การอ่านชื่อ キョン

สืนเนื่องจาก

วิธีการอ่าน Kyon การอ่านภาษาญี่ปุ่นเรื่องเสียงสั้น-ยาว ถ้าอ่านผิดจะกลายเป็นคนละคำกันเลย ยกตัวอย่างคำว่า Kyou(キョウ)=เคียว ซึ่งเป็นคำเสียงยาว ส่วน Kyo(キョ)=ออกเสียงแนวๆ คิ+โยะ ไวๆ ซึ่งแทนเสียงด้วยสระไทยไม่ได้เลย แล้วทำไม Kyo ถึงอ่านเคียวได้ นั่นคือวิธีการเขียนแบบ Hepburn romanization ซึ่งจริงๆแล้ว มันจะเขียนแบบนี้ キョウ(kyō) พอมาช่วงหลังๆ คนเริ่ม ติดตา ก็เขียนกันแบบไม่ใส่ขีดข้างบน พูดง่ายๆ คือ นี่เป็นการเขียนแบบที่ฝรั่งเขาใช้กัน มาเข้าเรื่อง kyon(キョン) จะออกเสียงว่า (คิโยะ)+น(ง) ในภาษาญี่ปุ่น เมื่อมีตัวン มันจะเป็นตัวสะกด จะแทนด้วยเสียง -น , -ง เมื่ออยู่เดี่ยวๆ จะออกเสียงว่า อึน เพราะว่า มันไม่ได้อยู่ในหน้าที่ตัวสะกด แต่ถ้ามันอยู่หลังอักษรใดๆ ก็แล้วแต่ หน้าที่หลักของมัน คือ การเป็นตัวสะกด เท่านั้น ไม่ว่าจะออกเสียงยากเพียงไร จะต้องนำมันมาเป็นตัวสะกดให้ได้ เพราะฉะนั้น kyon(キョン) จึงต้องควรจะออกเสียงว่า (คิโยะ)น จะแผลงไปแบบไหนก็แล้วแต่ แต่ใกล้เคียงก็ถือว่าดีที่สุดแล้ว

ผมไม่เห็นด้วยกับการใช้ "คยอน" หรือ "เคียวอึน" หรือ "คิยน" เพราะ キョン เป็นคำพยางค์เดียว "คยอน" ภาษาไทยอ่านว่า คะ-ยอน ส่วน "เคียวอึน" ก็อ่านตรงตัว และ "คิยน" ก็อ่านว่า คิ-ยน ที่ใช้ "เคียวน์" ตอนแรกเพราะว่าอยากให้เป็นคำพยางค์เดียวเหมือนกับที่ออกเสียงให้ภาษาญี่ปุ่น และที่เติมการันต์เหนือ น.หนู ก็เพราะถ้าไม่เติมจะอ่านว่า เคีย-วน ไป --Pramook 06:12, 2 พฤศจิกายน 2006 (UTC)

หรือว่าเป็น "เคียง" ครับ (เดา) --Manop | พูดคุย 23:26, 14 มีนาคม 2551 (ICT)

ชื่อบทความ

เนื่องจากกระผมได้ทำบทความเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องอื่น แล้วได้มีการลิงค์มายังหน้าของบทความ ซุซุมิยะ_ฮารุฮิ ซึ่งผมได้ทำการเปรียบเทียบกับบทความของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษแล้ว ได้เห็นว่าลิงค์ต่างประเทศของบทความนี้ ([1]) ได้เชื่อมโยงไปยังหน้าที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับแฟรนไชส์ของไลท์โนเวลเรื่องนี้ ซึ่งการแบ่งเนื้อหาบทความของวิกิภาษาอังกฤษนั้นได้แบ่งแยกออกไปเป็นส่วนๆ คือบทความในส่วนของอะนิเมะ และในส่วนของไลท์โนเวลหรืออื่นๆ ซึ่งในปัจจุบันนี้ (9/7/2007) บทความหน้านี้ยังมีลิงค์ไปยังหน้าแฟรนไชส์ฮารุฮิอยู่ ซึ่งอาจก่อนให้เกิดความเข้าใจผิดกันภายหลังได้ ฉะนั้นจึงขอเสนอดังนี้ครับ

  • เปลี่ยนชื่อหน้าบทความนี้ให้เป็นชื่อ "ความหดหู่ของ ซุซุมิยะ ฮารุฮิ (อะนิเมะ)" หรือถ้าหากมีชื่อไทยอย่างเป็นทางการที่คาดว่าน่าจะมีในไม่ช้า ก็ขอแนะนำให้ใช้ชื่อนั้นครับ
  • เปลี่ยนลิงค์บทความให้เข้ากันกับวิกิภาษาอังกฤษ สำหรับหน้านี้ผมขอแนะนำให้ลิงค์ไปยังหน้า [2] ครับ

โปรดรับข้อเสนอไว้พิจารณากันด้วยนะครับ

ขอบคุณสำหรับความเห็น คำแนะนำ และคำวิจารณ์ในบทความ เมื่อคุณเห็นว่าบทความไหนควรปรับปรุงอย่าลังเลที่จะแก้ไข วิกิพีเดียเป็นเว็บไซต์ในลักษณะวิกิที่ทุกคนสามารถร่วมแก้ไขได้ โดยเลือกที่ แก้ไข ในส่วนบนของของแต่ละบทความ ซึ่งการแก้ไขนั้นไม่จำเป็นจะต้องล็อกอิน (แม้ว่าจะมีข้อดีหลายอย่างถ้าล็อกอินก็ตาม) ทางวิกิพีเดียสนับสนุนให้ทุกคนกล้าแก้ไขบทความ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ทุกคนช่วยกันลงมือพัฒนาบทความให้ดีขึ้นกว่าเดิม ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าจะเริ่มอย่างไร สามารถดูได้ที่การเริ่มต้นในวิกิพีเดีย และคำสั่งพื้นฐานในการใช้งาน และถ้าต้องการทดสอบสามารถลองได้ที่ทดลองเขียน --Manop | พูดคุย 23:26, 14 มีนาคม 2551 (ICT)

นิยาย

ขอที่มาของวันที่ออกในไทยด้วยน่อ ระหว่างนี้ผมขอเอาออกก่อนนะครับ --Rockman Model Lไฟล์:Rockman model l.gif 21:35, 21 กรกฎาคม 2551 (ICT)

โอเค ได้ที่มามาละ http://www.bongkoch.com/catalog/product_info.php?products_id=4775 --Rockman Model Lไฟล์:Rockman model l.gif 18:16, 22 กรกฎาคม 2551 (ICT)

พิสูจน์ยืนยันยาก/ไม่ได้ - ปลีกย่อยเกินไป - ขาดอ้างอิงสิ้นเชิง - แฟนคลับ ฯลฯ

ยกมาจากหน้าหลัก --Aristitleism 18:03, 24 ตุลาคม 2554 (ICT)

เกร็ดข้อมูล

สิ่งที่ซ่อนในช่วงเพลงเปิดและเพลงปิด

สำหรับคนที่ไม่ได้อ่านภาค Light Novel หรือ นิยายสั้น คงจะไม่ทราบว่าในฉาก OP/ED มีภาพประกอบที่กล่าวถึงในนิยายปนอยู่ด้วย

เพลงเปิด

  • ฮารุฮิมองดาว = ดูจากชุดที่ฮารุฮิใส่ เป็นชุดเมื่อ 3 ปีก่อน ตามเหตุการณ์ในตอน Bamboo Leaf Rhapsody จากเล่ม 3
  • ตอน Kyon ขี่จักรยานโดยมีฮารุฮิซ้อนท้าย = ช่วงหนึ่งระหว่างเที่ยวในเมือง จากตอน Endless Eight ในเล่ม 5
  • ยูคิยืนกลางหิมะตก = จากภาพประกอบนิยาย เกี่ยวกับเรื่องสั้นที่ยูกิขึ้น ในเล่ม 8 (ในภาพอาจสื่อถึงชื่อที่เธอเลือก โดยคำว่า "หิมะ" ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียงว่า "ยูกิ")
  • ฮารุฮิและยูคิใส่ชุดกีฬา = จากคำพูดในบทนำเล่ม 7 ที่ฮารุฮิกับยูคิคว้าแชมปและรองแชมป์กีฬาในโรงเรียน
  • ฮารุฮิเล่นเปียโน = มาจาก Drama CD ในช่วงต้นปี 2007 ที่ฮารุฮิคิดจะตั้งวงดนตรีขึ้นหลังเหตุการณ์ในตอน 12 "Live a Live" โดยตัวเธอจะเล่นเปียโน (ไม่ได้มาจากในนิยายและ Drama CD ออกหลังอะนิเมะจบ)

เพลงปิด

  • เบื้องหลังการถ่ายทำละคร = ถ่ายทำในช่วงนิยายเล่ม 2 (Asahina Mikuru's Adventure Episode 00 เป็นตอนเดียวจบในเล่ม 6 เพื่อแสดงเฉพาะส่วนภาพยนตร์ที่ถูกถ่ายจากเล่ม 2)
  • กินหม้อไฟและ เคียว์ใส่หมวกกวาง = ช่วงหนึ่งใน Snow Mountain Syndrome ในนิยายเล่ม 5 เหตุการณ์ต่อจากนิยายเล่ม 4

เกร็ดเล็กน้อยจาก 14 ตอน

ตอน 01 : Asahina Mikuru's Adventure Episode 00

  • แถบสีดำทั้งสองข้างของจอแสดงให้เห็นว่าหนังนั้นถ่ายโดยใช้อัตราส่วน 4:3 (ซึ่งทุกตอนในเรื่องนั้นใช้อัตราส่วน 16:9)
  • บทพูดแปลกๆ ที่นอกบทของนางาโตะ และ โคอิซุมิ ที่เกี่ยวกับ "กุญแจ" นั้น หมายถึงความขัดแย้งระหว่างกลุ่มทั้งสามกลุ่มคือมนุษย์ต่างดาว, มนุษย์จากอนาคต และ ผู้มีพลังจิต ซึ่งในนิยายเดิมนั้นทั้งนางาโตะ มิคุรุ และ โคอิซุมิ ต่างเตือนเคียวไม่ให้เชื่ออีกสองคนที่เหลือ
  • เป็นตอนเคียวน์ที่มีเครื่องหมายชี้ให้ดูถึงสิ่งปกติ
  • ชื่อของอาซาฮินะ มิคุรุ, นางาโตะ ยูคิ และ โคอิซุมิ อิสุกิ ในช่วงเริ่มและช่วงจบของหนังนั้นเขียนด้วยตัวคาตาคานะ แทนที่จะเป็นตัวคันจิละตัวฮิรากานะเป็นการแสดงว่าพวกเขาแสดงเป็นคนอื่นที่ไม่ใช่พวกเขาเอง ถึงแม้ว่าชื่อตัวละครจะเหมือนกันก็ตาม
  • ยูคิเป็นคนพูดถึงตอนต่อไปใน DVD
  • ใน DVD นั้นจะมีฉากพิเศษ
  • เสื้อแจ็กเก็ตที่แถมมาพร้อมกับ DVD ชุดพิเศษนั้นจะมีรูปมิคุรุในชุดกบ ซึ่งอ้างอิงถึงตอนที่ 9 Someday in the Rain
  • ยามาโมโตะ ฮิโรชิ ผู้กำกับของตอนนี้ ขณะที่ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ได้อยู่ชมรมคนรักแอนิเมชันได้เคยทำหนังที่ใช้เทคนิคกล้องแย่ๆ ที่ใช้ในตอนที่ 1 นี้ ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากหนังเรื่องนั้น
  • ฉากพิเศษที่แถมใน DVD นั้นจะมีบอกเบื้องหลังของการถ่ายทำตอนที่ 1 และมีปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติเกิดขึ้นมากมายระหว่างถ่ายทำ ซึ่งบางอย่างถูกถ่ายเก็บไว้ได้และสามารถพบเห็นได้ในตอนที่ 1
    • กลุ่มนกพิราบสีเทากลายเป็นสีขาวได้ภายในคืนเดียว
    • มิคุรุยิงลำแสงโฟตอนออกมาจากคอนแท็คเลนส์สีฟ้าของเธอ (ถูกถ่ายไว้)
    • มิคุรุสร้างมีดแรงสั่นสะเทือนสูงออกมาจากคอนแท็คเลนส์สีเงินของเธอ
    • มิคุรุยิงกระสุนไรเฟิลออกมาจากคอนแท็คเลนส์สีทองของเธอ
    • มิคุรุสร้างหลุมดำขนาดเล็กออกมาจากคอนแท็คเลนส์สีเขียวของเธอ (เหตุการณ์ผิดปกติจากมิคุรุนี้ถูกกลบเกลื่อนโดยนาโนแมชชีนของนางาโตะ)
    • ต้นซากุระที่อยู่ริมแม่น้ำผลิดอกอย่างไม่มีเหตุผล (ถูกถ่ายไว้)
    • แมวพูดได้ (ถูกถ่ายไว้)
    • ชามิ เป็นแมวตัวผู้ที่มีสามสี (ซึ่งที่จริงแล้วค่อนข้างหายาก)
    • ปืนลำแสงกลายเป็นปืนฉีดน้ำโดยไม่มีใครสังเกต
    • นกพิราบสีขาวกลายเป็นนกพิราบสื่อสารที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
    • มีการเคลื่อนของโลกเล็กน้อย
    • มีการเพิ่มเติมเทคนิคพิเศษระดับมืออาชีพขณะที่ฝ่ายผลิต (เคียวน์และฮารุฮิ) หลับอยู่ (ถูกถ่ายไว้)
    • กลุ่มคนลึกลับในชุด Cosplay เดินอยู่รอบๆ โรงเรียน
    • เคียวน์ได้คิดแผนที่จะหยุดไม่ให้เหตุการณ์ประหลาดเกิดขึ้นมากกว่านี้ แผนนั้นคือให้ฮารุฮิพูดในตอนจบสองครั้ง ซึ่งได้ถูกถ่ายไว้เช่นเดียวกัน
  • ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนแรกนี้จะยังดูมั่วๆ และงงๆ แต่ส่วนใหญ่นั้นเป็นความจริงเกือบทั้งหมด และมีจุดใหญ่ๆ สองจุดคือ ชามิ แมวพูดได้ ซึ่งการปรากฏตัวของมันนั้นได้ถูกอธิบายในอะนิเมะ (เวอร์ชัน 2009) ซึ่งทุกคนอาจจะคิดว่ามันเป็นเทคนิคพิเศษและลืมมันไปในเวลาต่อมา แต่ ชามิเซน กลับกลายเป็นแมวพูดได้จริงๆ ตามความต้องการของ ฮารุฮิ (อธิบายจาก เวอร์ชัน 2009) และกลับเป็นแมวปกติเมื่อ ถ่ายหนังเสร็จ (โดยการที่เคียวน์ทำให้ฮารุฮิเชื่อว่า เหตุการณ์ในหนังเป็นเรื่องสมมุติโดยให้พูดในตอนจบ และไม่เกี่ยวกับความจริง) อีกจุดหนึ่งคือเมื่อฉากมิคุรุและยูคินั้นต่อสู้กับแล้วมิคุรุใช้ "มิคุรุ บีม" ซึ่งตามหลักแล้วก็ไม่น่าจะมีอะไรนอกจากเทคนิคพิเศษธรรมดา แต่ก็ปรากฏว่ามีอะไรบางอย่างที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น มิคุรุได้ยินลำแสงโฟตอนออกจากตาของเธอจริงๆ โดย นากาโตะได้ใช้มือบังไว้ เคียวน์จึงไม่เป็นไร และมิคุรุยังได้ยิง ลำแสงโฟตอนใส่ฉากสะท้อนแสงจนขาด ถึงแม้ว่าฉากนั้นจะผ่านไปอย่างรวดเร็ว แต่ก็มีคำอธิบายจากนากาโตะว่า มิคุรุ ได้ใช้ "มิคุรุ บีม" ออกมาจริงๆ ซึ่งอาจเป็นเพราะความต้องการของ สึซึมิยะ ฮารุฮิต้องการให้เธอทำเช่นนั้น (คำอธิบายจาก ฮารุฮิ 2009) โดย การที่นากาโตะ พุ่งเข้าโจมตี มิคุรุ นั้นเกิดจากการที่ นากาโตะ ต้องการที่จะ ฉีด นาโนแมชชีน ใส่ร่างกายของมิคุรุ และถอดคอนแทคเลนส์ออก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ขึ้นอีก และ กลับเป็นปกติ หลังจาก ฮารุฮิเชื่อว่า ในหนังเป็นเพียงเรื่องสมมุติ
  • ในช่วงเพลงปิดของตอน ได้ปรากฏชื่อจริงของเคียวน์ในเครดิต คือ Shigemura Kengo (ชิเกะมูระ เค็นโงะ) แต่ความจริงแล้ว เป็นเพียงแค่ชื่อของพนักงานฝ่ายตัดต่อในเกียวโตอะนิเมะเท่านั้น ดังนั้น ชื่อชิเกะมูระ เค็นโงะจึงไม่ใช่ชื่อจริงของเคียวน์ แต่เป็นมุขที่เอาชื่อของพนักงานที่มีอยู่จริงมาใส่ในหนังของฮารุฮิเท่านั้น


ตอน 02 : The Melancholy of Suzumiya Haruhi I

  • ในตอนแรกชื่อตอนนั้นเป็นสีขาว-ดำ และได้มีสีสันขึ้นมาเมื่อเคียวน์ได้พบกับฮารุฮิ
  • เคียวน์ได้เริ่มบรรยายเรื่องราวในช่วงเริ่มเรื่องว่าเขาได้รู้แล้วว่าซานตาคลอสนั้นไม่มีจริง ซึ่งบทนี้ใกล้เคียงกับบทบรรยายของเรื่อง Itsudatte My Santa! OVA ซึ่งฮิราโนะ อายะ คนพากษ์ฮารุฮินั้นเป็นคนเดียวกันกับคนที่พากษ์ ซานต้าไมในเรื่องนั้น
  • เคียวน์ถามยูคิว่าเธอกำลังอ่านเรื่องอะไรอยู่ ยูคิจึงยกหน้าปกขึ้นมาให้เขาดูมันคือหนังสือ The Fall of Hyperion โดย Dan Simmons
  • ฮารุฮิหยิบนิตยสาร Comptiq (ซึ่งมีหน้าปก Shuffle!) และนิตยสาร Comp Ace (ซึ่งมีหน้าปกโดย Navel ผู้สร้าง Shuffle!) เพื่ออธิบายความจำเป็นที่จะต้องมีความ moé ในกองพล SOS ซึ่ง ยูโกะ โกโต้ (มิคุรุ) โทโมคาซุ สุกิตะ (เคียวน์) และ ซายากะ อาโอกิ (น้องสาวเคียวน์) นั้นเป็นคนพากษ์ คาเอเดะ, ริน และ ลิเซียทัส จาก Shuffle!


ตอน 03 : The Melancholy of Suzumiya Haruhi II

  • ประตูสีดำทางด้านซ้ายของห้องนางาโตะเชื่อมโยงถึงตอน Bamboo Leaf Rhapsody ในนิยาย
  • ในตอนจบของตอนช่วงตัวอย่างตอนต่อไปนั้น เคียวน์พูดว่า "พ่อครับ ผมจะทำได้ไหม?" ซึ่งล้อเลียน "พ่อครับ ผมจะทำครับ" จากการ์ตูนเบสบอลเคียวจิน โนะ โฮชิ
  • ในตอนนี้ นางาโตะกำลังอ่านหนังสือแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นเรื่อง The Code Book: The Evolution of Secrecy from Mary, Queen of Scots to Quantum Cryptography โดย Simon Singh ซึ่งตีพิมพ์ในปี 2000 โดย Anchor ซึ่งได้แปลเป็นภาษาญี่ปุ่นตีพิมพ์ในปี 2001 โดยสำนักพิมพ์ Shinchōsha ISBN 4–10–539302–2


ตอน 04 : The Boredom of Suzumiya Haruhi

  • ชุดพละของปีหนึ่งเป็นสีน้ำเงิน ในขณะที่ของปีสองเป็นสีแดง
  • ในนาทีที่ 13:22 ฮารุฮิกำลังคิดจะทำผมมิคุรุเป็นหางม้า แต่พอมองหน้าเคียวน์แล้วจึงไม่ทำ ตรงนี้เชื่อมโยงถึงตอนที่ 14 The Melancholy of Haruhi Suzumiya VI
  • โทรศัพท์มือถือของโคอิซุมินั้นคือ Nokia 6630 Bordeaux Rouge
  • ในนาทีที่ 15:39 ที่มียักษ์สีฟ้ายืนอยู่หลังชิงช้าสวรรค์นั้น เป็นยักษ์สีฟ้าตัวเดียวกับในตอนที่ 13 The Melancholy of Haruhi Suzumiya V ซึ่งจะเห็นชิงช้าสวรรค์ได้ในนาที่ที่ 17:19-24, 17:29-49, 18:20-26 และ 18:27 ในตอนที่ 13
  • ในนาทีที่ 17:05 ถึง 17:12 โคอิซุมิพูดว่า "ในเหตุการณ์ที่ผ่านมาที่คุณกับสุซุมิยะซัง อยู่ในอีกโลกหนึ่ง...คุณพาเธอกลับมาได้อย่างไร?" ประโยคนี้เชื่อมโยงถึงตอนที่ 14 The Melancholy of Haruhi Suzumiya VI
  • ในนาทีที่ 17:45 จะเห็นยูคิใส่แว่นตาอยู่ และเคียวน์กำลังคุกเข่าอยู่ในห้องลึกลับกับผู้หญิงคนหนึ่ง เชื่อมโยงไปถึงในตอนที่ 10 The Melancholy of Haruhi Suzumiya IV ที่ ยูคิสู้กับเรียวโกะ เพลงประกอบนั้นเป็นเพลงเดียวกับที่ใช้ในฉากต่อสู้กัน
  • เพลงประกอบซึ่งบรรเลงขณะที่เคียวน์เป็นพิชเชอร์ (คนขว้างลูก) นั้น เรียบเรียงมาจากเพลงเปิดของละคร TV Touch ซึ่งเป็นการ์ตูน/อนิเมชื่อดังเกี่ยวกับเบสบอลของอาดาจิ มิซึรุ
  • มิคุรุในชุดพยาบาล, คำพูดของเคียวน์ที่ว่า "ผมต้องเข้ามาเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่พัวพันถึงชะตาของโลก", และคำพูดของมิคุรุที่ว่า "ถ้าคุณใจดีกับฉัน เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นอีก..." นั้นเชื่อมโยงถึงตอนที่ 14 The Melancholy of Suzumiya Haruhi VI
  • คำพูดของโคอิซุมิที่ว่า "มันคงไม่ดีแน่ถ้าจะปล่อยให้สุซุมิยะซังเบื่อมากๆ เราต้องนำเรื่องนี้ไปพิจารณาในการดำเนินการต่อไป" การดำเนินการต่อไปนั้นส่งผลถึงตอน Remote Island Syndrome (Part I)


ตอน 05 : The Melancholy of Suzumiya Haruhi III

  • มือถือของเคียวน์คือ Panasonic FOMA 902i Rubber Black
  • ในชื่อตอนจบเรื่อง ชื่อเคียวน์และฮารุฮิเขียนโดยตัวอักษรตัวใหญ่
  • ในช่วงตัวอย่างตอนต่อไป เคียวน์ตะโกนว่า "อะ-อะไรกันเนี่ย!?" (Na, Nandattee?!) ซึ่งล้อเลียนจากการ์ตูน MMR Magazine Mystery Reportage
  • ในตอนนี้ นางาโตะ กำลังอ่านหนังสือ Phanomenologie des Geistes (The Phenomenology of Spirit) โดย Georg Wilhelm Friedrich Hegel, ตีพิมพ์ในปี 1807 ซึ่งแปลเป็นภาษาญี่ปุ่นโดย Hasegawa Hiroshi และได้ตีพิมพ์ในปี 1998 โดยสำนักพิมพ์ Sakuhinsha ISBN 4–87893–294–5 เคียวน์กำลังอ่านเล่มสองของเรื่อง I-My-Me of Let's Leave the School (学校を出よう Gakkō wo Deyō) ซึ่งเป็นนิยายอีกเรื่องหนึ่งที่แต่งโดย Nagaru Tanigawa คนแต่งเรื่องนี้

ตอน 06 : Remote Island Syndrome (Part I)

  • เคียวน์เอ่ยชื่อเกาะขึ้นมาสองเกาะ เกาะหนึ่งคือเกาะพาโนรามา ซึ่งมาจาก นิยายลึกลับของเอโดงาว่า รันโป และอีกเกาะหนึ่งคือเกาะอินแฟนท์ ที่เป็นที่เกิดของมอธร่า
  • ฮารุฮิเอ่ยชื่อตึก 3 หลัง แบล็กเดธ, ลิลาส และ โคเก็ตสึ ซึ่งมาจาก ชินฮนคาคุ นิยายลึกลับของญี่ปุ่น
  • ในตอนนี้ (รวมถึงฉากย้อนหลังจากตอน Remote Island Syndrome (Part II)) ยูคินั้นกำลังอ่านนิยายสืบสวนเรื่อง The woman in the wardrobe โดย Peter Antony (นามปากกาของพี่น้อง Peter และ Anthony Shaffer) ตีพิมพ์ในปี 1951 โดย Evans แปลเป็นภาษาญี่ปุ่นและตีพิมพ์ในปี 1996 โดย Tōkyō Sōgensha ISBN 4-488-29901-6 ซึ่งเนื้อเรื่องจะเกี่ยวกับตอนที่ 8 (Remote Island Syndrome (Part II))
  • ในนาทีที่ 16:27 เป็นฉากที่เคียวน์ตกใจเมื่อเจองู นั้นมาจากที่เคียวน์พูดอยู่บ่อยๆ ว่าออกมาเที่ยวป่ายังดีกว่าไปหา UMAs โดยเฉพาะ ซึจิโนะโกะ
  • (ผิดจริง) ในระหว่างเล่นไพ่อีแก่ (Baba-Nuki) ไพ่ 6 ข้าวหลามตัดถูกดึงออกผิดพลาด

ตอน 07 : Mystérique Sign

  • ในการบรรยายของเคียวน์ช่วงเริ่มเรื่องนั้น "หลังจากผ่านเทศกาลทานาบาตะในอาการซึมเศร้าแล้วนั้น..." และในนาทีที่ 5:27 "เธอ (ฮารุฮิ) พยายามจะไม่พูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในงานทานาบาตะเมื่อสามปีก่อน สินะ" คำพูดเหล่านั้นอ้างถึงตอน "Bamboo Leaf Raphsody" ในนิยาย The Boredom of Suzumiya Haruhi ซึ่งอยู่ก่อนตอน "Mystérique Sign" และต้นไผ่นั้นยังเห็นอยู่ที่มุมห้อง
  • เคียวน์ใช้ทำนองกลอนไฮคุเมื่อพูด "น่ารำคาญ โอ้ ช่าง น่ารำคาญ น่ารำคาญ"
  • คำพูดของเคียวน์ที่ว่า "สภานักเรียนนั้นอนุญาตให้กองพล SOS นั้นอยู่ได้ในรูปของกลุ่มให้คำปรึกษา" ซึ่งเชื่อมโยงถึงตอนที่ 14 (The Melancholy of Suzumiya Haruhi VI)
  • ชื่อของประธานชมรมคอมพิวเตอร์นั้นได้ถูกกล่าวขึ้นในตอนนี้ แต่ว่าถูกแทรกโดยเสียงแมว ทำให้รู้เพียงว่าชื่อของเขานำหน้าด้วยคำว่า "ยา" และลงท้ายด้วยคำว่า "ยะ" เท่านั้น
  • เมื่อฮารุฮิถามแฟนของประธานชมรมคอมพิวเตอร์ว่าครอบครัวของเขาอยู่ที่ไหน เธอถามว่า "เขาย้ายไปแคนนาดาหรือเปล่า?" ซึ่งล้อเลียน "การหายตัวไปอย่างลึกลับ" ของ อาซาคุระ เรียวโกะ ในตอนที่ 10 ซึ่งไม่มีใครมีปฏิกิริยาต่อคำถามนั้น
  • เคียวน์พูดว่า "เธอใช้เรื่องนี้บ่อยจังนะ" ที่หอพักของประธานชมรม ล้อเลียนจากตอนที่ 13 The Melancholy of Suzumiya Haruhi V ที่เธอใช้เหตุผลเดียวกันเพื่อหาข้อมูล
  • ในห้องของประธานชมรม มีโปสเตอร์ของ ฮิราโนะ อายะ, จิฮาระ มิโนริ, โกโต้ ยูโกะ คนพากษ์ ฮารุฮิ, ยูคิ และ มิคุรุ
  • ในตอนนี้ที่ขึ้นรูปฮารุฮิในหนังสือพิมพ์ขณะที่กำลังยกเครื่องคอมของประธานชมรม ซึ่งในความจริงแล้วเคียวน์เป็นคนยกเครื่องนั้นไป ซึ่งอาจเป็นการอ้างถึงนิยายซึ่งคนยกคอมพิวเตอร์นั้นคืนฮารุฮิก็ได้
  • เด็นตาคุ โอโตโกะ (เรื่องล้อเลียนของ เดนฉะ โอโตโกะ) อยู่บนชั้นหนังสือในห้อง
  • "จินตนาการแห่งความหวาดกลัว" นั้นมาจาก The Monster from the Id จากเรื่อง Forbidden Planet
  • โคอิซุมินั้นบอกว่าเขาสามารถใช้พลังได้หนึ่งในสิบของพลังที่แท้จริงของเขาใช้ได้ในมิติปิด พลังที่แท้จริงของเขานั้นจะพบได้ในตอนที่ 13 The Melancholy of Suzumiya Haruhi V
  • ชื่อท่าโจมตีของโคอิซุมิ "Fumoffu" และ "Second Raid" นั้นมาจากชื่ออะนิเมะ Full Metal Panic? Fumoffu and Full Metal Panic: The Second Raid ซึ่งฉายโดย Kyoto Animation เช่นเดียวกับเรื่องฮารุฮินี้ และเมื่อแมลงยักษ์นั้นโจมตีใส่ยูคิ เธอได้ป้องกันตัวเองด้วยบาเรียซึ่งลักษณะเช่นเดียวกับบาเรียที่สร้างขึ้นโดย Lambda Driver จากเรื่องฟุล เมทัล พานิก!
  • ฉากที่แมลงยักษ์รักษาตัวเองระหว่างต่อสู้เป็นฉากรักษาตัวเองจากอะนิเมะ Mushiking
  • ตอนจบของตอน ฉากตัวอย่างตอนต่อไปในตอนที่ 8 ได้ทำเลียนแบบชื่อตอนของอะนิเมะเรื่องแว่วเสียงเรไร
  • คำพูดของมิคุรุที่ว่า "การพกพาอาวุธเป็นเรื่องต้องห้าม" นั้นแสดงให้เห็นว่าเธอนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับคนธรรมดา (การห้ามพกพาอาวุธนั้นยังห้ามจนถึงอนาคต)
  • เหตุการณ์ทั้งหมดของตอน Mystérique Sign นั้นถูกวางแผนโดยนางาโตะ (ยกเว้นการคืนชีพของสิ่งมีชีวิตข้อมูลระดับต่ำ) ดังหลักฐานต่างๆ ดังนี้
    • เมื่อฮารุฮิบ่นว่า "สงสัยจะมีใครบางคนมาทำการจารกรรมข้อมูลทางอินเตอร์เน็ทกับกองพล SOS แน่ๆ ! ใครกันนะที่ทำแบบนี้ ?" แล้วกล้องก็จับภาพไปที่บุคคลที่น่าสงสัย
    • มิคุรุดูท่าทางตื่นกลัว เมื่อเธอแนะนำคิมิโดริหลังจากถูกจ้องโดยนางาโตะ บางทีนางาโตะอาจจะร่วมมือกับมิคุรุในการวางแผนนี้
    • เมื่อคิมิโดรินั้นพูดว่า "ฉันเป็นห่วงเหลือเกิน..." น้ำเสียงของเธอนั้นราบเรียบราวกับท่องมา ไม่เหมือนคนเป็นห่วงจริงๆ
    • นางาโตะนั้นจ้องคิมิโดริตลอดเวลาที่เธอพูดอยู่
    • โคอิซุมิมองไปทางนางาโตะขณะที่เขาพูดว่า "บางทีแค่นี้อาจจะเพียงพอแล้วมั้ง?" ในอีกมิติหนึ่ง เป็นทำนองว่าเขาคิดว่านางาโตะเป็นคนควบคุมสถานการณ์ทั้งหมด
    • ประธานชมรมคอมพิวเตอร์ไม่รู้จักคิมิโดริ บางทีนางาโตะอาจจะร่วมมือกับคิมิโดริ ดังเช่นคิอนสงสัย
    • บทความใน เมกามิ แมกกาซีน เดือนสิงหาคม 2006 เปิดเผยว่าคิมิโดรินั้นเป็น ส่วนแสดงผลรูปร่างมนุษย์ เช่นเดียวกับยูคิและเรียวโกะ

ตอน 08 : Remote Island Syndrome (Part II)

  • ในฉากที่ฮารุฮิอธิบายความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ในคฤหาสน์ ท่าทางของตัวเธอ อิสุกิ และมิคุรุนั้น เลียนแบบท่าทางของ Phoenix Wright, Miles Edgeworth และ Maya Fey จากเกม Phoenix Wright: Ace Attorney ในเครื่องเกมบอยแอดวานซ์ และ นินเทนโด ดีเอส (ซึ่งรู้จักในชื่อญี่ปุ่นว่า Gyakuten Saiban)
  • วันที่ออกอากาศตอนนี้ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน ตรงกับวันเกิดของเซอร์อาเธอร์ โคนัน ดอยล์ (ผู้แต่งเรื่องเชอล็อกโฮมส์)
  • ตัวผู้ร้ายในฉากอธิบายนั้นเป็นคนในรูปสีดำ ซึ่งทำเลียนแบบจากเรื่องโคนันและ Tantei Gakuen Q ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อฮารุฮิทำท่าเมื่อจบการสันนิษฐานของเธอนั้น ขึ้นเพลงประกอบจากเรื่องโคนันอีกด้วย
  • ในตอนจบของตอน อิสุกิจ้องมองที่ไฝที่ต้นคอของเคียวน์ ซึ่งในอะนิเมะไม่ได้มีการอธิบายอะไร


ตอน 09 : Someday in the Rain

  • ตอนนี้เป็นตอนพิเศษซึ่งแต่งขึ้นโดยทานิกาวา นางารุเอง สำหรับอะนิเมะโดยเฉพาะ (ไม่มีตอนนี้ในนิยาย)
  • ชื่อตอน "Someday in the Rain" นั้นมีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่า "On one sunshiny day" (アル晴レタ日ノ事, Aru hareta hi no koto?) ซึ่งเป็นท่อนหนึ่งจากเนื้อเพลงจบ Sunny Sunny Fun (ハレ晴レユカイ, Hare Hare Yukai?)
  • โทรศัพท์มือของฮารุฮิคือ Sony Ericsson premini–II Silver พร้อมกับสายรัดเนโกะแมน
  • เสียงประกอบในขณะที่มี "รายการลึกลับ" นั้นเป็นฉากล้อเลียนจากเรื่องโคนัน
  • เกมการ์ดที่เคียวน์และอิสุกิเล่นกันอยู่ในตอนนั้นคือ Dragon All Stars (ドラゴン☆オールスターズ)
  • ขณะที่กำลังถอดชุดกบของมิคุรุ ฮารุฮิพูดคำที่นำมาจากเพลงจบของเรื่องคือ Hare Hare Yukai ("Boooon! WAPU de RUPU na kono omoi wa", dubbed "Booon! Those looping feelings...")
  • ในนาทีที่ 12:53 เสียงที่ได้ยินนั้นเป็นคำพูดจากเรื่อง Air ซึ่งพูดโดย Kunisaki Yukito พระเอกของเรื่อง ซึ่งพากษ์โดย Daisuke Ono ซึ่งเป็นคนเดียวกับผู้พากษ์ อิสุกิ
  • ในนาทีที่ 13:02 ถึง 13:15 ถ้อยคำที่ได้ยินนั้นเป็นการเล่นคำจากชื่อนิตยสาร Ace Magazine หลายๆ ฉบับ
  • ทั้งสุรุยะและเคียวน์ต่างถามนางาโตะว่าสมาชิกคนอื่นหายไปไหน แต่นางาโตะตอบกับสุรุยะเพียงคนเดียว และต่อมาเมื่อสุรุยะได้คำตอบเธอก็วิ่งผ่านเคียวน์ไป ซึ่งอาจเป็นเหตุผลที่นางาโตะไม่ได้ตามฮารุฮิไป
  • เคียวน์บ่นเรื่องที่ฮารุฮิไม่ขอบใจเขาซักครั้ง ในความจริงแล้วเธอได้พึมพำขอบใจเคียวน์ในตัวอย่างตอนต่อไปท้ายตอนที่ 8 Remote Island Syndrome (Part II)
  • ฉากสุดท้ายของฮารุฮิก่อนที่จะขึ้นเพลงจบนั้นเป็นฉากเดียวกับปกของนิยายเล่มที่ 6 ที่ชื่อ The Agitation of Haruhi Suzumiya (涼宮ハルヒの動揺, Suzumiya Haruhi no dōyō?) ซึ่งในนิยายเล่มนั้นจะเกี่ยวกับการสร้างหนัง “การผจญภัยของอาซาฮินะ มิคุรุ ตอนที่ 00”
  • ตอนนี้เป็นตอนเดียวที่นางาโตะและ จิฮาระ มิโนริ คนพากษ์ ไม่ได้ขึ้นชื่อในเครดิตท้ายเรื่อง เพราะในตอนนี้ถึงแม้ว่านางาโตะจะออกมานานมากก็ตามแต่เธอไม่มีบทพูดแม้แต่คำเดียว
  • ในตอนที่แล้วซึ่งบอกแก่ผู้ชมในตัวอย่างตอนต่อไปว่าในตอนนี้เป็นตอนที่ 14 ตามลำดับก็ตาม และเป็นตอนสุดท้ายของเรื่องนี้ ปรากฏว่าเป็นตอนที่ดำเนินเรื่องอย่างช้าๆ และไม่มีเหตุการณ์อะไรพิเศษ หรืออาจจะพูดได้ว่าน่าเบื่อเลยทีเดียว ในตอนนี้มีฉากซ้ำๆ กัน เช่นฉากที่ฮารุฮิจับมิคุรุเปลี่ยนเสื้อผ้า ฉากที่นางาโตะนั่งอ่านหนังสืออยู่ในห้องเป็นเวลาหลายนาทีโดยมีเสียงวิทยุเป็นฉากหลัง ซึ่งแตกต่างจากตอนจบของอะนิเมะเรื่องอื่นๆ ที่ควรจะเป็น
  • เนื้อหาหลักในตอนนี้คือ “กองกำลัง SOS ที่ไม่มีเคียวน์” เพราะปกติแล้วเรื่องนี้จะบรรยายโดยเคียวน์ (เหมือนเคียวน์ถือกล้องวิดีโอถ่ายอยู่แล้วบรรยายเหตุการณ์) ดังนั้นพอเคียวน์ไม่อยู่แล้ว มุมกล้องเลยกลายเป็นวางไว้ที่ต่างๆ เช่นชั้นหนังสือ, มุมห้อง ฯลฯ ซึ่งไม่มีการขยับไปมา และไม่มีผู้บรรยายเนื้อเรื่องในตอนนี้
  • เนื้อเรื่องรองในที่นี้คือ “สภาวะทางอารมณ์ของนางาโตะ” ซึ่งโดยปกติแล้วบุคลิกของนางาโตะนั้นจะคงที่ แต่ผู้ชมจะสังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงของเธอได้จาก The Melancholy of Suzumiya Haruhi I ซึ่งจะไปเกี่ยวข้องกับตอน The Disappearance of Haruhi Suzumiya ซึ่งอยู่ในนิยาย และตอน Someday in the Rain เป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์นั้น


ตอน 10 : The Melancholy of Suzumiya Haruhi IV

  • ระหว่างต่อสู้อยู่นั้น เรียวโกะถามยูกิว่า “เธอชอบเคียวน์คุงใช่ไหม ฉันรู้นะว่าเธอก็รู้ตัวเองเหมือนกัน” ในความเร็วสูงและเป็นภาษาญี่ปุ่นกลับข้าง
  • ในช่วงตัวอย่างตอนต่อไป ฮารุฮิและเคียวน์ตะโกน “สุซุมิยะ ฮารุฮิ เรดี้ โก” ซึ่งนำมาจากอะนิเมะเรื่องจีกันดั้ม
  • ตอนนี้ไม่มีเพลงเปิด รายชื่อผู้ผลิตจะอยู่ในช่วงเริ่มแรกก่อนจะตัดเป็นเพลงเริ่ม


ตอน 11 : The Day of Sagittarius

  • เกมที่เห็นหลักจากเพลงเปิดนั้นไม่ใช่หมากล้อม แต่เป็น gomoku narabe (Connect Five)
  • เนื้อเรื่องในตอนนี้แต่งโดยนักเขียนนิยาย กาโต้ โชวจิ ผู้แต่งเรื่อง Full Metal Panic!
  • โปรแกรมที่ยูคิใช้ในการแก้เกมนั้นเขียนโดยใช้ภาษา C และคอมไพล์ด้วย Borland C compiler for 32-bit systems เธอปิดไฟล์สุดท้ายด้วย ^C (ESC-code สำหรับยกเลิก) แทนที่จะใช้ ^Z (ESC-code สำหรับจบไฟล์) ซึ่งหมายความว่าเธอเปลี่ยนใจที่จะเปลี่ยนโค้ดของเกม
  • ขณะที่กำลังเสียเปรียบ ฮารุฮิตะโกนว่า “ส่งกันดั้มออกไป” ซึ่งคำว่า “กันดั้ม” นั้นถูกเซ็นเซอร์ออก และภาพกันดั้มก็โดนเซ็นเซอร์ด้วยภาพมัวด้วยเช่นกัน
  • ในตัวอย่างตอนที่ 12 ฮารุฮิพูดว่า “ฟังเพลงของฉันสิ” ต่อด้วยเคียวน์รับว่า “บอมเบอร์” ซึ่งมาล้อเลียน Nekki Basara จากเรื่อง Macross 7
  • เพลงประกอบในเกมระหว่างนาทีที่ 12:52 ถึง 16:25 คือเพลง Shostakovich's Symphony No. 7 Allegretto และเพลงในนาทีที่ 17:22 จนถึงนาทีที่ 20:05 คือ Tchaikovsky's Symphony No. 4, Movement No. 4 Allegro con fuoco
  • ตัวละครในปกเกม Day of Sagittarius III นั้นคือกัปตันโอคิตะ จากเรื่อง Space Battleship Yamato และชุดสีน้ำเงินที่ประธานชมรมคอมฯ สวมอยู่ในยานอวกาศเป็นชุดของศัตรูของยามาโตะ ลอร์ดเดสเลอร์
  • ฝีมือการพิมพ์ของนางาโตะพัฒนาขึ้นทุกๆ วันระหว่างฝึกซ้อม
  • Day of Sagittarius III นั้นคล้ายกับเกม Master of Orion ที่มีอยู่จริง
  • สิ่งต่างๆ ที่นำมาจากเรื่องอื่นๆ ที่พบเห็นในตอนที่ 11
    • เนโกะแมน (ลูกเรือของมิคุรุ)
    • ฟุล เมทัล พานิก! ("Aye–aye Ma'am")
    • Star Trek (ลูกเรือของนางาโตะ)
    • สตาร์ วอร์ส (ลูกเรือของฮารุฮิ)
    • คินนิคุแมน (หนึ่งในลูกเรือของมิคุรุ)
    • Henohenomoheji (ลูกเรือของอิสุกิ)
    • Google Earth (อินสตอลอยู่ในเครื่องของนางาโตะ)
    • Crest of the Stars (ฉากในเกมมีความคล้ายคลึงกัน)
    • Martian Successor Nadesico (สัญญาณเตือน)
    • Reinhard von Müsel และ Yang Wen-li จาก Legend of the Galactic Heroes (ชุดของฮารุฮิและเคียวน์ในยานอวกาศ)
    • Epson Endeavor NT350 White Edition (PC ที่กองพล SOS ใช้เล่นเกม)
    • Elecom Mobile Wireless Mouse M-D6URSV (เม้าส์ที่กองพล SOS ใช้)
    • Buffalo LSW-TX-8NP 10/100M 8port Switch Hub (switch ที่กองพล SOS ใช้)
    • Togo Heihachiro at Battle of Tsushima ("Today the weather is fair but~")
    • Martians, Go Home by Frederic Brown ("Green Martian is~")
    • แปปติมัส ซีร็อกโค จาก โมบิลสูทเซต้ากันดั้ม ("ตายซะเถอะ เจ้าพวกแมลง!!")
    • ยานชั้นซาลามิส, อามุโร่ เรย์ ("Ikimaasu!") , กัลมา ซาบี ("ชมรมวิจัยคอมพิวเตอร์จงเจริญ!") จาก โมบิลสูทกันดั้ม


ตอน 12 : Live Alive

  • ชื่อตอนของตอนนี้อาจจะมาจากเกมของค่าย Squaresoft "Live A Live"
  • คนดูคนหนึ่งที่กำลังดูหนัง "การผจญภัยของอาซาฮินะ มิคุรุ ตอนที่ 00" คือสมาชิกชมรมคอมพิวเตอร์
  • ในตอนที่แล้วประธานชมรมคอมพิวเตอร์ถามคิอนว่าเคยเห็นเกม Day of Sagittarius III แสดงในงานโรงเรียนหรือเปล่า ในนาทีที่ 2:28 จะเห็นเคียวน์เดินผ่านซุ้มนั้น
  • มีดาราทีวีสองคนที่ปรากฏในนาทีที่ 2:29 คนหนึ่งคือ Hard Gay อีกคนหนึ่งคือ is Akihiro Miwa
  • ป้ายชื่อร้าน The Third Reich Coffee House (純喫茶 第三帝国, Junkissa Daisanteikoku?) ที่วางอยู่ตรงระเบียงนั้นนำมาจากเรื่อง Urusei Yatsura 2: Beautiful Dreamer
  • ละครที่โคอิซุมิร่วมแสดงคือเรื่อง Rosencrantz & Guildenstern Are Dead
  • วาทยากรในวงออเครสต้านั้นหน้าตาเหมือนกับ Joe Hisaishi
  • วงดนตรีที่ขึ้นแสดงก่อนหน้าวง ENOZ คือวง DMC จาก "First-ever Deathmetal Comedy Manga" Detroit Metal City โดย Kiminori Wakasugi
  • ชื่อวง ENOZ นั้นอาจจะมาจากวงดนตรีหญิงล้วนที่ชื่อว่า ZONE ซึ่งเป็น ENOZ โดยการกลับตัวอักษร ที่คล้ายกันคือ ZONE ประกอบด้วยมือกีต้าร์สองคน มือเบสหนึ่งคน และมือกลองหนึ่งคน และ ZONE นั้นได้ยุบวงไปหลังจากจบ ม.ปลายเช่นเดียวกัน ชื่อสมาชิกในวงก็คล้ายคลึงกันเช่น Takako, Mai, Miyuki and Mizuki เป็นชื่อสมาชิกวง ENOZ ส่วน Takayo, Maiko, Miyu and Mizuho เป็นสมาชิกวง ZONE และแต่ละคนก็เล่นเครื่องดนตรีเหมือนกันคือ Takako (Takayo) - กีต้าร์ Mai (Maiko) - เบส, Mizuki (Mizuho) - กลอง, Miyuki (Miyu) - นักร้องนำ
  • คอนเสริตของ ENOZ นั้นคล้ายคลึงกับภาพยนตร์ญี่ปุ่นเรื่อง リンダリンダリンダ (Linda Linda Linda, ?) (2005) ซึ่งกำกับโดย Nobuhiro Yamashita. ซึ่งเนื้อเรื่องของหนังนั้นคล้ายคลึงกับประวัติของวง ENOZ
  • เครื่องดนตรีที่ใช้โดยวง ENOZ
    • Haruhi: Italia Mondial Classic 2Tone Sunburst
    • Yuki: Gibson SG Special Classic White (Limited Color)
    • Mai: Lakland Bob Glaub Signature Teal Green
    • Mizuki: Pearl Drum Set
  • กีต้าร์รุ่น Mondial Classic นั้นได้รับความนิยมมากหลังจากถูกนำไปแสดงในหนัง J–rock เรื่อง Linda, Linda, Linda
  • ในฉากย่อยๆ ของตอนนี้จะมีฉากที่แสดงให้เห็นถึงการที่ฮารุฮิต้องขึ้นไปแสดง คือ ที่นาทีที่ 03:30 จะเห็นการแย่งกันระหว่างสมาชิกวงดนตรีและสภานักเรียนกับสาวกระต่ายคนหนึ่ง ที่นาทีที่ 04:25 จะเห็นสมาชิกวงดนตรีวิ่งถือเคสกีต้าร์วิ่งผ่านไป และในนาทีที่ 07:02 จะเห็นสาวกระต่ายและแม่มดถือเคสกีต้าร์วิ่งผ่านไป
  • เมื่อเคียวน์พูดว่าให้สนุกสนานกับงานโรงเรียน "อย่างปกติ" นั้น เหมือนกับฉากที่ซางาระ โซสุเกะพูดที่น้ำพุร้อนในเรื่อง Full Metal Panic?:Fumoffu


ตอน 13 : The Melancholy of Suzumiya Haruhi V

  • คนขับแท็กซี่นั้นหน้าตาเหมือนกับ อะราคาวา จากตอน Remote Island Syndrome (episode 06)
  • การนั่งแท็กซี่นานๆ นั้นคล้ายกับหนัง sci-fi เรื่อง Solaris ซึ่งรู้จักกันดีในฉากนั่งแท็กซี่ที่นานถึง 10 นาทีบนทางด่วนในญี่ปุ่นอนาคต (โอซาก้า) ฉากคล้ายๆ กันนี้สามารถพบได้จากผลงานของ โอชิอิ มาโมรุ เช่นเรื่อง Patlabor the Movie 2 และ Urusei Yatsura 2: Beautiful Dreamer
  • อิสุกินั้นอ้างคำพูดของ Bertrand Russell's 5 minute hypothesis ในทฤษฎีของเขา


ตอน 14 : The Melancholy of Suzumiya Haruhi VI

  • ตอนนี้ไม่มีรายชื่อของผู้สร้างและคนพากษ์ แต่จะมีเพลงเปิด (Bouken Desho Desho) Full Version บรรเลงในช่วงจบของเรื่องแทน
  • เพลงที่ใช้ในช่วงไคลแมกซ์ของเรื่องคือ Gustav Mahler's Symphony No. 8 "Symphony of a Thousand" Part I, Hymnus: Veni, Creator Spiritus (Come, Creator Spirit)
  • คำพูดของเคียวน์ที่พูดว่า "ออกจากโรงเรียนกันเถอะ" นั้นเป็นคำเดียวกับชื่อนิยายของ Nagaru Tanigawa 学校を出よう! (Lets leave the School! Gakkou wo Deyou!) ซึ่งเป็นผู้แต่งเรื่องนี้เช่นเดียวกัน
  • หลังจากจบเพลง Bouken Desho Desho แล้วตัดฉากมา ผู้หญิงที่ยืนข้างรางรถไฟ มีลักษณะคล้ายกับผู้หญิงชุดขาวในช่วงแรกของตอน Remote Island Syndrome (Part I)

--Aristitleism 18:03, 24 ตุลาคม 2554 (ICT)

อื่นๆ

  • ในเพลงเปิด (หลังจากขึ้นชื่อเรื่องซักครู่) ฮารุฮิจะก้าวแต่เท้าซ้ายข้างเดียวจนถึงตอนที่ 4 The Boredom of Suzumiya Haruhi ทำให้ขาของเธอดูเหมือนกำลังหมุนอยู่คล้ายใบพัดของเฮลิคอปเตอร์
  • ในเพลงเปิดที่มีภาพ "YUKI.N>" และมีตัวคันจิตามหลังนั้น ตัวคันจิที่ตามมานั้นแปลได้ว่า "ครั้งหน้าเราไปห้องสมุดด้วยกันอีกนะ" ซึ่งเป็นเนื้อเรื้องของตอนที่ 14 (The Melancholy of Haruhi Suzumiya VI)
  • หนังสือที่ยูคิอ่านในแต่ละตอนนั้นเกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องในตอนนั้นๆ คือในตอนที่ 2 เธออ่าน The Fall of Hyperion เล่มที่สองของชุดนิยายสี่ภาค The Hyperion Cantos โดย Dan Simmons เช่นเดียวกับที่เธออ่าน The Code Book โดย Simon Singh ในตอนที่ 3 , Phenomenology of Spirit ของ Georg Wilhelm Friedrich Hegel ในตอนที่ 5, The Woman in the Wardrobe ของ Peter Antony ในตอนที่ 6 และ Starplex ของ Robert J. Sawyer ในตอนที่ 11
  • สูตรคณิตศาสตร์, ฟิสิกส์ และ เคมีที่พบในเพลงเปิดนั้นได้แก่ positronium, Lambda baryons, benzene ring, cyclohexanes, infinite number, Titius-Bode law, Planck's constant, Drake equation, time-dependent Schrödinger equation, Hubble's law, infinite product, definition of information entropy, large numbers1, stationary Schrödinger equation, E=mc², probability axioms, definition of Laplace operator, the wave equation in one space dimension, and small numbers1
  • คำพูดของนากาโตะ ยูคิ ที่ฟังไม่รู้เรื่องนั้น ส่วนใหญ่เป็นชุดคำสั่ง SQL ที่เร่งความเร็วและย้อนหลัง
  • ฮิราโนะ อายะ คนพากษ์สุซุมิยะ ฮารุฮิ เป็นคนวาดเนโกะแมนที่เป็นฉากหลังของสปอนเซอร์ทุกๆ สัปดาห์
  • ฉากในเพลงเปิดที่ฮารุฮิมองดาวตกและฉากที่วิ่งผ่านหมู่ดาวนั้นคล้ายคลึงกับฉากเปิดของเรื่อง Vision of Escaflowne
  • ท่าเต้นในเพลงจบนั้นอาจจะนำมากจาก Berryz Koubou's Gag100 bun Aishite Kudasai MV ซึ่งคล้ายคลึงที่นาทีที่ 0:30, 1:23, 2:00, 2:03 และ 2:40 หรืออาจจะนำมาจาก ท่าเต้นของ ฮิราโนะ อายะ ที่เคยเต้นในวง SpringS ที่เธอเคยอยู่ซึ่งนักร้องสามคนมักจะเต้นระหว่างร้องเพลง
  • บางส่วนของฉากเต้นในเพลงจบนั้นทำใน 30fps ซึ่งมากกว่ามาตรฐานทั่วไปของอะนิเมะปกติซึ่งจะอยู่ที่ 24fps
  • ในเพลงเปิดที่3 (Super Driver) จะมีไตเติ้ลของเรื่องปรากฏมาช่วงหลังๆของเพลง ขณะที่เพลงเปิดอื่นๆจะมีไตเติ้ลในช่วงต้นๆเพลง (ในช่วงต้นๆเพลง จะมีสัญลักษณ์ของกงอกำลังSOSแทนไตเติ้ล)

ความลับเกี่ยวกับการดูอะนิเมะซีรีส์แรกของเรื่องนี้

  • ตอนจบของทุกตอนในอะนิเมะเวอร์ชันแรกที่ออกฉายทางทีวีของญี่ปุ่นจะมีตัวละครสองตัวคือ เคียวน์ และ สึซึมิยะ ฮารุฮิ ออกมาประกาศชื่อตอนต่อไปในทำนองขัดแย้งกันตลอดเวลา ซึ่งดูโดยผิวเผินแล้วเหมือนเป็นเพียงบทสนทนาธรรมดาเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้วในการดูอะนิเมะเรื่องนี้นั้นสามารถดูได้สองทิศทางด้วยกัน โดยเราสามารถเลือกดูแบบ เรียงตามหมายเลข episode ซึ่งประกาศโดยเคียวน์ ซึ่งจะเป็นการเรียงตามแบบ TV ที่ฉาย หรือ เรียงตามหมายเลข episode ซึ่งประกาศโดยสึซึมิยะ ฮารุฮิ ซึ่งจะเป็นการเรียงโดยอ้างอิง Timeline หรือเวอร์ชัน DVD (เฉพาะที่ญี่ปุ่นและไทย) ซึ่งผลลัพธ์จากการดูในต่างทิศทางดังกล่าวนั้นจะให้ความรู้สึกต่างกันโดยสิ้นเชิง

กล่าวคือ การดูแบบเรียงตามหมายเลข episode ซึ่งประกาศโดยเคียวน์นั้น จะให้บรรยากาศแบบผู้ชาย คือ กลายเป็นเรื่องแนวนิยายวิทยาศาสตร์ ลึกลับ ซ่อนเงื่อน แต่การดูแบบเรียงตามหมายเลข episode ซึ่งประกาศโดยสึซึมิยะ ฮารุฮินั้น เรื่องจะจบเนื้อหาแนวนิยายวิทยาศาสตร์เพียงตั้งแต่ตอนที่หก และต่อจากนั้นก็กลับจะกลายเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ที่ค่อยๆ เติบโตขึ้นเป็นความรักที่มีต่อกันระหว่างเคียวน์กับสึซึมิยะ ฮารุฮิ แทน เป็นนัยเหมือนว่าเพศหญิงและเพศชายนั้นจะมีวิธีการเล่าเรื่องและมุมมองที่ต่างกันโดยสิ้นเชิงแม้แต่ในเรื่องเดียวกันก็ตาม ส่วนสาเหตุที่เวอร์ชัน TV ไม่ฉายตาม เรียงตามหมายเลข episode ซึ่งประกาศโดยสึซึมิยะ ฮารุฮิ ไม่มีสาเหตุชัดเจนจากทางผู้ผลิต

ซึ่งหากนำการเรียงแบบ เรียงตามหมายเลข episode ซึ่งประกาศโดยสึซึมิยะ ฮารุฮิ มาเป็นแกนหลักก็จะให้ผลลัพธ์ในอีกลักษณะหนึ่ง

เรียงแบบ 涼宮ハルヒ เรียงแบบ キョン (โดยอิงหมายเลข episode ของ 涼宮ハルヒ)
01 11
02 01
03 02
04 07
05 03
06 09
07 08
08 10
09 14
10 04
11 13
12 12
13 05
14 จบ 06 จบ
เรียงแบบ キョン เรียงแบบ 涼宮ハルヒ (โดยอิงหมายเลข episode ของ キョン)
01 02
02 03
03 05
04 10
05 13
06 14
07 04
08 07
09 06
10 08
11 01
12 12
13 11
14 จบ 09 จบ
กลับไปที่หน้า "สึซึมิยะ ฮารุฮิ/กรุ 1"