ระบบ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ระบบ (อังกฤษ: System, มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน systēma, ในภาษากรีก σύστημα systēma, , ดูเพิ่มเติมได้จากบทความเกี่ยวกับ องค์ประกอบ หรือ "composition"[1])

ระบบ คือ ชุดของสิ่งที่มีปฏิสัมพันธ์ หรือ การพึ่งพาซึ่งกันและกัน ของสิ่งที่มีการดำรงอยู่ที่แตกต่างและ อย่างเป็นอิสระ ที่ได้ถูกควบรวมในรูปแบบบูรณาการทั้งหมด.

ดังนั้นระบบส่วนใหญ่จะมีลักษณะบางอย่างร่วมกัน

ระบบหนึ่ง อาจเป็น เซ็ตขององค์ประกอบย่อยของเซ็ตใดๆในระบบอื่นๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันตรงที่ ความสัมพันธ์ของเซ็ตนั้นๆ กับ องค์ประกอบย่อยของมัน ต่อ องค์ประกอบย่อย หรือ เซ็ตอื่นๆ หรือ อาจกล่าวได้ว่า ทุกสิ่งในสภาพแวดล้อมในโลก เรียกว่า ระบบ ที่มีองค์ประกอบต่างๆภายในของมันเอง หรือ เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมให้กับ ระบบอื่นๆ หรือ อย่างน้อย ทุกๆสิ่งในโลกนี้ เป็น เซ็ตของความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆที่เป็นส่วนหนึ่งภายใน "โลก" คือ ระบบโดยรวม นั่นเอง ขอบเขตของการศึกษาเกี่ยวกับ ระบบ ในคุณลักษณะทั่วไป "general properties of systems" จะพบได้ใน ศาสตร์ต่างๆเหล่านี้ทฤษฎีระบบ, cybernetics, ระบบพลวัต, อุณหพลศาสตร์ และ complex systems ศาสตร์เหล่านี้ ต่างศึกษาหาคำจำกัดความ หรือ สรุปแนวคิดโดยรวมเกี่ยวกับคุณสมบัติ หรือคุณลักษณะโดยทั่วไปของ ระบบ ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องให้คำจำกัดความโดยไม่ขึ้นอยู่กับ แนวคิดเฉพาะเจาะจง สาขา ชนิด หรือ สิ่งที่เกิดขึ้นเพียงครั้งคราวเท่านั้น

ระบบ ส่วนใหญ่จะแบ่งปันลักษณะบางอย่างร่วมกัน ดังนี้ :

ระบบ มี โครงสร้าง รูปร่าง หรือ structure, ที่ถูกกำหนดโดย องค์ประกอบภายใน components และ ส่วนประกอบต่างๆ ภายใน; ระบบ มี พฤติกรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับ “กระบวนการภายใน” (input, process, output)ซึ่งองค์ประกอบเหล่านั้นเป็นได้ทั้ง วัตถุดิบ,พลังงาน หรือ ข้อมูลข่าวสาร หรือ แม้แต่ data เป็นต้น ระบบ มี การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันภายใน interconnectivity: ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก ส่วนต่างๆ ภายในระบบที่มี ฟังก์ชันการปฏิบัติหน้าที่ที่สอดคล้องกันเช่นเดียวกับ ความสัมพันธ์ของโครงสร้างที่มีต่อกันภายใน ระบบ อาจจะมี การทำงานหรือ ฟังก์ชันบางส่วน หรือ อาจจะเป็นการทำงานของทั้งกลุ่มที่อยู่ภายใน ในความหมายของคำว่า ระบบ'system อาจจะอ้างถึง เกี่ยวกับ เซ็ตของ กฎ ที่ควบคุม โครงสร้าง รูปร่าง structure หรือ พฤติกรรม ของ ระบบทั้งหมด นั้นๆ


อ้างอิง

σύστημα,โดย Henry George Liddell และ Robert Scott, A Greek-English Lexicon, on Perseus Digital Library

ดูเพิ่ม Alexander Backlund (2000). "The definition of system". In: Kybernetes Vol. 29 nr. 4, pp. 444–451. Kenneth D. Bailey (1994). Sociology and the New Systems Theory: Toward a Theoretical Synthesis. New York: State of New York Press. Bela H. Banathy (1997). "A Taste of Systemics", ISSS The Primer Project. Walter F. Buckley (1967). Sociology and Modern Systems Theory, New Jersey: Englewood Cliffs. Peter Checkland (1997). Systems Thinking, Systems Practice. Chichester: John Wiley & Sons, Ltd. Robert L. Flood (1999). Rethinking the Fifth Discipline: Learning within the unknowable. London: Routledge. George J. Klir (1969). Approach to General Systems Theory, 1969. Brian Wilson (1980). Systems: Concepts, methodologies and Applications, John Wiley Brian Wilson (2001). Soft Systems Methodology—Conceptual model building and its contribution, J.H.Wiley. Beynon-Davies P. (2009). Business Information + Systems. Palgrave, Basingstoke. ISBN 978-0-230-20368-6

กลับไปที่หน้า "ระบบ"