เซดจ์เอส เป็น "พระนาม" คาร์ทูชอียิปต์โบราณสำหรับกษัตริย์ (ฟาโรห์) ซึ่งกล่าวกันว่าทรงปกครองในช่วงราชวงศ์ที่สาม (สมัยราชอาณาจักรเก่าแห่งอียิปต์) โดยที่พระนามดังกล่าวปรากฏเพียงเฉพาะในบันทึกพระนามแห่งอไบดอส พระนามคาร์ทูช หมายเลข 18 ซึ่งอยู่ในตำแหน่งราวกับว่าเป็นพระนามของผู้ที่สืบพระราชบัลลังก์โดยตรงของฟาโรห์เซเคมเคต (ในบันทึกพระนามไดบันทึกพระนามของพระองค์ว่า เตติ) และเป็นผู้ปกครองก่อนหน้าโดยตรงของฟาโรห์เนเฟอร์คาราที่ 1[1]

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักไอยคุปต์วิทยาและนักประวัติศาสตร์เชื่อว่าเป็นพระนามของกษัตริย์ เพราะอาลักษณ์ผู้บันทึกพระนามได้ใส่คำว่า เซดจ์เอส ไว้ในคาร์ทูช แต่เมื่อความรู้เกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำและไวยากรณ์ของภาษาอียิปต์โบราณก้าวหน้าขึ้น นักวิชาการก็ตระหนักถึงความหมายที่แท้จริงของพระนาม โดยที่คำว่า เซดจ์เอส หมายถึง "ละเว้น" หรือ "หายไป" และพวกอาลักษณ์ใช้คำนี้เป็นนามแฝงแทนพระองค์ที่อ่านไม่ออกของฟาโรห์ในขณะนั้น และใส่พระนามที่ล้อมรอบมันด้วยสัญลักษณ์คาร์ทูชเพื่อทำเครื่องหมายว่าเป็นพระนามของกษัตริย์ แต่อาลักษณ์รุ่นต่อ ๆ มาเข้าใจผิดว่ามันเป็นพระนามเดิมจริงของกษัตริย์ที่จะปรากฎในบันทึกรายพระนาม กรณีที่คล้ายกันสามารถสังเกตได้จากพระนามคลุมเครือของฟาโรห์ฮูดเจฟา ซึ่งใช้เป็นนามแฝงสำหรับพระนามที่ขาดหายไป ในปัจจุบันนี้ ยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างดุเดือดว่าฟาโรห์พระองค์ใดของราชวงศ์ที่สามจะเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์ของคาร์ทูชหมายเลข 18[2][3][4]

อ้างอิง แก้

  1. Wolfgang Helck: Untersuchungen zur Thinitenzeit (= Ägyptologische Abhandlungen (ÄA), vol. 45). Harrassowitz, Wiesbaden 1987, ISBN 3-447-02677-4, p.109.
  2. Herman Alexander Schlögl: Das Alte Ägypten: Geschichte und Kultur von der Frühzeit bis zu Kleopatra. Beck, Hamburg 2006, ISBN 3-406-54988-8, page 78.
  3. Iorwerth Eiddon Stephen Edwards: The Cambridge Ancient History Vol. 1, Pt. 2: Early history of the Middle East, 3rd volume (Reprint). Cambridge University Press, Cambridge 2006, ISBN 0-521-07791-5, page 35.
  4. Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen. Deutscher Kunstverlag, München/Berlin 1984, page 49.