ภาสานจร

เกาะในประเทศบังกลาเทศ

ภาสานจร (เบงกอล: ভাসানচর; แปลว่า สันดอนลอย, เกาะลอย)[1] เป็นเกาะในเขตตำบลหาติยา อำเภอโนยาขาลี ภาคจิตตะกอง ประเทศบังกลาเทศ[2] ตั้งอยู่ในอ่าวเบงกอล ห่างจากเกาะสันทวีปประมาณ 6 กิโลเมตร และห่างจากแผ่นดินใหญ่ประมาณ 60 กิโลเมตร[3]

ภาสานจร
ภาสานจรตั้งอยู่ในประเทศบังกลาเทศ
ภาสานจร
ภาสานจร
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งอ่าวเบงกอล
พิกัด22°22′30″N 91°23′33″E / 22.37500°N 91.39250°E / 22.37500; 91.39250
พื้นที่25 ตารางไมล์ (65 ตารางกิโลเมตร)
การปกครอง
ข้อมูลอื่น ๆ
เขตเวลา

ภาสานจรก่อตัวขึ้นจากตะกอนทรายแป้งจากเทือกเขาหิมาลัยใน พ.ศ. 2549[2] มีพื้นที่ประมาณ 40 ตารางกิโลเมตร (15 ตารางไมล์)[4] รัฐบาลบังกลาเทศวางแผนที่จะสร้างอาคารทั้งหมด 1,440 หลังซึ่งรวมถึงศูนย์พักพิงพายุไซโคลน 120 ศูนย์ เพื่อเคลื่อนย้ายผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจา 100,000 คนออกจากค่ายที่เมืองค็อกส์บาซาร์บนแผ่นดินใหญ่[5] รัฐบาลบังกลาเทศเสนอให้ย้ายผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจามายังเกาะนี้เป็นครั้งแรกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558[6] หน่วยงานด้านผู้ลี้ภัยของสหประชาชาติให้ความเห็นว่าข้อเสนอดังกล่าว "มีความท้าทายด้านการจัดระบบการดำเนินงาน"[6] ถึงกระนั้นรัฐบาลบังกลาเทศก็สั่งการให้ย้ายชาวโรฮีนจามายังเกาะนี้เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560[2][3][7] ฮิวแมนไรตส์วอตช์กล่าวว่าแผนการนี้เป็น "หายนะทางสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรมที่กำลังก่อตัว"[2]

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 รัฐบาลบังกลาเทศประกาศขยายโครงการอาศรยัณ (อาศรยัณ-3) เพื่อสร้างบ้าน 100,000 หลังที่ภาสานจร[8] บ้านเหล่านี้จะยกพื้นสูง 4 ฟุตเพื่อปกป้องผู้ลี้ภัยจากคลื่นน้ำขึ้นลง[9] งานโยธาสาธารณะมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 309.5 ล้านฏากา ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 34 จากการจัดสรรงบประมาณครั้งแรก[10] โครงการเพิ่มเติมได้แก่ การก่อเขื่อนกันน้ำท่วมสูงตั้งแต่ 2.7 เมตร (9 ฟุต) ถึง 5.8 เมตร (19 ฟุต) และการก่อสร้างหมู่บ้านเป็นกลุ่ม สถานีพักพิง โครงสร้างพื้นฐานร่องน้ำ ถนน และการพัฒนาที่ดินนอกเหนือจากงานที่ค้างอยู่ 26 งานภายใต้โครงการ[10]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 โครงการนี้เดินหน้าต่อไปแม้จะมีเสียงต่อต้านจากบรรดาผู้นำชาวโรฮีนจาและกลุ่มสิทธิมนุษยชน รัฐมนตรีกระทรวงกิจการผู้ลี้ภัยของบังกลาเทศระบุว่าภาสานจร "พร้อมสำหรับการอยู่อาศัย"[11] ต่อมาในวันที่ 4 ธันวาคม ปีเดียวกัน รัฐบาลบังกลาเทศได้เริ่มเคลื่อนย้ายผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาชุดแรก จำนวน 1,640 คน ออกจากค่ายที่ค็อกส์บาซาร์ เดินทางทางเรือจากท่าจิตตะกองมายังเกาะนี้[12]

อ้างอิง แก้

  1. Backmann, René (May 16, 2020). "Bhasan Char : Le Bangladesh invoque le Covid-19 pour interner des réfugiés rohingyas sur une île inondable". Europe Solidaire Sans Frontières. สืบค้นเมื่อ Dec 8, 2020.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Kullab, Samya (February 23, 2017). "The Trouble With Thengar Char". Foreign Affairs. สืบค้นเมื่อ February 25, 2017.
  3. 3.0 3.1 Pokhare, Sugam; Westcott, Ben (January 31, 2017). "Thousands of Rohingya refugees may be sent to remote island". CNN. สืบค้นเมื่อ February 25, 2017.
  4. "UN rapporteur visits Bangladeshi island chosen for Rohingya relocation". efe.com. January 24, 2019. สืบค้นเมื่อ March 17, 2019.
  5. "A remote home for the Rohingya". Reuters. สืบค้นเมื่อ Dec 5, 2020.
  6. 6.0 6.1 "UN concern at Bangladesh plan to move thousands of Rohingya to flooded island". The Guardian. June 14, 2015. สืบค้นเมื่อ February 25, 2017.
  7. Rahman, Shaikh Azizur (February 2, 2017). "Plan to move Rohingya to remote island prompts fears of human catastrophe". The Guardian. สืบค้นเมื่อ February 25, 2017.
  8. Khokon, Sahidul Hasan. "Bangladesh: Govt takes up Ashrayan-3 project to shelter Rohingya refugees". India Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 August 2019.
  9. "Inside the Bhashan Char plan for Rohingyas". Dhaka Tribune. January 29, 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-11-22.
  10. 10.0 10.1 "Bhasan Char project cost to rise 34%". The Business Standard (ภาษาอังกฤษ). 2019-12-16. สืบค้นเมื่อ 2019-12-19.
  11. "Will thousands of Rohingya refugees be sent to a remote island?". Los Angeles Times. January 23, 2020. สืบค้นเมื่อ February 5, 2020.
  12. Beech, Hannah (December 4, 2020). "From Crowded Camps to a Remote Island: Rohingya Refugees Move Again". The New York Times. สืบค้นเมื่อ December 8, 2020.