พูดคุย:พุทธเศรษฐศาสตร์
|
แก้ไข
แก้- ใครสามารถแก้ไขถ้อยคำ การใช้ภาษาได้ ก็ขอความกรุณาแก้ด้วยครับ แต่อย่าพยายามแก้ไขแนวความคิดของ ศ.อภิชัย พันธเสน ไม่อย่างนั้นบทความจะไม่มี Unity - --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 131.227.231.155 (พูดคุย • หน้าที่เขียน)
- วิกิพีเดียเป็นสารานุกรมเสรี คุณต้องเปิดกว้างให้กับผู้อื่นในการแก้ไขบทความครับ ดู วิกิพีเดีย:นโยบาย Markpeak 10:51, 9 มกราคม 2006 (UTC)
แจ้งครั้งที่พิมพ์ของหนังสืออ้างอิง
แก้ขอความกรุณาผู้สร้างบทความแจ้ง "ครั้งที่พิมพ์" ของหนังสือที่นำมาอ้างอิง (อภิชัย พันธเสน, พุทธเศรษฐศาสตร์: วิวัฒนาการ ทฤษฎี และการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่าง ๆ, สำนักพิมพ์อมรินทร์) ด้วยครับ ถ้าหากเป็นฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 ทาง ศ.ดร.อภิชัย พันธเสน (ผู้แต่ง) และสำนักพิมพ์อมรินทร์ ได้มอบกลับคืนให้เป็นสาธารณสมบัติ (Public Domain) ภายใต้สัญญาการใช้ Creative Commons: Attribution 3.0 Unported License โดยผ่านการประสานงานของโครงการฐานความรู้เปิดประเทศไทย (Open Base Thailand)--Jitasa 11:35, 13 มีนาคม 2552 (ICT)
ลบคำซ้ำความหมาย
แก้ขอลบวงเล็บด้านหลังคำว่า Demand ที่เขียนว่า "แม้ว่าจะมีรายได้อย่างเพียงพอ" ในหัวข้อย่อย "ประสิทธิภาพในการบริโภค" ย่อหน้าที่ 3 เนื่องจาก Demand มีความหมายว่า "มีรายได้เพียงพอในการซื้อ (หรือ มีอำนาจซื้อ)" ในตัวเองอยู่แล้ว --Charles G. Lao 17:13, 17 มีนาคม 2552 (ICT)
ไม่เป็นสารานุกรม
แก้ผมว่าเนื้อหาหน้านี้ดูไม่เป็นสารานุกรมมากนะครับ อาจจะต้องลบและเขียนใหม่ทั้งหมด เพราะเนื้อหาเหมือนงานวิจัยใหม่ รวมไปถึงบทวิเคราะห์ ซึ่งอ่านทั้งหมดแล้วน่าจะลบออกและเรียบเรียงใหม่นะครับ --Manop | พูดคุย 14:58, 20 มีนาคม 2552 (ICT)
รบกวนเพิ่มแหล่งอ้างอิง
แก้รบกวนเพิ่มแหล่งอ้างอิงในตัวบทความ (ซึ่งผมใส่ป้ายไว้) ด้วยครับ เนื่องจากผมเห็นว่าหลายๆส่วนเป็นเนื้อหาเชิงความคิดเห็น โดยผมเข้าใจว่าอาจเป็นความคิดตกผลึกของผู้แต่งเอง หรือผู้แต่งอ้างอิงมาจากแหล่งอื่นๆครับ เลยอยากรบกวนให้ระบุให้ชัดเจนขึ้นครับ รวมทั้งในส่วนที่เป็นการอ้างอิงแล้วท้ายประโยค เช่น Mr...,25xx ซึ่งเป็นการอ้างอิงจากในหนังสือพุทธเศรษฐศาสตร์ต้นฉบับนั้น ควรนำมาอ้างอิงไว้ท้ายหน้า วิกิ ด้วยครับ เพื่อประโยชน์ในการสืบค้นของผู้ที่สนใจศึกษาเพิ่มเติมครับ
อีกประเด็นผมเห็นด้วยกับคุณ Manop ครับ เนื่องจากพุทธเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ค่อนข้างใหม่ในสายเศรษฐศาสตร์ ตัวทฤษฎีเองยังไม่นิ่ง ผมจึงเห็นว่าควรเรียบเรียงเนื้อหาใหม่ ในลักษณะสรุปองค์ความรู้ออกมา และทำการอ้างอิงที่มาที่ไปอย่างชัดเจน เรียบเรียงให้เป็นกลางมากขึ้น โดยพยายามเลี่ยงคำหรือข้อความที่แสดงบุคคลิก (charactor) ของผู้แต่งหนังสือครับ ขอบคุณครับ--Charles G. Lao 09:52, 24 มีนาคม 2552 (ICT)
ขอความกรุณาผู้ที่เริ่มเขียนบทความนี้ กรุณาเอารายชื่อหนังสือที่อ้างอิงในวงเล็บเหล่านั้นมาใส่ทั้งหมดด้วยครับ เช่นตรง (Bowden 1990:77) (Boulding 1968 : 193-94) ฯลฯ ไม่ใช่มีแต่วงเล็บผู้แต่งหนังสืออยู่ลอยๆ ผู้อ่านค้นคว้าต่อไม่ได้ (น่ากลัวว่าบทความนี้จะเป็นการคัดลอกจากหนังสือพุทธเศรษฐศาสตร์หรือเปล่า ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ละเมิดลิขสิทธิ์อีกกระทง) --Octra Dagostino 10:40, 24 มีนาคม 2552 (ICT)