ซูเปอร์ชาร์จเจอร์

ซูเปอร์ชาร์จเจอร์ (อังกฤษ: Supercharger, Blower, Compressor) เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่ดูดอากาศเข้าจากนั้นทำการอัดอากาศและส่งเข้าสู่ห้องด้วยแรงดันสูงให้มวลไหลของออกซิเจนสูงกว่าอัตราการปกติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้มากกว่าเครื่องยนต์ที่ไม่มีระบบอัดอากาศ ซึ่งจะช่วยให้เชื้อเพลิงถูกเผาไหม้และทำงานมากขึ้นเพื่อจะทำการเพิ่มการหมุนต่อรอบและเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์[1]

ซูเปอร์ชาร์จเจอร์ (อย่างที่ 6) บนเครื่องยนต์ลูกสูบ
ซูเปอร์ชาร์จเจอร์ในเครื่องยนต์ AMC V8 engine สำหรับการแข่ง dragstrip racing

ขณะที่พลังมาจากกังหันก๊าซไอเสียเป็นที่รู้จักกันคือ เทอร์โบชาร์จเจอร์[2]โดยทั่วไปคำว่า supercharger มักจะเกี่ยวกับหน่วยขับเคลื่อนทางกล

หลักการทำงาน แก้

การทำงานของซูเปอร์ชาร์จเจอร์ใช้หลักการหมุนเพื่อดูดอากาศและเพิ่มแรงดันของอากาศแล้วจึงส่งผ่านไปยังห้องเผาไหม้ ส่วนภายในจะเป็นเครื่องดูดและอัดอากาศโดยอาศัยแรงหมุนจากเครื่องยนต์หรือมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งสามารถแบ่งแยกได้ตามกลไกการทำงาน

Roots lobe supercharger (Roots-type)
ใช้กำลังจากเครื่องยนต์ในการหมุน ภายในจะมีแกน 2 แกนใช้ลูกตุ้มติดอยู่กับแกน 2 - 3 ลูกต่อแกน ในแต่ละแกนจะหมุนเข้าหากันคล้ายก้นหอยทำให้เกิดแรงดันของอากาศสูงขึ้น
 
กลไกแกนของ Roots-type
 
Roots-type supercharger (right) ในเครื่องยนต์ 2006 GM Ecotec LSJ สี่สูบ
Lysolm screw supercharger
ใช้หลักการเดียวกับแบบ Roots แต่จะมีลูกตุ้มต่อแกนประมาณ 4 - 6 ลูก ส่วนการหมุนของแกนจะหมุนไปในทิศทางตรงข้ามกันในการสร้างแรงอัดอากาศ
 
กลไกภายใน rotary-screw (Lysholm) supercharger
 
Centrifugal supercharger
ใช้หลักการทำงานเหมือนเทอร์โบชาร์จเจอร์ เพียงแต่อาศัยแรงหมุนจากสายพานของเครื่องยนต์
 
ภาพตัดของ Centrifugal superCharger
Electric supercharger
ใช้กระแสไฟฟ้าในการหมุนซึ่งจะไม่ทำให้เครื่องสูญเสียพลังงาน
Vane supercharger
Wanlel rotary supercharger
[1]
 

ข้อดี ข้อเสีย แก้

หากเปรียบเทียบกับระบบอัดอากาศอย่างเทอร์โบชาร์จเจอร์ ซูเปอร์ชาร์จเจอร์สามารถใช้ส่งแรงอัดได้ทันทีและไม่ทำให้อากาศที่ถูกส่งเข้าสู่ห้องเผาไหม้มีความร้อน ในด้านข้อเสียหากอาศัยแรงขับจากเครื่องยนต์จะทำให้เสียกำลังไปกับการหมุน

ส่วนเทอร์โบชาร์จเจอร์ ต้องอาศัยแรงหมุนจากแรงดันของท่อไอเสีย และทำให้อากาศที่ส่งเข้าสู่ห้องเผามีอุณหภูมิสูง[1]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "ซุปเปอร์ชาร์จเจอร์ อุปกรณ์เพิ่มความแรง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-10. สืบค้นเมื่อ 2012-05-05.
  2. "''"The Turbosupercharger and the Airplane Power Plant"''". Rwebs.net. 1943-12-30. สืบค้นเมื่อ 2010-08-03.

แหล่งข้อมุลอื่น แก้