ชาเรค หรือ ชาเลค อาจจะทรงเป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณที่ไม่ค่อยทราบเกี่ยวกับข้อมูลของพระองค์ ซึ่งทรงครองราชย์ในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สองแห่งอียิปต์

หลักฐานยืนยัน แก้

พระองค์ทรงปรากฏอยู่เฉพาะในเอกสารหลักฐานยืนยันที่ไม่ร่วมสมัยเท่านั้น เอกสารดังกล่าวเป็นลำดับวงศ์ตระกูลของนักบวชนามว่า อังค์เอฟเอนเซคเมต และมีชีวิตอยู่ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ที่ยี่สิบสอง ซึ่งนับว่าเป็นเวลาหลายศตวรรษหลังจากที่ฟาโรห์ชาเรคทรงขึ้นครองราชย์ อาจจะเป็นเพราะเหตุดังกล่าว คิม ไรฮอล์ท นักไอยคุปต์วิทยาชาวเดนมาร์กจึงสงสัยการมีอยู่ของพระองค์[1] ในเอกสารดังกล่าว ฟาโรห์ชาเรคทรงถูกจัดให้อยู่หนึ่งชั่วอายุคนก่อนหน้าของฟาโรห์ชาวฮิกซอสนามว่า อเปปิ จากราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งอียิปต์[2] บันทึกลำดับวงศ์ตระกูลของอังค์เอฟเอนเซคเมตจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์นิวเอสในเบอร์ลิน (หมายเลข 23673)

การระบุตัวตน แก้

ทั้งนิโคลัส กรีมัลและวิลเลียม ซี. ฮายส์ได้เสนอว่า ฟาโรห์ชาเรคควรได้รับการระบุตัวตนเป็นพระองค์เดียวกันกับฟาโรห์ซาลิทิส เนื่องจากทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งฮิกซอส ในแอกิปเทียกาของแมนิโธ ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ของอียิปต์ที่เขียนขึ้นในศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล[2][3] และเสนอเพิ่มเติมว่าฟาโรห์ชาเรค/ซาลิทิสทรงเป็นพระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เชชิ ซึ่งเป็นผู้ปกครองในช่วงช่วงสมัยระหว่างกลางที่สองของอียิปต์ที่กล่าวถึงในตราประทับสคารับจำนวนเกือบ 400 ตัว

อ้างอิง แก้

  1. Ryholt, K.S.B. (1997). The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC. Copenhagen: Museum Tusculanum Press: Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20., p. 402
  2. 2.0 2.1 Hayes, William C. (1973). "Egypt: from the death of Ammenemes III to Seqenenre II". ใน Edwards, I.E.S. (บ.ก.). The Cambridge Ancient History (3rd ed.), vol. II, part 1. Cambridge University Press. pp. 42–76. ISBN 0-521-08230-7., p. 59
  3. Grimal, Nicolas (1992). A History of Ancient Egypt. Oxford: Blackwell Books. ISBN 978-0-631-17472-1., p. 185