ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามอะแซหวุ่นกี้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
พม่าถอยทัพ
บรรทัด 24:
 
=== สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงปราบชุมนุม ===
ในเดือนมกราคมพ.ศ. 2310<ref name=":0">ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ [[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)|พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)]]</ref> ประมาณสามเดือนก่อน[[การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง]] พระยาตาก (สิน) ได้นำกองกำลังฝ่าวงล้อมของพม่าออกมาจากอยุธยา เดินทางไปตั้งมั่นที่ระยอง หลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าในเดือนเมษายน พ.ศ. 2310 ฝ่ายพม่าจำต้องดึงกองกำลังส่วนใหญ่ในสยามไปรบกับจีนทางเหนือ ใน[[สงครามจีน–พม่า|สงครามจีน-พม่า]] (Sino-Burmese War) เหลือกองกำลังพม่ารักษาการอยู่ในสยามจำนวนหนึ่ง มีสุกี้พระนายกองหรือ[[นายทองสุก]]ชาวมอญเป็นผู้รักษาการอยู่ที่[[ค่ายโพธิ์สามต้น]] อาณาจักรสยามแยกแบ่งออกเป็นชุมนุมต่างๆ พระยาตากเข้ายึดเมือง[[จังหวัดจันทบุรี|จันทบุรี]]ได้สำเร็จในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2310<ref name=":0">ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ [[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)|พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)]]</ref> แล้วยกทัพกลับเข้ามาอยุธยาเข้าตีค่ายพม่าโพธิ์สามต้นได้สำเร็จในเดือนพฤศจิกายน ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็น[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]] เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 ปีต่อมาในพ.ศ. 2311 เสด็จไปรบกับพม่าใน[[สงครามบางกุ้ง]]ได้รับชัยชนะ จากนั้นเสด็จไปปราบชุมนุมต่างๆ
 
ในพ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จยกทัพไปปราบ[[ชุมนุมเจ้าพระฝาง]] มีพระราชโองการให้[[เจ้าพระยาพิชัยราชา|พระยาพิชัยราชา]] และ[[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท|พระยายมราช (บุญมา)]] เป็นทัพหน้า<ref name=":0">ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๕ [[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)|พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)]]</ref> เข้าตียึดเมือง[[จังหวัดพิษณุโลก|พิษณุโลก]]ได้สำเร็จในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2313 ปราบชุมนุมเจ้าพระฝางลงได้สำเร็จ รวบรวมอาณาเขตขัณฑสีมาของอยุธยาไว้ได้ทั้งหมดแล้ว จึงมีพระราชโองการแต่งตั้งข้าหลวงเดิมซึ่งมีความชอบในการสงครามให้อยู่ครองหัวเมืองเหนือ พร้อมจัดสรรกองกำลังไว้รับมือการรุกรานของพม่าไว้ดังนี้;<ref name=":1">พระราชพงษาวดารกรุงเก่า (ฉบับหมอบรัดเล).</ref>
บรรทัด 97:
ฝ่ายเมืองพิษณุโลก เจ้าพระยามหามณเฑียรและเจ้าพระยานครสวรรค์เข้าตีโอบหลังพม่าที่วัดจันทร์ฝั่งตะวันตก เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพออกมาตั้งค่ายนอกเมืองพิษณุโลกทางทิศตะวันตกประชิดฝ่ายพม่าอีกด้านหนึ่ง ประสานกันกับทัพของเจ้าพระยานครสวรรค์ เดือนสามแรมหกค่ำ เจ้าพระยาสุรสีห์ให้ทำคบเพลิงผ้าชุบน้ำมัน ใส่ลงในกระบอกปืนใหญ่ ยิงเข้าเผาทำลายค่ายพม่า สามารถทำลายหอรบลงได้สองหอ แต่ไม่สามารถฝ่าวงล้อมพม่าออกมาได้ เนื่องจากทัพของเจ้าพระยามหามณเฑียรและเจ้าพระยานครสวรรค์ ไปพบกับทัพ 2,000 คนที่ยกมาจากกงธานี มาสู้รบกันที่บ้านบางส้มป่อย จึงไม่ได้ยกมาประชิดค่ายพม่าที่พิษณุโลกตามนัดหมาย<ref name=":3">[[กรมพระยาดำรงราชานุภาพ|ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา]]. พงษาวดารเรื่องเรารบพม่า ครั้งกรุงธน ฯ แลกรุงเทพ ฯ.</ref> เจ้าพระยานครสวรรค์เอาชนะทัพพม่าถอยกลับไป ในเมืองพิษณุโลกเริ่มขาดแคลนเสบียง เจ้าพระยาสุรสีห์จึงขอพระราชทานเสบียงจากทัพหลวง สมเด็จพระเจ้าตากสินพระราชทานเสบียงให้กองกำลังคุมลำเลียงขึ้นไป แต่ถูกฝ่ายพม่าตีตัดกลางทางไปไม่ถึง สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงให้พระยานครราชสีมาคุ้มครองเสบียงขึ้นไป แล้วให้เจ้าพระยาสุรสีห์นำกำลังลงมารับเสบียง แต่กละโบ่แม่ทัพพม่ายกมาสกัดตีเสียก่อน เจ้าพระยาสุรสีห์และพระยานครราชสีมาไม่สามารถส่งเสบียงถึงกันได้ เสบียงอาหารในเมืองพิษณุโลกลดน้อยลงทุกวัน ไม่เพียงพอแจกจ่ายแก่กำลังพล ฝ่ายพม่าก็ขัดสนเสบียงอาหารเช่นกันเนื่องจากเสบียงจากเชียงแสนของโปมะยุง่วนไม่สามารถลงมาส่งได้<ref name=":3">[[กรมพระยาดำรงราชานุภาพ|ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา]]. พงษาวดารเรื่องเรารบพม่า ครั้งกรุงธน ฯ แลกรุงเทพ ฯ.</ref> แต่ฝ่ายพม่าอยู่ในที่แจ้ง สามารถค้นหาอาหารขุดรากมันประทังไปได้ ไม่ขัดสนเหมือนในเมืองพิษณุโลก<ref name=":1" /><ref name=":3">[[กรมพระยาดำรงราชานุภาพ|ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา]]. พงษาวดารเรื่องเรารบพม่า ครั้งกรุงธน ฯ แลกรุงเทพ ฯ.</ref>
 
หลวงภักดีสงครามและพระยาเจ่ง ซึ่งยกทัพไปทางกำแพงเพชรนั้น พบกับทัพพม่าที่กำแพงเพชร โจมตีทัพพม่าโดยไม่ทันรู้ตัวใน'''การรบที่กำแพงเพชร''' ทัพไทยมอญเก็บศาสตราวุธพม่ามาถวายฯ ฝ่ายพม่าแม้พ่ายแพ่แต่ยังสามารถยกทัพเข้าโจมตีเผาเมืองอุทัยธานีได้สำเร็จ พม่าตั้งค่ายที่กำแพงแพชร ที่บ้านโนนศาลาสองค่าย ที่[[ตำบลสลกบาตร|บ้านสลกบาตร]]หนึ่งค่าย ที่บ้านหลวงหนึ่งค่าย เดือนสามแรมสิบสี่ค่ำ ขุนยกกระบัตรเมืองชัยนาท สืบราชการทัพพม่ามากราบทูลว่า ทัพพม่าเผาเมืองอุทัยธานีเสียแล้วและตั้งค่ายอยู่ที่กำแพงเพชร สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงมีพระราชโองการ ให้หม่อมเชษฐกุมารเป็นกองหลวง ให้หม่อมอนุรุทธเทวาเป็นจางวาง ให้ขุนอินทรเดชเป็นแม่กอง ให้หลวงปลัดเมืองอุทัยธานีและ[[เจ้าพระยาพระคลัง (หน)|หลวงสรวิชิต (หน)]] เป็นกองหน้า ยกกำลัง 1,000 คนไปคอยป้องกันปืนใหญ่ที่ลำเลียงมาจากกรุงธนบุรีอย่าให้เป็นอันตราย และคอยป้องกันเมืองนครสวรรค์ และทรงให้พระยานครไชยศรีตั้งที่[[อำเภอโพธิ์ประทับช้าง|โพธิ์ประทับทับช้าง]] และพระโหราธิบดีตั้งที่โคกสลุด คอยป้องกันตามเส้นทางลำเลียง
 
=== พม่าตีเมืองกุยบุรีและปราณบุรี ===
บรรทัด 120:
หลังจากที่ล้อมเมืองพิษณุโลกอยู่เป็นเวลาประมาณสี่เดือน ในที่สุดอะแซหวุ่นกี้สามารถเข้ายึดเมืองพิษณุโลกได้ ฝ่ายพม่าจุดไฟเผาเมืองพิษณุโลก ไฟลุกโชติช่วงสว่างดั่งกลางวัน บ้านเรือนวัดวาอารามทั้งหมดของเมืองพิษณุโลกถูกทำลายลงจนหมดสิ้น เหลือแต่เพียง[[วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร|วัดพระมหาธาตุ]]เท่านั้นที่ยังคงอยู่<ref name=":1" /> พม่าเที่ยวไล่จับกุมราษฏรชาวเมืองพิษณุโลกที่หลบหนีออกไปไม่ทัน และเก็บเอาทรัพย์สินมีค่าและอาวุธสรรพาวุธของฝ่ายไทยที่ตกค้างอยู่
 
==พม่าถอยทัพ==
==อะแซหวุ่นกี้มุ่งสู่พระนคร==
เมื่อพิษณุโลกอันเป็นหัวเมืองใหญ่แห่งสุดท้ายแตกแล้ว อะแซหวุ่นกี้จึงได้แบ่งกำลังเป็น 3 สาย โดยมีตัวเองเป็นทัพหลักคอยสนับสนุน เนื่องจากมีกำลังคนมากกว่าจึงใช้ประโยชน์จากข้อนี้ไหล่บ่าลงมาพร้อมๆกัน มุ่งสู่พระนครกรุงธนบุรี
*สายที่1 ให้มังแยยางูคุมมาทางเมืองเพชรบูรณ์ รวบรวมเอาเสบียงอาหารรวมถึงกวาดต้อนผู้คนบริเวณนั้นส่งไปยังทัพใหญ่ของอะแซหวุ่นกี้ มีจุดมุ่งหมายที่กรุงธนบุรี
*สายที่2 ให้กะละโบคุมกองทัพอีกกองยกมาทางเมืองกำแพงเพชร ให้รวบรวมเอาเสบียงอาหารรวมถึงกวาดต้อนผู้คนมุ่งสู่พระนครเช่นเดียวกัน
*สายที่3 ให้ปะกาจีเมงกองจอคุมทัพลงมาทางพิจิตร มุ่งตรงมายังกรุงธนบุรีโดยกวาดต้อนผู้คนรวมถึงเสบียงอาหารตลอดทาง
 
=== พระเจ้ามังระสวรรคต ===
==ถอนทัพกลับกรุงอังวะ==
เมื่อฝ่ายพม่ายึดเมืองพิษณุโลกและหัวเมืองเหนือได้แล้ว ประสบกับปัญหาภาวะขาดเสบียง อะแซหวุ่นกี้จึงส่งกองกำลังออกค้นหาเสบียงตามที่ต่างๆ เพื่อเตรียมเข้าโจมตีกรุงธนบุรีดังนี้<ref name=":3" />
ต่อมาในวันที่ [[10 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2319]] ทางกรุง[[อังวะ]] ได้มีข่าวแจ้งมายังอะแซหวุ่นกี้ว่า[[พระเจ้ามังระ]]ได้เสด็จสวรรคตแล้ว [[พระเจ้าจิงกูจา]] กษัตริย์พระองค์ใหม่จึงมีบัญชาให้อะแซหวุ่นกี้ยกทัพกลับกรุงอังวะ ทางด้านอะแซหวุ่นกี้เมื่อทราบข่าวก็ตกใจเป็นอย่างยิ่ง โดยจะเห็นได้จากครั้งนั้นอะแซหวุ่นกี้มีคำสั่งให้ม้าเร็ว 3 หน่วย วิ่งไปบอกกองทัพทั้ง 3 สายที่ไหล่บ่าสู่กรุงธนบุรีว่าให้รีบถอนกำลังทั้งหมดกลับมาทันที แต่ม้าเร็วแจ้งทันแค่ 2 กองทัพ อีกหนึ่งกองทัพไปไกลแล้ว อะแซหวุ่นกี้จึงมีคำสั่งให้ประหารม้าเร็วหน่วยนั้นเสีย จากนั้นเร่งกองทัพทั้งกลางวันกลางคืนกลับสู่กรุงอังวะ ทิ้งกองทัพอีก 1 กองที่เหลือไว้ในกรุงธนบุรีโดยไม่รอ ทำให้กองทัพที่ตกค้างอยู่ถูกกองทัพสยามตีแตกพ่ายไป
 
* ให้แมงแยยางู<ref name=":3" /> (หรือปันญีเยข่องจอ)<ref name=":2" /> ยกทัพไปทางเพชรบูรณ์ และอาจจะเพื่อติดตามเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์<ref name=":3" />
ที่อะแซหุว่นกี้รีบเช่นนั้น เนื่องจากเสนาอำมาตย์ต่างแตกออกเป็นพวกๆ ให้การสนับสนุนเชื้อพระวงศ์คนละพระองค์ ถ้าเกิดมีใครคิดกบฎโดยยึดพระราชโองการของ[[พระเจ้าอลองพญา]] ที่ให้บุตรของพระองค์ครองราชย์ต่อก็อาจทำให้พระเจ้าจิงกูจาตกอยู่ในอันตราย อะแซหวุ่นกี้ที่เป็นพระสัสสุระ (พ่อตา) ของ[[พระเจ้าจิงกูจา]] จึงเร่งกลับกรุงอังวะในทันที
* ให้กละโบ่ ยกทัพไปทางกำแพงเพชร
 
พระเจ้ามังระสวรรคตในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2319<ref name=":2" /> พระโอรสคือเจ้าชายจิงกูจา ขึ้นครองราชสมบัติเป็น[[พระเจ้าจิงกูจา]] (Singu Min) กษัตริย์พม่าองค์ต่อมา พระเจ้าจิงกูจามีพระราชโองการให้อะแซหวุ่นกี้ในสยามและเนเมียวสีหบดีที่เชียงแสน ยกทัพกลับเมืองอังวะในทันที
หลังจากที่กองทัพพม่าได้ยกออกไปตามหาเสบียงแล้ว ท้องตราของพระเจ้าจิงกูจามาถึงอะแซหวุ่นกี้ อะแซหวุ่นกี้จึงให้คนรีบนำคำสั่งไปแจ้งแก่แม่ทัพพม่าที่ออกไปนั้น ให้ยกกลับมา อะแซหวุ่นกี้เกรงว่าหากรอกลับไปพร้อมกับทัพที่เหลือทั้งหมดจะเนิ่นช้าและตนเองจะมีความผิด<ref name=":3" /> จึงรีบเก็บรวบรวมทรับพ์สมบัติที่ได้และกวาดต้อนชาวสยามจากหัวเมืองเหนือ กลับพม่าไปทางเมืองสุโขทัยและเมืองตาก ทำให้ทัพพม่าที่เหลืออยู่ในสยามนั้นขาดผู้นำ มีความสับสนวุ่นวายและไร้การควบคุม
 
=== พม่าถอยทัพ ===
ฝ่ายเจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ หลังจากออกจากเมืองพิษณุโลกไปที่บ้านละมุงดงชมพูแล้ว จึงเดินทางไปตั้งอยู่ที่เพชรบูรณ์ ได้เสบียงเลี้ยงอาหารกองกำลังไพร่พลแล้ว จึงยกกองทัพกลับมาทางเมือง[[จังหวัดสระบุรี|สระบุรี]] แล้วทูลขออาสายกทัพติดตามพม่าไปทางป่าพระพุทธบาทขึ้นไปทางเมืองสุโขทัย<ref name=":3" />
 
เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินประทับอยู่ที่บางข้าวตอก เมื่อทรงทราบว่าได้เสียเมืองพิษณุโลกให้แก่ข้าศึกพม่า เผาเมืองเหลือเพียงวัดพระมหาธาตุ บัดนี้พม่าได้เลิกทัพไปแล้ว ก็ทรงพระโทมนัสน้อยพระทัยแก่ข้าศึก<ref name=":1" /> ดำรัสเรียกหาหลวงสรสำแดงมาเข้าเฝ้า ตรัสถามว่าจะให้คุมกองเกณฑ์หัดไปตามรบพม่าจะได้หรือไม่ หลวงสรสำแดงก้มหน้านิ่งเสีย จึงทรงพระพิโรธและลงพระราชอาญาประหารชีวิตหลวงสำแดงเสีย มีพระราชโองการให้[[พระยาพิชัยดาบหัก|พระยาพิชัย (ทองดี-ดาบหัก)]] และพระยาพิไชยสงคราม ยกทัพกลับไปเมืองพิชัย จัดตั้งทัพยกไปสกัดตามตีพม่าให้ได้ และทรงจัดแต่งทัพเข้าตีทัพพม่าซึ่งกำลังล่าถอยไปอยู่ดังนี้;<ref name=":1" />
 
* พระยาสุรบดินทร์ (บุญมี) เจ้าเมืองกำแพงเพชรเป็นแม่ทัพ พระยาเทพวรชุน พระยารัตนาพิมล พระยานครไชยศรี พระยาทุกขราษฏร์เมืองพิษณุโลก เป็นกองทัพหน้า ยกไปติดตามตีทัพพม่าที่เมืองตาก
* พระยาธิเบศร์บดี คุม[[กองอาสาจาม]]ยกติดตามพม่าไปทางเมืองสุโขทัย
 
เดือหกแรมสิบเอ็ดค่ำ มีข่าวว่าทัพพม่ายกขึ้นไปทางเมืองเพชรบูรณ์ ซึ่งคือทัพของแมงแยยางู<ref name=":3" /> จึงมีพระราชโองการให้;<ref name=":1" />
 
* พระยาพลเทพ พระยาราชภักดี หลวงเนาวโชติ์ จมื่นเสมอใจราช ยกทัพไปทางเมืองเพชรบูรณ์ ถ้ามีกำลังพอสู้รบพม่าได้ให้สู้ต้านทาน ถ้าสู้ไม่ได้ให้อพยพราษฏรและเสบียงลงมากรุงธนบุรี
* เจ้าพระยานครสวรรค์ และ[[เจ้าพระยาพิชัยราชา|เจ้าพระยาสวรรคโลก]] ยกทัพไปติดตามพม่าทางกำแพงเพชรอีกทัพหนึ่ง
 
สมเด็จพระเจ้าตากสิน ประทับอยู่ที่ค่ายบางข้าวตอก คอยรับราษฏรจากพิษณุโลกที่หลบหนีพม่ามาหลังจากการเสียเมือง อยู่เป็นเวลาสิบเอ็ดวัน<ref name=":1" /> แล้วมีพระราชโองการให้พระยายมราช (หมัด) อยู่รักษาค่ายหลวงบางข้าวตอก เดือนหกแรมสิบสี่ค่ำ สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จทัพหลวงนาวาทางชลมารค มาประทับที่เมืองนครสวรรค์ หลวงวังเมืองนครสวรรค์กราบทูลว่า เห็นทัพพม่าตั้งอยู่ที่บ้านโคนเมืองกำแพงเพชร จำนวนประมาณ 2,000 คนเศษ<ref name=":1" /> จึงมีพระราชโองการ ให้พระยายมราช ยกทัพเลียบ[[แม่น้ำปิง]]ไปทางฝั่งตะวันตก ให้กองพระยาราชสุภาวดียกไปทางตะวันออก ไปสมทบกับทัพของเจ้าพระยานครสวรรค์และเจ้าพระยาสวรรคโลก ยกขึ้นไปบรรจบกันที่วังพระธาตุ เข้าตีพม่าพร้อมกันที่บ้านโคน
 
ฝ่ายทัพพม่าของกละโบ่ที่กำแพงเพชร<ref name=":3" /> กำลัง 2,000 คน แยกกองเป็นสองกอง กองละ 1,000 คน กองหนึ่งกลับไปทางทิศตะวันตก กองหนึ่งยกลงมาทางทิศใต้ เมื่อพระยาสุรบดินทร์ยกทัพไปถึงกำแพงเพชร พบว่าทัพพม่ายกเลิกกลับไปทางตะวันตกหมดสิ้นแล้ว แต่หลวงวังเมืองนครสวรรค์ พบทัพพม่ายกมา 1,000 คน ลงมาที่บ้านสามเรือน สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงมีพระราชโองการให้เจ้าพระยานครสวรรค์เลิกทัพจากกำแพงเพชรกลับมา ทัพพม่า 1,000 คนนั้น ยกเข้าโจมตีเผาค่ายเมืองอุทัยธานี จึงมีพระราชโองการให้หม่อมอนุรุทธเทวาและหลวงเสนาภักดิ์ยกกองแก้วจินดาติดตามไป ติดตามตีทัพพม่าไปจนถึงด่านไทรโยค ในเดือนเจ็ดขึ้นสิบสี่ค่ำ สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จยาตรานาวาทัพหลวงทางชลมารคกลับพระนครธนบุรี
 
ฝ่ายพระยายมราชและพระยาราชสุภาวดีที่บ้านโคน เห็นว่าทัพพม่ายกไปทางใต้ไปทางอุทัยธานี จึงยกติดตามมาผ่านด่านเขาปูนไปทางกาญจนบุรีพบกับทัพพม่าที่ด่านสลักพระ ได้สู้รบกันใน'''การรบที่ด่านสลักพระ''' ทัพพม่าบางส่วนแยกไปที่นครสวรรค์ มีพระราชโองการให้ข้าหลวงไปหาพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนอนุรักษ์สงคราม ตามให้เสด็จยกทัพกลับมาจากเพชรบุรี และมีพระราชโองการให้พระเจ้าลูกเธอ กรมขุนอินทรพิทักษ์ ยกทัพจำนวน 1,000 คน ไปหนุนช่วยที่อุทัยธานี อีกสองวันต่อมา<ref name=":1" /> ทรงให้กรมขุนอินทรพิทักษ์กลับมารักษาเมืองธนบุรี แล้วเสด็จพยุหยาตรานาวาทัพหลวงจากธนบุรีทางชลมารค ในเดือนเจ็ดแรมสี่ค่ำ ขึ้นไปประทับที่พลับพลาค่ายเมืองชัยนาทฝั่งตะวันออก ฝ่ายพระยายมราชและพระยาราชสุภาวดีที่สลักพระ ขัดสนเสบียงอาหารจึงล่าถอยทัพมาอยู่ที่ดอนไก่เถื่อน
 
หม่อมอนุรุทธเทวาและหลวงเสนาภักดิ์ ยกไปทางอุทัยธานี พบกับทัพพม่าที่[[อำเภอเดิมบางนางบวช|เดิมบางนางบวช]] ได้สู้กับพม่าใน'''การรบที่เดิมบางนางบวช''' ทัพพม่าพ่ายแพ้แตกหนีไปทางแขวงเมืองสุพรรณบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินดำรัสว่า ทัพพม่าที่เหลือกำลังจะยกทัพถอยออกไปทางด่านเจดีย์สามองค์
 
* ให้พระยารามัญวงศ์ (มะโดด) ยกไปช่วยพระยายมราชและพระยาราชสุภาวดี ยกลงไปทางเมืองสุพรรณบุรี เมืองนครไชยศรี เมืองราชบุรี ติดตามทัพพม่า ถ้าพบทัพพม่าให้เข้าโจมตี ถ้าพบราษฏรซึ่งลี้ภัยอยู่ในป่าให้นำมาเข้ากรุงธนบุรี
* ให้กรมขุนอนุรักษ์สงคราม กรมขุนรามภูเบศร์ และเจ้าพระยามหาเสนา ยกไปโจมตีทัพพม่าที่นครสวรรค์
 
=== การรบที่นครสวรรค์ ===
สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จยกทัพหลวงทางชลมารคกลับธนบุรีในเดือนแปดขึ้นสามค่ำ กรมขุนอนุรักษ์สงคราม กรมขุนรามภูเบศร์ และเจ้าพระยามหาเสนา ยกทัพเข้ารบกับพม่าที่นครสวรรค์ สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงเสด็จยกทัพหลวงขึ้นไปที่ชัยนาทอีกครั้ง ในเดือนเก้าขึ้นสิบสองค่ำ พร้อมทั้งทหารสิบเอ็ดกองจากธนบุรี ปรากฏว่าพระเจ้าหลานเธอทั้งสองพระองค์ได้ตีทัพพม่าที่นครสวรรค์ พม่าพ่ายแพ้แตกหนีไปทางกำแพงเพชรแล้ว จึงทรงให้เจ้าพระยาอินทรอภัยรักษาเมืองนครสวรรค์ แล้วเสด็จยกทัพติดตามพม่าไปทางกำแพงเพชร ไปจนถึงแขวงเมืองตาก แม่ทัพนายกองทั้งหลายจับได้พม่าซึ่งแตกไปอยู่ในป่าดงนั้น จำนวน 330 คนเศษ มีพระราชโองการให้ติดตามทัพพม่าไปจนสุดเขตแดนด่านเมืองตาก ทอดพระเนตรเห็นต้นข้าวพม่าทำนาไว้ มีพระราชโองการให้ถอนเสีย<ref name=":1" />
 
=== การรบที่บ้านนายม ===
เดือนสิบขึ้นหนึ่งค่ำ พระยาราชภักดี และพระยาพลเทพ ซึ่งยกติดตามพม่าไปทางเพชรบูรณ์นั้น ได้พบกับพม่าที่บ้านนายม (ตำบลนายม) และได้สู้รบกัน พม่าพ่ายแพ้แตกพ่ายหนีไปทางเหนือไปทางล้านช้างหลวงพระบาง
 
=== เชลยศึกพม่า ===
แม่ทัพนายกองทั้งข้าราชการทั้งหลายซึ่งได้ยกทัพติตามพม่าซึ่งถอยไปนั้น จับเชลยชาวพม่ากลับส่งลงมาถวายต่างๆดังนี้<ref name=":1" />
 
* เจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์ และพระยาธิเบศร์บดี ซึ่งยกติดตามพม่าไปทางสุโขทัยนั้น ได้เชลยพม่า 18 คน กับศัสตราวุธจำนวนมาก
* พระยายมราช พระยาราชสุภาวดี พระยารามัญวงศ์ ยกติดตามพม่าไปทางสุพรรณบุรีจนถึงด่าน ได้เชลยพม่า 17 คน
* เจ้าพระยานครสวรรค์ พระยาพิชัย ยกติดตามพม่าไปทางเมืองตาก ได้เชลยพม่า 49 คน
* กรมขุนอนุรักษ์สงคราม และเจ้าพระยามหาเสนา ยกติดตามพม่าไปทางกำแพงเพชร ได้เชลพม่า 11 คน
 
เมื่อทัพพม่าถอยทัพออกจากสยามไปจนหมดสิ้น ไม่ยกลงมาติดพันถึงกรุงธนบุรีแล้ว ในเดือนสิบขึ้นสิบเบ็ดค่ำ จึงทรงมีตราให้กองทัพทั้งปวงเลิกกลับมายังพระนครธนบุรี สิ้นสุดสงครามยาวนานสิบเดือน
ฝ่ายพม่า ผู้นำสารไปแจ้งข่าวแก่แม่ทัพพม่าให้ถอยคืนกลับไปเมืองอังวะ ตามจอกะสูได้ที่เมืองอ่างทอง<ref name=":2" /> ตามกละโบ่หรือปะกันโบได้ที่จุดซึ่งแม่น้ำสองสายบรรจบกัน<ref name=":2" /> (นครสวรรค์?) แต่ผู้ส่งสารไม่สามารถตามตัวปันญีเยข่องจอได้ เนื่องจากปันญีเยข่องจอได้ยกทัพเลยขึ้นไปทางเพชรบูรณ์ ไปทางล้านช้างหลวงพระบางต่อไปเมืองเชียงแสนกลับไปพม่า เป็นเหตุให้ผู้นำสารถูกประหารชีวิต<ref name=":2" />
 
==ตำนานอะแซหวุ่นกี้ชมเจ้าพระยาจักรี==