าวของเขาต่อมาภายหลังเรียกกันว่า "ตักลีด" การตักลีดนี้ เรียกว่าเป็นการตักลีดตามผู้รู้ แต่หลักการตักลีดทั่วไปกับนักการวินิจฉัยหลักปฏิบัติศาสนกิจนั้นเริ่มชัดเจนขึ้นในช่วงศตวรรษที่สิบ

เดิมทีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนกับบรรดานักนิติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ ที่เรียกกันว่า "มัรเญียะอ์" นั้นเป็นการปฏิสัมพันธ์ที่กระจัดกระจาย ในลักษณะที่ว่าในแต่ละพื้นที่ก็จะมีฟะกีฮ์หนึ่งท่านหรือหลายท่าน ต่อมาในยุคซอฟะวี บรรดาผู้รู้ได้อพยพเข้าจากJabal Amel เลบานอน สู่ราชอาณาจักรซอฟะวี จึงเริ่มเกิดศูนย์กลางนักการศาสนาขึ้น ซึ่งมีชื่อเสียงมากว่าในพื้นที่ของตนเอง ศูนย์กลางที่มีชื่อเสียงที่สุดเกิดขึ้นในยุคของอายาตุลลอฮ์บุรูญัรดี ในสถาบันศาสนาแห่งเมืองกุม ท่านกลายเป็นมัรเญียะอ์ที่โดดเด่นโดยไม่มีผู้ใดเทียบเทียมในบรรดาชีอะฮ์ ภายหลังจากการเสียชีวิตของท่านก็เป็นยุคที่เกิดมัรเญียะอ์ขึ้นอย่างมากมาย

บทบาทของมัรเญียะอ์ตักลีดของชีอะฮ์ แก้

ในมุมมองของนิติศาสตร์ บรรดานักนิติศาสตร์ (ฟุกอฮา)ของชีอะฮ์ คือตัวแทนทั่วไปของอิมามในเรื่องหลักการศาสนา การวินิจฉัยและอธิบายหลักปฏิบัติศาสนกิจของศาสนาอิสลามในยุคที่อิมามแห่งยุคเร้นกาย

ตลอดหน้าประวัติศาสตร์ของชีอะฮ์ บรรดามัรเญียะอ์ของชีอะฮ์มีบทบาทที่สำคัญในเรื่องของศาสนา ทางด้านความคิด การเมือง และสังคม เช่น คำวินิจฉัยห้ามยาสูบโดย มัรซอ ชีอรอซี ในยุคการปกครองของกอจอรกระทั่งเป็นเหตุให้ยกเลิกการผลิตยาสูบในที่สุด

มัรเญียะอ์ทั่วไป แก้

ในแต่ละยุคแต่ละสมัยโดยเฉพาะยุคปัจจุบันมีนักการวินิจฉัยหลักปฏิบัติศาสนกิจจำนวนมากที่ถูกรู้จักกันในนาม มัรเญียะอ์ แต่มัรเญียะอ์ทั่วไป หมายถึงมัรเญียะอ์ที่ถูกรู้จักกันในประเทศต่างๆ มีผู้ปฏิบัติตามจำนวนหนึ่ง และการออกคำวินิจฉัยของเขาเป็นที่ให้ความสนใจของมัรเญียะอ์แห่งยุคท่านอื่น ในขณะเดีียวกันมัรเญียะอ์ทั่วไปอาจมีหลายคนก็ได้แม่แบบ:مدرک

ตำแหน่งมัรเญียะอ์สูงสุด แก้

ในแต่ละยุคแต่ละสมัยจะมีมัรเญียะอ์ที่มีความรู้สูงกว่าท่านอื่นๆ และผู้คนส่วนมากจะปฏิบัติตามเขา จะเรียกกันว่า มัรญีอียัต อะอ์ลา หรือ มัรญีอียัต กุล มีฐานะภาพที่สูงส่งกว่าในสังคมของชีอะฮ์ ในปัจจุบันไม่มีทัศนะที่เป็นเอกฉันท์จึงไม่อาจระบุได้ว่าผู้ใดอยู่ในตำแหน่งมัรเญียะอ์สูงสุดแม่แบบ:مدرک

บรรดามัรเญียะอ์ที่ถูกรู้จักในปัจจุบัน แก้

บรรดามัรเญียะอ์บางท่านของชีอะฮ์มีตำราภาคปฏิบัติ และมีผู้ปฏิบัติตามมากมายในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งถูกกล่าวไว้แล้วในที่นี้

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง แก้

แหล่งอ้างอิง แก้

แม่แบบ:پانویس

แหล่งข้อมูล แก้

  • "Biographical จะอ้างอิงไปยังส่วนของขวัญ" เก็บถาวร 2011-08-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนนะ ศูนย์ข้อมูลทั่วไป آلالبیتน แฟ้มจัดเก็บมาจากดั้งเดิมกันตั้งกะเดือนมิถุนายน ۱۳۸۸ {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  1. محمدی، اصول فقه. ۱۹۰
  2. محمدی، ابوالحسن. اصول فقه. چاپ هجدهم. تهران: دانشگاه تهران، ۱۳۸۳. ص ۳۶۳. ISBN 964-03-4076-6.แม่แบบ:یادکرد
  3. مرجعیت و دین دولتی شده با نظر به قضیهٔ آیت‌الله صانعی رضا نیکجو، دویچه وله، ۵ ژانویه ۲۰۱۰
  4. تقلید بنیاد دائرةالمعارف اسلامی