ภาพยนตร์ไซไฟ

ประเภทของภาพยนตร์

บันเทิงคดีวิทยาศาสตร์ (อังกฤษ: science-fiction) หรือ ไซไฟ (sci-fi) เป็นภาพยนตร์ประเภทหนึ่งซึ่งเป็นบันเทิงคดีวิทยาศาสตร์ กล่าวคือมีการอาศัยอุปกรณ์หรือปรากฏการณ์หรือฉากหลังที่เป็นการจินตนาการขึ้นโดยอิงวิทยาศาสตร์ที่ยังไม่ใช่วิทยาศาสตร์โดยทางการปัจจุบัน เช่น สิ่งมีชีวิตนอกโลก โลกต่างดาว ประสาทสัมผัสพิเศษ และการเดินทางข้ามเวลา เป็นต้น รวมถึงสิ่งที่เป็นอนาคต เช่น ยานอวกาศ หุ่นยนต์ ไซบอร์ก การเดินทางระหว่างดวงดาว หรือเทคโนโลยีอื่น ๆ บ่อยครั้งภาพยนตร์บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ถูกใช้เพื่อขับเน้นประเด็นทางสังคมหรือการเมือง หรือเพื่อสำรวจประเด็นทางปรัชญา เช่น ความเป็นมนุษย์

2001: A Space Odyssey, the landmark 1968 collaboration between filmmaker Stanley Kubrick and classic science-fiction author Arthur C. Clarke, featured groundbreaking special effects, such as the realization of the spaceship USSC Discovery One (pictured here).

แนวภาพยนตร์เช่นนี้มีอยู่ตั้งแต่สมัยภาพยนตร์เงียบ ตั้งแต่การใช้เทคนิกภาพพิเศษโดยจอร์จ เมลีแยร์ ใน A Trip to the Moon (1902) ต่อมาจนถึง Metropolis (1927) ซึ่งเป็นภาพยนตร์บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ขนาดยาวเรื่องแรก ในช่วงคริสตทศวรรษ 1930-1950 ภาพยนตร์บันเทิงคดีวิทยาศาสตร์ยังถูกมองว่าเป็นภาพยนตร์ทุนต่ำแบบเกรดบี จนกระทั่งสแตนลีย์ คูบริก ทำ 2001: A Space Odyssey (1968) ออกฉาย ภาพยนตร์แนวนี้จึงได้รับการยอมรับอย่างจริงจังมากขึ้น ตั้งแต่ปลายคริสตทศวรรษ 1970 หลังจากความสำเร็จของ สตาร์ วอร์ส ภาพยนตร์บันเทิงคดีวิทยาศาสตร์ทุนสร้างสูงที่มีเทคนิกพิเศษน่าตื่นตาก็ได้รับความนิยมอย่างมากจนมาถึงปัจจุบัน