พีระมิดแห่งการเรียนรู้

พีระมิดแห่งการเรียนรู้ (อังกฤษ: learning pyramid) บางตำราเรียกว่า กรวยประสบการณ์ หรือ กรวยแห่งการเรียนรู้ [1] เป็นกลุ่มของรูปแบบการเรียนรู้ที่เป็นที่รู้จักและแสดงถึงความสัมพันธ์ของระดับการจดจำความรู้ที่เกิดจากประเภทของการเรียนรู้ที่หลากหลาย การแสดงค่าจะอยู่ในรูปของร้อยละ และแบ่งเป็นระดับชั้นที่แยกออกจากกันภายใน "พีระมิดแห่งการเรียนรู้" โดยทั่วไปแล้วมักแบ่งระดับการเรียนรู้ที่ร้อยละ 10, 20, 30, 50 และ 90[1][2][3][4]

ลักษณะ แก้

การแสดงข้อมูลในลักษณะนี้น่าเชื่อว่าเริ่มในหนังสือชื่อ Audio-Visual Methods in Teaching ใน ค.ศ. 1954[1] ส่วนรูปแบบพีระมิดถูกพัฒนาโดย National Training Laboratories (NTL) ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 ซึ่งการวิจัยภายในฉบับดั้งเดิมสูญหาย อย่างไรก็ตามรูปแบบพีระมิดของ NTL ได้กลายมาเป็นตัวแทนกลางของมโนทัศน์นี้ จากการที่มีการวาดรูปแบบที่มีพื้นฐานจากพีระมิดนี้เป็นจำนวนมาก โดยทั่วไปแล้วรูปแบบของ NTL มักแสดงข้อมูลดังนี้

 
พีระมิดแห่งการเรียนรู้
อัตราการจำได้ กิจกรรมการเรียนรู้
90% การสอนบุคคลอื่น/นำไปใช้ทันที
75% การได้ปฏิบัติสิ่งที่ตนเรียนรู้
50% การมีส่วนร่วมในการสนทนากลุ่ม
30% การได้เห็นตัวอย่าง
20% การฟังและได้เห็น
10% การอ่าน
5% การฟังการบรรยายในห้องเรียน

การวิจารณ์ แก้

การวิจารณ์เกิดขึ้นกับรูปแบบฉบับแรก ๆ เช่น รูปแบบกรวยประสบการณ์ของเดล[2][3][4] นักวิจารณ์รายงานถึงความไม่สอดคล้องกันระหว่างพีระมิดแห่งการเรียนรู้และการวิจัย[1] การวิจัยเรื่องพีระมิดแห่งการเรียนรู้ของ NTL สูญหาย ทำให้การศึกษาในศาสตร์นี้มีที่มาจากระเบียบวิธีและการควบคุมคุณภาพที่ไม่เป็นที่รู้จัก ประกอบกับการไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการลดอิทธิพลของตัวแปรต่าง ๆ เช่น เวลา ประชากร การทดสอบ เป็นต้น ส่งผลให้ผลการศึกษาไม่เป็นที่น่าเชื่อถือ[1]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Letrud, Kåre (2012), "A rebuttal of NTL Institute's learning pyramid", Education (133): 117–124
  2. 2.0 2.1 Subramony, D.P. (2003). “Dale’s Cone revisited: Critically examining the misapplication of a nebulous theory to guide practice”. Educational technology, 7-8, (25-30).
  3. 3.0 3.1 Molenda, M. (2004). “Cone of experience. In A. Kovalchik & K. Dawson (Eds.), Education and Technology (161-165). California: ABCCLIO.
  4. 4.0 4.1 Lalley, J. P. & Miller, R.H. (2007): “The learning pyramid: Does it point teachers in the right direction?” Education 128(1):64-79.