พูดคุย:ยูอาร์แอล

ยูอาร์แอล เป็นส่วนหนึ่งของ โครงการวิกิไอที โดยพยายามที่จะปรับปรุงคุณภาพ รวบรวมเรื่องราวเนื้อหาสาระ ครอบคลุมเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต เน็ตเวิร์ก ซอฟต์แวร์
ถ้าต้องการมีส่วนร่วมในโครงการ สามารถดูวิธีการที่หน้าโครงการวิกิไอที และสถานีย่อยเทคโนโลยีสารสนเทศ
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ชื่อบทความ แก้

ปกติแล้วเมื่อเราเอ่ยถึง URL จะหมายถึง string อันหนึ่งที่เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ จึงใช้ชื่อ "ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต" มาเป็นตัวขึ้นต้นก่อน จากประสบการณ์ไม่เคยพบว่า URL เป็นโปรแกรมตามที่ได้บัญญัติไว้ว่า "โปรแกรมชี้แหล่งทรัพยากรสากล" จึงใส่ไว้เป็นชื่อรอง --Octra Dagostino 10:08, 3 มิถุนายน 2552 (ICT)
ผมว่าชื่อที่ไม่มีคนใช้กัน ก็ไม่ต้องมาตั้งหรอกครับ ราชบัณฑิตฯ เขาก็ตั้งขึ้นมาให้มันผ่านๆ ไป ใช้ชื่อนิยมน่าจะดีสุด --Manop | พูดคุย - (irc) 10:33, 3 มิถุนายน 2552 (ICT)
ผมอยากใช้ชื่อเต็มเป็นหัวเรื่องแทบทุกบทความเลยครับ เท่าที่มีอยู่ในขณะนี้ ส่วนเนื้อหาข้างในย่อได้ เหมือนกับ HTTP ไม่งั้นปัญหาก็ไม่หมดไป เรื่องที่ว่าจะใช้ชื่อเต็ม หรือชื่อย่อ หรืออักษรย่อ เป็นชื่อบทความ มันต้องมีบรรทัดฐานก่อนครับ --Octra Dagostino 10:35, 3 มิถุนายน 2552 (ICT)
ผมว่าชื่อเต็มที่ไม่มีคนใช้ ก็ไม่น่านำมาใช้นะครับ (วิกิพีเดียไม่ได้มีนโยบายโปรโมตคำประหลาดของราชบัณฑิต) ลำบากคนอ่านที่ต้องมานั่งแปลไทยเป็นไทย ถ้าอย่างนั้นผมสนับสนุนใช้ชื่อเต็มภาษาอังกฤษมากกว่า เพราะคนอ่านน่าจะเข้าใจมากกว่า อย่าง เกณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ ลองกูเกิลดู ก็จะเห็นภาพ (คำว่า อีเมล น่าจะเป็นตัวอย่างได้) --Manop | พูดคุย - (irc) 10:40, 3 มิถุนายน 2552 (ICT)
ความนิยมมันวัดได้ไม่ชัดเจน อย่างเช่นคนที่ทำงานในสาขานี้ใช้คำหนึ่งโดยปกติ แต่อีกสาขาหนึ่งก็ใช้อีกคำหนึ่งโดยปกติเช่นกัน ซึ่งทั้งสองหมายถึงสิ่งเดียวกัน อย่างนี้ใครนิยมกว่ากันครับ แล้วก็จะมีคนจากสองสาขามาเปลี่ยนชื่อตามความนิยมของตัวเอง เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ดังนั้นเราจึงต้องเลือกว่า จะเอาแบบไหนตั้งชื่อให้เป็นแนวทางเดียวกัน ตอนนี้มีทุกแบบปนกันอยู่ ซึ่งทางสายกลางเราก็มีคือศัพท์บัญญัติโดยราชบัณฑิตยสถาน --Octra Dagostino 10:43, 3 มิถุนายน 2552 (ICT)
ความนิยมมันวัดไม่ได้ก็จริงนะครับ แต่ความไม่นิยมนี่คงเห็นได้ชัด อย่าว่าอย่างนู้นอย่างนี้เลย เว็บราชบัณฑิตฯ เอง หรือเว็บราชการเอง เขาไม่มีใครใช้ศัพท์บัญญัติพวกนี้หรือเปล่าครับ แล้วก็ศัพท์บัญญัติก็ไม่ใช่ทางสายกลางนะครับ (คิดมาได้ไง มันแค่เว็บๆ นึง) ขนาดราชบัณฑิตฯ หน่วยงานอื่นบางทีเขายังไม่เอามาอ้างอิงเลย นอกจากนี้วิกิพีเดียไทยไม่ใช่ที่รวมของแปลกด้วย แล้ววิกิพีเดียก็ไม่จำเป็นจะต้องทำให้มันแปลกในแนวเดียวกันเลย จริงๆ อยากจะขำแต่กลัวหาว่าไม่มีมารยาท --Manop | พูดคุย - (irc) 10:55, 3 มิถุนายน 2552 (ICT)
ทำไมจะเป็นทางสายกลางไม่ได้ละ ราชบัณฑิตยสถานเป็นองค์กรควบคุมดูแลการใช้ภาษาของรัฐนะครับ ข้อมูลที่อยู่บนเว็บก็มาจากเอกสารต่าง ๆ ที่เผยแพร่โดยองค์กรนี้ ทำเป็นเว็บก็เพื่อให้สามารถสืบค้นได้ง่าย (เช่นเดียวกับพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานที่มีฉบับสืบค้นออนไลน์) ถ้าไม่อยากใช้ก็เป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่ว่าเราควรยึดถือแนวทางใดแนวทางหนึ่งเพื่อใช้เป็นการตั้งชื่อบทความ คุณมานพจะเอาความนิยมเป็นตัวตั้งเหรอครับ ไม่เอาเอกสารทางราชการเป็นตัวตั้งเหรอครับ --Octra Dagostino 10:59, 3 มิถุนายน 2552 (ICT)
คิดว่าในระยะยาวแล้ว ราชบัณฑิตยสถาน จะเป็นฝ่ายถูกและจะเป็นทางสายกลางครับ แต่อีกเมื่อไหร่ไม่ทราบครับ อาจจะสิบปี ยี่สิบปี หรือร้อยปี เขาอาจเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรไปเรียกอย่างอื่นแล้วก็ได้ ปฏิสัมพันธ์กับสังคมของราชบัณฑิตเป็นไปอย่างเชื่องช้า แต่วิกิพีเดียเร็วกว่า ผมมองว่าราชบัณฑิตคิดคำทับศัพท์ไม่ออกอาจจะแอบมองแถวๆ นี้ซึ่งเร็วกว่าก็ได้ แต่ถ้าอยากให้ราชบัณฑิตเร็วทันใจก็รอให้ชาววิกิพีเดียขณะนี้เติบโตขึ้นแล้วเข้าไปนั่งบัญญัติคำกับเขาด้วย
ส่วนถามว่าชื่อไหนดี เกิดมาก็ได้ยินแต่ URL และ Universal Resource Locator คำอื่นๆ ก็มาได้ยินครั้งแรกที่วิกิพีเดียในบทความนี้ครับ ถ้าจะใช้ภาษาไทยเห็นด้วยว่าไม่ควรใช้คำว่า "โปรแกรม" ครับ อย่างหนึ่งเพราะไม่ใช่โปรแกรมก็ได้ อีกอย่างหนึ่งคือมันชวนสงสัยว่า "โปรแกรม" คืออะไร มันมีหลายความหมายอยู่และถือว่าเป็นคำทับศัพท์ตามการออกเสียงอยู่ด้วย ซึ่งไม่เหมาะอย่างยิ่งจะนำมาใช้กับคำภาษาอังกฤษคำอื่นที่กำลังจะแปลเป็นไทย เพราะถ้าคิดจะใช้คำภาษาอังกฤษตามการออกเสียงแล้ว ก็ใช้ ยูอาร์แอล หรือ ยูนิเวอ...ฯ ไปเลยน่าจะดีกว่าครับ --taweethaも 12:55, 3 มิถุนายน 2552 (ICT)
ที่บอกราชบัณฑิตไม่ใช่ทางสายกลาง เพราะผมว่ามันอยู่สุดทางนะครับ (ยังคงงงว่าอยู่กลางระหว่างอะไรกับอะไรหรือครับ) ที่บอกว่าไม่อยากให้อ้างราชบัณฑิต เพราะอย่างที่เห็นปัญหาในอดีตที่ผ่านมา อย่างเช่น ก่อนนู้น ราชบัณฑิต บัญญัติ "computer" ไว้ว่า "คณิตกรณ์" แล้วไม่มีใครจะใช้กัน ใช้แต่คำว่า "คอมพิวเตอร์" สุดท้าย ราชบัณฑิตก็บัญญัติเพิ่มว่า "คณิตกรณ์, คอมพิวเตอร์" เหมือนกับอีกหลายๆ คำที่ให้เห็นได้ในปัจจุบัน
ส่วนเรื่องการใช้คำนิยมนี่ผมสนับสนุนเพราะจะทำให้รู้สึกถึงเป็นผู้รู้ในเชิงนั้นมาเขียนวิกิพีเดีย ไม่ใช่ว่าใครที่ไหนเปิดพจนานุกรมมาแปลคำต่อคำ ยิ่งเป็นสายเฉพาะทางด้วยแล้ว การใช้คำทับศัพท์เป็นเรื่องปกตินะครับ --Manop | พูดคุย - (irc) 13:16, 3 มิถุนายน 2552 (ICT)
  เห็นด้วย ผมเห็นด้วยกับการอยู่สุดโต่งของราชบัณฑิตเลยทีเดียว บางอย่างก็ผิดพลาด หรือไม่ได้เลือกสิ่งที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุดโดยที่มีอย่างอื่นที่น่าจะตรงกว่า แล้วราชบัณฑิตกลับไม่ใช้ (ปล. อันไหนเรียกง่ายกว่า คนก็นิยมเรียกอันนั้น เป็นเรื่องธรรมดาครับ หรือในกรณีที่เป็นนวัตกรรมฝรั่ง ตอนแรกมีแต่ชื่อภาษาอื่น เช่นภาษาอังกฤษ คนก็นิยมเรียกตามภาษาอังกฤษเช่นกัน) --lovekrittaya gwperi (พูดคุย) 05:36, 4 มิถุนายน 2552 (ICT)
กลับไปที่หน้า "ยูอาร์แอล"