ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คลองสามเสน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
ลบการเปลี่ยนทางไป รายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร
ป้ายระบุ: ลบหน้าเปลี่ยนทาง ผู้ใช้แก้หน้าเปลี่ยนทาง
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 6:
คลองสามเสนเป็นคลองเก่าแก่ไม่น้อยไปกว่าสมัย[[อาณาจักรอยุธยา|กรุงศรีอยุธยา]] มีการกล่าวถึงเมื่อครั้ง[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท]]ปฏิสังขรณ์วัดเก่าในสมัยเริ่มสร้าง[[กรุงรัตนโกสินทร์]] ในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] คลองสามเสนคงเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญเส้นหนึ่ง เนื่องจากปรากฏอยู่ในแผนที่ของจอห์น โครว์ฟอร์ด (พ.ศ. 2367) ต่อมาในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] มีการเชื่อมคลองสามเสนกับ[[คลองเปรมประชากร]]และ[[คลองรางเงิน]]ที่เข้ากับ[[พระราชวังดุสิต]]ด้วย คงเป็นเส้นทางขนส่งวัสดุก่อสร้าง ตลอดจนสินค้าต่าง ๆ เข้าวัง รวมถึงเป็นเส้นทางจากวังไปยัง[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] เช่น เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสมายังคลองนี้เมื่อ พ.ศ. 2442 รวมถึงมีการแห่อัญเชิญ[[พระพุทธชินราช]]จำลองจาก[[พิษณุโลก]]เข้ามาในคลองนี้เพื่อไปยัง[[วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร]] เมื่อ พ.ศ. 2444<ref name="ภัทราวรรณ">{{cite web |author1=ภัทราวรรณ บุญจันทร์ |title=ความสัมพันธ์ของชุมชนกับศิลปกรรมในวัดราษฎร์ริมคลองสามเสน |url=http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/thapra/Patrawan_Boonchan/Fulltext.pdf |publisher=มหาวิทยาลัยศิลปากร}}</ref>
 
ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการตัดถนนผ่านคลองสามเสนและสร้างสะพานข้าม สภาพคลองในสมัยนั้นเป็นสวนผลไม้อยู่มาก เป็นที่ดินของวัดและเจ้าจอมมารดาหลายพระองค์บริเวณริมคลองฝั่งใต้ ส่วนฝั่ฝั่งเหนือเดิมเป็นสวนเช่นเดียวกัน โดยบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นโรงงานต่าง ๆ เช่น โรงสีข้าว มีศาลเจ้าและบ้านเรือนของชาวจีนมาตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ จนกระทั่งกรมพระคลังข้างที่ได้เข้ามาซื้อที่ดินบางส่วน ซึ่งต่อมากลายสภาพเป็นที่พักอาศัยและอาคารพาณิชย์ สถานศึกษา หน่วยงานราชการ รวมถึง[[ตลาดศรีย่าน]]และนครไชยศรี<ref>{{cite book |author1=มานพ พงศทัต และกิ่งเพชร ลีฬะหาชีวะ |title=รายงานการวิจัยเรื่องการขนส่งทางน้ำของกรุงเทพมหานคร |date=2527 |publisher=จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |pages=17–18}}</ref>
 
==สถานที่ริมคลอง==