ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาพเหมือน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Muffin (คุย | ส่วนร่วม)
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
นำป้ายออก ไม่มีลิงก์ข้ามภาษาแล้ว
บรรทัด 1:
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
<!-- กรุณาอย่าเปลี่ยน ค.ศ. เป็น พ.ศ. เพราะเมื่อขยายบทความนี้จะมีการอ้างอิงไปถึงคริสต์ศักราช และบทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความในชุดใหญ่ที่ใช้ ค.ศ. วิกิกล่าวว่าการใช้ ค.ศ. เป็น พ.ศ. ขึ้นอยู่กับผู้เขึยน ฉะนั้นขอเลือก ค.ศ. ในกรณีนี้ ขอบคุณค่ะ-->
 
เส้น 8 ⟶ 7:
'''ภาพเหมือน''' ([[ภาษาอังกฤษ]]: portrait) เป็น[[จิตรกรรม]], [[ภาพถ่าย]], [[ประติมากรรม]] หรือสื่ออื่นๆ ที่เป็นรูปของผู้เป็นแบบ ซึ่งส่วนที่สำคัญที่สุดจะเป็นหน้าและการแสดงออกทางความรู้สึกของผู้เป็นแบบ จุดประสงค์ในการสร้างภาพเหมือนก็เพื่อแสดงความละม้าย, บุคลิก, หรือแม้แต่อารมณ์ของผู้เป็นแบบ ฉะนั้นภาพถ่ายที่เป็นภาพเหมือนจึงมิใช่ภาพถ่ายแบบชั่ววินาที แต่เป็นภาพถ่ายที่ช่างถ่ายจะพยายามจัดท่าหรือองค์ประกอบของภาพที่ให้ผู้เป็นแบบนั่งนิ่ง ภาพเหมือนมักจะแสดงผู้เป็นแบบมองตรงมายังจิตรกรหรือช่างภาพ เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ที่ดูรูปในภายหลัง
 
== ที่มา ==
'''ภาพเหมือน''' ในสมัยแรกที่พบเป็นภาพเขียนสำหรับปิดศพที่รู้จักกันว่า “เฟยุมมัมมี่” (Fayum mummy) ใน[[ประเทศอียิปต์]]ที่ถูกรักษาไว้เป็นอย่างดีเพราะความแห้งของอากาศในทะเลทราย “เฟยุมมัมมี่” เป็นภาพเขียนจากสมัย[[จักรวรรดิโรมัน]]อย่างเดียวที่พบนอกไปจาก[[จิตรกรรมฝาผนัง]]
 
เส้น 15 ⟶ 14:
งานภาพเหมือนที่มีชื่อที่สุดที่เป็นที่รู้จักันทั่วโลกคือภาพ “[[โมนาลิซา]]” โดย [[เลโอนาร์โด ดา วินชี]]เป็นภาพสตรีที่ไม่ทราบชื่อที่มีรอยยิ้มปริศนา ภาพเหมือนที่เก่าที่สุดเท่าที่ทราบพบเมื่อปี ค.ศ. 2006 โดย เจอราร์ด โจดีย์ นักโทษท้องถิ่นในถ้ำวิลโอเนอร์ไม่ใกลจากอังโจเลม ที่เชื่อว่ามีอายุถึง 27,000 ปี<ref>[http://www.timesonline.co.uk/tol/news/world/europe/article671755.ece “ภาพเหมือนที่เก่าที่สุด” บทความจาก timesonline (5 มิถุนายน 2006)]</ref>
 
== ภาพเหมือนตนเอง ==
เมื่อจิตรกรวาดภาพเหมือนของตนเองภาพนี้ก็จะเรียกว่า “ภาพเหมือนตนเอง” (self-portrait) ซึ่งเป็นที่นิยมกันในสมัยปลายยุคกลาง การสร้างภาพเหมือนตนเองอาจจะเริ่มมาตั้งแต่สมัย [[อียิปต์โบราณก่อนยุคราชวงศ์|อียิปต์โบราณ]]เมื่อประติมากรแบ็คของ[[ฟาโรห์อเคนาเตน]]แกะรูปของตนเองและภรรยาเมื่อ หรืออาจจะเริ่มมาตั้งแต่สมัยที่มนุษย์ยังอยู่ในถ้ำก็ได้ตามหลักฐานที่ปัจจุบันสูญหายไป
 
== ภาพถ่ายภาพเหมือน ==
“ภาพถ่ายภาพเหมือน” เป็นที่นิยมกันทั่วไปในโลก บางครั้งลูกค้าก็จะต้องการภาพเหมือนของตนเองและครอบครัว หรือภาพเหมือนในโอกาสพิเศษเช่นงานแต่งงานหรืองานจบปริญญา ภาพถ่ายภาพเหมือนเริ่มพร้อมกับการเริ่มต้นการถ่ายภาพ ความต้องการเป็นที่นิยมกันมากเพราะผู้ต้องการสามารถเป็นเจ้าของภาพเหมือนได้โดยไม่ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก กิจการร้านถ่ายรูปก็รุ่งเรืองตามไปด้วยบางร้านถ่ายถึง 500 เพลทต่อวัน ลักษณะการถ่ายภาพเหมือนสมัยต้นๆ นี้ต้องเปิดหน้ากล้องถึง 30 วินาทีจึงจะถ่ายได้ และจะใช้ลักษณะคล้าย “วาด” (painterly) ผู้เป็นแบบมักจะนั่งหน้าฉากเกลี้ยงๆ แสงเป็นแสงอ่อนเหนือแบบและแสงสะท้อนจากกระจก
 
เมื่อวิธีการถ่ายภาพวิวัฒนาการขึ้นช่างภาพก็ออกถ่ายภาพเหมือนนอกสถานที่เช่นในสนามรบ หรือ สถานที่ไกลจากผู้คน เช่นงานของวิลเลียม ชู (William Shew) โรเจอร์ เฟ็นตัน (Roger Fenton) และ แม็ทธิว เบรดี (Mathew Brady) ซึ่งเป็นผู้สร้างทฤษฏีการถ่ายภาพเหมือน
 
== การเมือง ==
ในทางการเมืองภาพเหมือนของผู้นำมักจะใช้เป็นสัญลักษณ์ของรัฐ ในหลายประเทศจะมีประเพณีในการแขวนภาพเหมือนของผู้นำในสถานที่ราชการ การใช้ภาพเขียนกันเป็นอย่างมากอาจจะเป็นสิ่งที่เรียกว่า[[ลัทธินิยม]]บุคคล
 
== วรรณกรรม ==
ในทาง[[วรรณกรรม]] คำว่า “ภาพเหมือน” หมายถึงคำบรรยายหรือคำวิจัยของคนหรือสิ่งของ คำบรรยายของบุคคลมักจะเป็นคำบรรยายที่บอกลักษณะที่แท้จริงที่เกินไปกว่าที่เห็นอย่างผิวเผิน เช่นงานเขียนของนักประพันธ์อเมริกันแพทริเชี คอร์นวอล ในหนังสือ “ภาพเหมือนฆาตกร” (Portrait of a Killer) ซึ่งบรรยายบุคลิก, เบื้องหลัง, และสาเหตุที่ [[แจ็กเดอะริปเปอร์|แจ็คเดอะริปเปอร์]]เป็นฆาตกรซึ่งรวมทั้งเรื่องที่สื่มวลชนเขียนและการสืบสวนของตำรวจ
 
เส้น 48 ⟶ 47:
* [http://www.reportret.info/ Reportret] - แกลเลอรีของภาพเหมือนของบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ที่ขาดหรือหายไปโดยสร้างขึ้นใหม่ {{en icon}}
 
== สมุดภาพ ==
<center>
<gallery perrow="5">