ภาษาเวเนโต (อิตาลี: veneto; เวเนโต: vèneto) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ภาษาหนึ่งที่ใช้พูดกันเป็นภาษาแม่ในหมู่ชาวเวเนโตเกือบสี่ล้านคนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอิตาลี[9] ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในแคว้นเวเนโตที่ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เข้าใจภาษานี้ โดยมีศูนย์กลางอยู่ทั้งในและรอบ ๆ เมืองเวนิสซึ่งใช้ภาษาถิ่นที่มีเกียรติภูมิของภาษาเวเนโต บางครั้งยังมีการสื่อสารด้วยภาษานี้นอกแคว้นเวเนโต กล่าวคือ ในจังหวัดเตรนตีโน ภูมิภาคฟรียูลี ภูมิภาคเวเน็ตเซียจูเลีย คาบสมุทรอิสเตรีย และบางเมืองของสโลวีเนียและแดลเมเชีย (โครเอเชีย) โดยชาวเวเนโตพื้นเพดั้งเดิมที่ยังมีชีวิตอยู่ และในบราซิล อาร์เจนตินา และเม็กซิโกโดยชาวเวเนโตพลัดถิ่น

ภาษาเวเนโต
vèneto
ป้ายชื่อถนนซึ่งใช้ภาษาเวเนโตในเมืองเวนิส
ประเทศที่มีการพูดอิตาลี, สโลวีเนีย, โครเอเชีย
ภูมิภาคอิตาลี
 • แคว้นเวเนโต[1][2]
 • แคว้นฟรียูลี-เวเน็ตเซียจูเลีย[1][2]
 • จังหวัดเตรนตีโน[1][2]
สโลวีเนีย
 • บริเวณคาบสมุทรอิสเตรีย
โครเอเชีย
 • เทศมณฑลอิสเตรีย[3][4]
จำนวนผู้พูด3.9 ล้านคน  (2545)[5]
ตระกูลภาษา
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน อิตาลี
 บราซิล (ภาษาถิ่นตาลีอัง)[8]
 เม็กซิโก (ภาษาเวเนโตถิ่นชิปิโล)
รหัสภาษา
ISO 639-3vec
Linguasphere51-AAA-n

แม้ว่าผู้พูดภาษาเวเนโตบางคนและผู้พูดภาษาอื่น ๆ ในอิตาลีมักมองว่าภาษานี้เป็นเพียงภาษาถิ่นภาษาหนึ่งของภาษาอิตาลี แต่ภาษาเวเนโตก็เป็นภาษาต่างหากที่มีวิธภาษาท้องถิ่นหลายวิธภาษา ตำแหน่งที่แน่ชัดของภาษาเวเนโตภายในกลุ่มภาษาโรมานซ์ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ อย่างไรก็ตาม ทั้งเอ็ทนอล็อกและกลอตโตล็อกต่างจัดให้ภาษานี้อยู่ในสาขาแกลโล-อิตาลิก[6][7]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Fifth United Nations Conference on the Standardization of Geographical Names: Vol.2. Montreal: United Nations. 1991.
  2. 2.0 2.1 2.2 Holmes, Douglas R. (1989). Cultural disenchantments: worker peasantries in northeast Italy. Princeton University Press.
  3. Minahan, James (1998). Miniature empires: a historical dictionary of the newly independent states. Westport: Greenwood.
  4. Kalsbeek, Janneke (1998). The Čakavian dialect of Orbanići near Žminj in Istria. Studies in Slavic and General Linguistics. Vol. 25. Atlanta.
  5. ภาษาเวเนโต ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  6. 6.0 6.1 "Venetian". Ethnologue.
  7. 7.0 7.1 "Venetian". Glottolog.org.
  8. Tonial, Honório (26 June 2009). "Subsídios para o reconhecimento do Talian" [Subsidies for the recognition of Talian]. Instituto de Investigação e Desenvolvimento em Política Linguística (IPOL) (ภาษาโปรตุเกส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2012. สืบค้นเมื่อ 21 August 2011.
  9. Ethnologue