พูดคุย:การครอบครองปรปักษ์

อสังหาริมทรัพย์ แก้

ถ้าเป็นโฉนด ครอบครอง 10 ปีจึงจะได้ เพราะเป็นกรรมสิทธิ์

ถ้าจำไม่ผิด ยังไม่มีเวลาเช็ค น.ส. 3 และ น.ส. 3 ก (ไม่มีกรรมสิทธิ์ มีเพียงสิทธิ์การครอบครอง) ครอบครองปรปักษ์ 3 ปี ได้ ส่วนอื่นๆ ครอบครองปีเดียวได้... จำถูกหรือเปล่าไม่แน่ จึงขอยังไม่แก้บทความ --taweethaも 21:22, 26 กันยายน 2552 (ICT)

เรื่องออกโฉนดที่ดินนั้น หลังจากที่ได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์มาโดยครอบครองปรปักษ์แล้ว ต้องไปขอให้ศาลสั่งว่าได้กรรมสิทธิ์มาแล้ว เพื่อให้แก้ชื่อผู้มีกรรมสิทธิ์ในทะเบียน เช่น ในโฉนดที่ดิน หรือเอกสารอื่น ๆ เป็นชื่อตนแล้ว ถ้าไม่มีการแก้ทางทะเบียนจะไม่สมบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิและบางทีอาจเป็นโมฆะหรือเปล่า ต้องขอตรวจดูอีกที

แต่ครอบครองปรปักษ์ได้เฉพาะทรัพย์สินของเอกชนเท่านั้น ทรัพย์สินของแผ่นดินและที่ดินมือเปล่า (คืออะไรต้องคุยกันยาว ๕ ๆ ๆ แต่เอาคร่าว ๆ ว่า เช่น ที่ดินที่มีแต่หนังสือแสดงสิทธิครอบครอง แต่ไม่มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์) ไม่ว่าครอบครองไว้นานเท่าไรก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ไป

—— Clumsy  • พูดคุย | ๒๕๕๒.๐๙.๒๖, ๒๑:๒๓ นาฬิกา (ICT)

เช็คแล้ว ปพพ. ม. 1382 ของที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ น.ส. 3 เป็นสิทธิ์การครอบครอง 1 ปี ก็เสียสิทธิ์ --taweethaも 21:29, 26 กันยายน 2552 (ICT)

ปพพ. ม. 1375 เรื่อง 1 ปี ของ น.ส. 3 และอย่างอื่นๆ ทั้งหมดทั้งสิ้น --taweethaも 21:32, 26 กันยายน 2552 (ICT)

คำนาม แก้

"ครอบครอง" เป็นคำนามอยู่แล้ว เป็นภาษาและเป็นศัพท์กฎหมาย (legal term) ดู ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2546). ภาษากฎหมายไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ISBN 9789745718500.

—— Clumsy พูดคุย | ๒๕๕๒.๑๐.๒๗, ๑๑:๓๕ นาฬิกา (ICT)


  • จาก พจนานุกรม คำว่า "ครอบครอง" เป็น กริยา ไม่ใช่ คำนาม
  • ครอบครอง ก. ยึดถือไว้, มีสิทธิปกครอง; (กฎ) ยึดถือทรัพย์สินไว้โดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน อันทำให้บุคคลได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง ทั้งนี้จะยึดถือไว้เองหรือบุคคลอื่นยึดถือไว้ให้ก็ได้.
  • จาก ศัพท์บัญญัติ ราชบัญฑิตสถาน
  • adverse possession และ hostile possession ใช้ศัพท์บัญญัติว่า "การครอบครองปรปักษ์"

ดังนั้น จึงคิดว่าใช้ การครอบครองปรปักษ์ จะเหมาะสมกว่า--58.8.230.50 12:24, 30 ตุลาคม 2552 (ICT)


มีแหล่งอ้างอิงทั้งคู่เลย อย่างไรก็ตามแหล่งอ้างอิงของราชบัณฑิตน่าจะเป็นการทั่วไปและจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าสำหรับวิกิพีเดีย ไม่ขวาจัดหรือไม่ใช้อำนาจรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ค้นมาเพิ่มเติมจาก [1]

  • กรรมสิทธิ์ที่ได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์ possessory title นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕
  • การครอบครองปรปักษ์ adverse possession; hostile possession นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕
  • ผู้ครอบครองปรปักษ์ squatter นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕

อย่างไรก็ดี กรุณาอย่าเพิ่งเปลี่ยชื่อจนกว่าจะได้ข้อสรุปครับ --taweethaも 12:30, 30 ตุลาคม 2552 (ICT)


ศัพท์บัญญัตินั้นตามที่นิยมใช้ในปัจจุบัน แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) ร่างมาตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๕ ประกาศใช้ทีละบรรพ ๆ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๖ ภาษาในสมัยนั้นก็ใช้แบบนั้นและยังมีอยู่ใน ป.พ.พ. ปัจจุบัน (เช่น "นาย ก ทำละเมิด นาย ข" หรือ "การกระทำของนาย ก ไม่เป็นเสียหาย" คนทั่วไปอ่านกฎหมายคงไม่เข้าใจ) คล้าย ๆ กับเป็น gerund หรือวิเศษณนาม หรืออะไรก็ตามที่เรียกชื่อไม่ถูก (55+) ในขณะที่ปัจจุบันต้องมี "การ" มี "ความ" ถึงจะเป็นคำนาม

นี่พูดถึงคำว่า "ครอบครอง" นะ เพราะว่าในกฎหมายไทยนั้นไม่มีที่ใช้ "ครองครองปรปักษ์" เลย เป็น legal term ที่เรารับมาแล้วก็แพร่หลาย (แต่ไม่มีกฎหมายเอ่ยถึงคำนี้)

อนึ่ง นอกจากที่โบราณใช้ภาษาแบบนั้นแล้ว ปัจจุบันใช้แบบมี "การ" มี "ความ" เช่น "สิ่งนี้อยู่ในความครอบครองของผู้ใด ให้ยึดได้"

ภาษากฎหมายไทยค่อนข้างยุ่งยาก บางทีอ่านไปคิดว่าไม่ต้องเขียนแบบนี้ก็จะไม่ต้องมาตีความให้ยุ่งยาก หรือตัดคำบางคำออกก็ความหมายเท่าเดิม เช่น "ผู้ใดกระทำการอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในอันที่ผู้อื่นกระทำความผิด..."

เหมือนกับคำว่า "ทรัพย์" กับ "ทรัพย์สิน" ที่ ป.พ.พ. ให้ความหมายไว้ชัดเจน แต่ ป.พ.พ. เองก็ใช้คละกันอยู่ไม่น้อย ทั้ง ๆ ที่สองอย่างนี้ต่างกันมาก

ป.ล. เดี๋ยวไว้ไปห้องสมุดจะสแกนคำอธิบายภาษากฎหมายไทยมาให้ดูเกี่ยวกับคำ "ครอบครอง" นี้ (แต่คงเป็นวันจันทร์หน้านู่นล่ะ)

—— Clumsy พูดคุย | ๒๕๕๒.๑๐.๓๐, ๑๓:๐๖ นาฬิกา (ICT)

ที่จริงการใส่การหรือความลงไปความหมายมันก็ไม่เปลี่ยนแปลง (อาการนาม — การ ใช้เติมหน้าคำกริยา ความ ใช้เติมหน้าคำวิเศษณ์) ขนาดข้อความอธิบายความหมายยังบอกว่า "การครอบครองทรัพย์สิน..." เลย อย่าลืมว่าหลักการตั้งชื่อให้ใช้คำนาม คุณไม่น่าขยายประเด็นให้มากความได้ถึงขนาดนี้ แค่เติม "การ" เข้าไปก็จบเรื่องแล้ว ไม่เห็นด้วยว่าการคงชื่อให้เป็นข้อกังขาไว้อย่างนั้นจะมีประโยชน์อะไร ในอนาคตก็อาจจะมีคนอื่นมาเปลี่ยนชื่ออีก ผมสนับสนุนให้ใช้ "การครอบครองปรปักษ์" --octahedron80 13:36, 30 ตุลาคม 2552 (ICT)

ผมก็สนับสนุนการใช้ "การครอบครองปรปักษ์" เหมือนกัน และผมเปลี่ยนไปแล้ว แต่มีการเปลี่ยนกลับ จึงคิดว่าถ้ากดเปลี่ยนกลับอีกเดี๋ยวมีปัญหา รบกวนรอหลักฐานวันจันทร์หน่อยนึงแล้วกันครับ อาจมีเหตุผลดีๆ ก็ได้ --taweethaも 13:43, 30 ตุลาคม 2552 (ICT)

"การ" ก็ได้ การก็ไม่ได้ผิดอะไร กับทั้งจะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปหาหนังสือเล่มนั้นอีก

—— Clumsy พูดคุย | ๒๕๕๒.๑๐.๓๐, ๑๔:๒๐ นาฬิกา (ICT)

กลับไปที่หน้า "การครอบครองปรปักษ์"