เบาะนั่งนิรภัยเด็ก

เบาะนั่งนิรภัยเด็ก (อังกฤษ: child safety seat, infant safety seat, หรือใช้แบบกำกวมว่า car seat) หรือระบบยึดเหนี่ยวเด็กในรถ (อังกฤษ: child restraint system, restraining car seat) เป็นเบาะนั่งซึ่งออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อปกป้องเด็กจากการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตระหว่างการชน ผู้ผลิตรถยนต์อาจรวมเบาะนั่งนิรภัยเด็กอยู่ในการออกแบบยานพาหนะของตนโดยตรง แต่ส่วนใหญ่ผู้บริโภคเป็นผู้ซื้อและติดตั้งเบาะนั่งเหล่านี้เอง หลายภูมิภาคกำหนดให้เด็กที่นิยามโดยอายุ น้ำหนัก และ/หรือส่วนสูงให้ใช้ที่นั่งนิรภัยเด็กที่รัฐบาลรับรองเมื่อโดยสารในยานพาหนะ ที่นั่งนิรภัยเด็กนี้เป็นการยึดเหนี่ยวแบบทำให้ (passive restraint) และต้องใช้อย่างเหมาะสมจึงจะมีประสิทธิภาพ ทว่า การยึดเหนี่ยวนิรภัยเด็กหลายอย่างในประเทศอย่างแคนาดาและสหรัฐใช้อย่างไม่เหมาะสม[1] เพื่อรับมือกับแนวโน้มนี้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยเด็กจึงผลิตวิดีทัศน์ความปลอดภัยเด็กเพื่อสอนการติดตั้งเบาะนั่งนิรภัยเด็กอยางเหมาะสมแก่ผู้ปกครองและผู้ให้การดูแล (caregiver)

Child safety seats
ภาพเบาะนั่งนิรภัยเด็กชี้แสดงส่วนต่าง ๆ

กฎหมายในหลายประเทศกำหนดให้มีเบาะนั่งรถยนต์ทารก รวมทั้งสหรัฐ เพื่อขนส่งเด็กอายุถึง 2 ปีหรือกว่านั้นในรถยนต์และยานพาหนะอื่นอย่างปลอดภัย ส่วนเบาะนั่งรถยนต์อื่น ที่เรียก "เบาะนั่งเสริม" (booster seat) นั้น กฎหมายกำหนดให้มีจนเด็กโตพอจะใช้เข็มขัดนิรภัยผู้ใหญ่ ซึ่งปกติคือเมื่อเด็กสูง 1.45 เมตรขึ้นไป เด็กต้องครบห้าเกณฑ์ก่อนจึงย้ายเบาะนั่งเสริมออก ได้แก่ ตำแหน่งเบาะนั่งของเด็ก ตำแหน่งเข็มขัดหัวไหล่ ตำแหน่งเข็มขัดเอว ตำแหน่งเข่าและความสามารถที่นั่งได้อย่างเหมาะสมตลอดการเดินทาง

โดยทั่วไป ประเทศซึ่งวางระบบความปลอดภัยของผู้โดยสารมีกฎหมายความปลอดภัยเด็กซึ่งกำหนดให้เด็กถูกยึดเหนี่ยวอย่างเหมาะสมขึ้นอยู่กับอายุและน้ำหนัก การวางระเบียบและมาตรฐานเหล่านี้มักเป็นขั้นต่ำ บางประเทศ เช่น ออสเตรเลียและสหรัฐ ห้ามเบาะนั่งเด็กหันหลังในเบาะนั่งหน้าซึ่งมีถุงลมนิรภัย การยึดเหนี่ยวทารกหันหลังที่วางในเบาะนั่งหน้าของยานพาหนะจะทำให้ศีรษะของทารกใกล้กับถุงลมนิรภัยซึ่งสามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บศีรษะรุนแรงหรือเสียชีวิตได้หากถุงลมนิรภัยกาง รถยนต์สมัยใหม่บางส่วนมีสวิตช์ปิดใช้งานถุงลมนิรภัยผู้โดยสารด้านหน้าสำหรับการใช้เบาะนั่งเสริมสำหรับเด็ก

อ้างอิง แก้

  1. "State of New Jersey". Nj.gov. สืบค้นเมื่อ 2013-11-19.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • Safercar.gov For information on child restraint use in the U.S.