มะไฟกา

สปีชีส์ของพืช
มะไฟกา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Malpighiales
วงศ์: Phyllanthaceae
สกุล: Baccaurea
สปีชีส์: B.  parviflora
ชื่อทวินาม
Baccaurea parviflora

มะไฟกา ชื่อวิทยาศาสตร์: Baccaurea parviflora หรือมะไฟเตา ส้มไฟดิน ส้มไฟป่า เป็นไม้ยืนต้นในสกุล Baccaurea เปลือกต้นสีน้ำตาล ใบเดี่ยว ออกรวมเป็นกลุ่ม ข้อต่อระหว่างโคนใบกับก้านใบบวมพอง ดอกออกที่ลำต้นและปลายกิ่งเป็นช่อ ดอกแยกเพศแยกต้น ดอกตัวผู้มีกลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ มีขนสีขาวปกคลุม ดอกตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่า ผลกลม เปลือกหุ้มเหนียวและหนา แก่แล้วผลเป็นสีแดงแกมม่วง เนื้อหุ้มเมล็ดสีเหลืองอ่อน รสเปรี้ยว เมล็ดกลมแบน

การใช้ประโยชน์

แก้

ผลรับประทานได้ ผลอ่อนใช้เป็นผักใส่ในแกงคั่ว ทางภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน นำเปลือกผลสุกที่เป็นสีแดงไปยำกับหนังหมูและกุ้งแห้ง[1] ผลสุกรับประทานสด มีวิตามินซีสูง สรรพคุณช่วยขับเสมหะ รักษาอาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ รากแก้พิษตานซาง แก้วัณโรค ฝี ดับพิษร้อนและเริม ลดอาการอักเสบ

อ้างอิง

แก้
  • เศรษฐมันต์ กาญจนกุล. มะไฟกา ใน ผลไม้ในเมืองไทย. กทม. เศรษฐศิลป์. 2555 หน้า 18-19หน้า 106 – 107
  1. เมฆาณี จงบุญเจือและสมพิศ คลี่ขยาย. อาหารปักษ์ใต้ บาบ๋า ย่าหยาในอันดามัน.กทม. เศรษฐศิลป์. 2556