ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามอะแซหวุ่นกี้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 90:
* [[เจ้าพระยานครสวรรค์]] ตั้งค่ายที่วัดจันทร์ โอบค่ายพม่าขึ้นไปจนถึงเมืองพิษณุโลก
 
ทุกค่ายชักปีกกาถึงกัน ตระเวณตระเวนถึงกันหมด ให้พระศรีไกรลาศ คุมไพร่ทำทางหลวง จากปากพิงไปจนถึงเมืองพิษณุโลก ในขณะที่ฝ่ายพม่าตั้งค่ายอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน ในคืนวันนั้น พม่าจากฝั่งตะวันตกยกข้ามแม่น้ำน่านเข้าโจมตีค่ายของพระราชภักดีที่บ้านกระดาษ แล้วยกเลยไปตีค่ายเจ้าพระยาอินทรอภัยที่บ้านท่าโรง ไปจนถึงค่ายของพระยาราชสุภาวดีที่บ้านบางทราย แล้วเลิกถอยกลับไป จึงมีพระราชโองการให้พระยาวิจิตรนาวี หลวงดำเกิงรณภพ คุมปืนใหญ่รางเกวียน 34 กระบอก ลากขึ้นไปค่ายบางทรายไว้เตรียมรับทัพพม่า ฝ่ายพม่ายกมาประชิดค่ายของจมื่นเสมอใจราชที่วัดจุฬามณีอีก สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงมีพระราชโองการให้พระยาธรรมไตรโลก พระยารัตนาพิมล และพระชลบุรี คอยคุมรักษาค่ายหลวงอยู่ที่ปากพิง แล้วเสด็จยกทัพหลวงขึ้นไปตั้งที่บางทรายฝั่งตะวันออก พม่ายกเข้าตีค่ายบ้านท่าโรงของเจ้าพระยาอินทรอภัยอีกครั้ง ทรงให้หลวงดำเกิงรณภพยกกองเกณฑ์หัด 200 คน ลงเรือไปช่วงเจ้าพระยาอินทรอภัย ต้านพม่าถอยกลับไป วันรุ่งขึ้นเสด็จเรือพระที่นั่งทอดพระเนตรค่ายพระโหราธิบดีที่ฝั่งตะวันตก เห็นพระโหราธิบดีตั้งค่ายริมแม่น้ำเอาต้นไม้ใหญ่ไว้นอกค่าย ข้าศึกอาจปีนต้นไม้ยิงปืนเข้ามาในค่ายได้ มีพระราชโองการให้พระโหราธิบดีตั้งค่ายใหม่โอบล้อมต้นไม้ไว้<ref name=":1" /> พระยารามัญวงศ์ (มะโดด) นำกองมอญเข้าโจมตีพม่าทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของพิษณุโลก สามารถตั้งค่ายได้
 
เจ้าพระยานครสวรรค์ ตั้งค่ายที่วัดจันทร์โอบชิดพม่าที่ล้อมเมืองพิษณุโลก พยายามที่จะเจาะทลายแนวทัพพม่าออกจากพิษณุโลกให้ได้ เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกทัพออกจากเมืองพิษณุโลก มาตั้งค่ายประชิดพม่าที่นอกเมืองฝั่งตะวันออก ฝ่ายพม่ายกเข้ายึดค่ายได้ เจ้าพระยาสุรสีห์ชิงค่ายคืนได้อีก ทั้งฝ่ายพม่าและไทยขุดอุโมงค์เข้ารบกันในอุโมงค์ล้มตายจำนวนมาก สมเด็จพระเจ้าตากสินพระราชทานปืนใหญ่รางเกวียน 20 กระบอก ให้ลากขึ้นไปประชิดพม่าที่พิษณุโลก เจ้าพระยานครสวรรค์ จับเชลยพม่าสองคนให้การว่า ทัพพม่าขัดสนกำลังเสบียงอาจต้องถอยกลับ สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จค่ายวัดจันทร์ มีพระราชโองการให้กองพระยายมราช (หมัด) พระยานครราชสีมา (ขุนชนะ) และพระยาพิไชยสงคราม เข้าช่วยเจ้าพระยานครสวรรค์ เดือนสามแรมสองค่ำเวลากลางคืน ฝ่ายไทยที่วัดจันทร์ยิงปืนใหญ่เข้าโจมตีทลายค่ายพม่า เพื่อที่จะเจาะเข้าหาช่วยเมืองพิษณุโลกให้ได้ แต่สู้รบกันจนรุ่งเช้าไม่สำเร็จ ไม่สามารถหักเอาค่ายพม่าได้จึงถอยออกมา<ref name=":1" />
บรรทัด 101:
เดือนสามแรมหกค่ำ พระยาสุโขทัยซึ่งซุ่มคอยสังเกตการณ์ทัพพม่าที่กงธานี เห็นพม่าที่กงธานียกทัพออกไป ข้ามแม่น้ำไปฝั่งตะวันตกส่วนหนึ่ง และยกมาที่พิษณุโลกส่วนหนึ่ง พระยาสุโขทัยนำความมากราบทูลฯ สมเด็จพระเจ้าตากสินเมื่อทรงทราบความ ก็ทรงตระหนักได้ว่าฝ่ายพม่ากำลังจะตีวกหลังตัดเสบียง จึงมีพระราชโองการให้พระยาราชภักดี และพระยาพิพัฒโกษา ยกทัพลงไปช่วยพระยาราชาเศรษฐีจีน (ตั้งเลี้ยง) ป้องกันเมืองนครสวรรค์ ให้กองของ[[เจ้าพระยาศรีธรรมาธิราช (บุญรอด บุณยรัตพันธุ์)|พระยาธรรมา (บุญรอด)]] ยกหนุนไปช่วยเจ้าพระยามหามณเฑียรและเจ้าพระยานครสวรรค์ ซึ่งไปตั้งค่ายโอบหลังพม่าอยู๋ที่วัดจันทร์ฝั่งตะวันตก และให้หลวงภักดีสงคราม พระยาเจ่ง และกรมการเมืองชัยนาท คุมพลไทยมอญจำนวน 500 คนเศษ ไปตั้งอยู่ร้านดอกไม้เมืองกำแพงเพชร คอยสังเกตการณ์ว่าทัพพม่าที่ยกมาจากกงธานีจะยกมาถึงกำแพงเพชรหรือไม่<ref name=":1" />
 
ฝ่ายเมืองพิษณุโลก เจ้าพระยามหามณเฑียรและเจ้าพระยานครสวรรค์เข้าตีโอบหลังพม่าที่วัดจันทร์ฝั่งตะวันตก เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพออกมาตั้งค่อยนอกเมืองพิษณุโลกทางทิศตะวันตกประชิดฝ่ายพม่าอีกด้านหนึ่งประสานกัน เดือนสามแรมหกค่ำ เจ้าพระยาสุรสีห์ให้ทำคบเพลิงผ้าชุบน้ำมัน ใส่ลงในกระบอกปืนใหญ่ ยิงเข้าเผาทำลายค่ายพม่า สามารถทำลายหอรบลงได้สองหอ แต่ในเมืองพิษณุโลกเริ่มขาดแคลนเสบียง เจ้าพระยาสุรสีห์จึงขอพระราชทานเสบียงจากทัพหลวง สมเด็จพระเจ้าตากสินพระราชทานเสบียงให้กองกำลังคุมลำเลียงขึ้นไป แต่ถูกฝ่ายพม่าตีตัดกลางทางไปไม่ถึง สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงให้พระยานครราชสีมาคุ้มครองเสบียงขึ้นไป แล้วให้เจ้าพระยาสุรสีห์นำกำลังลงมารับเสบียง แต่กละโบ่แม่ทัพพม่ายกมาสะกัดตีเสียก่อน เจ้าพระยาสุรสีห์และพระยานครราชสีมาไม่สามารถส่งเสบียงถึงกันได้ เสบียงอาหารในเมืองพิษณุโลกลดน้อยลงทุกวัน ไม่เพียงพอแจกจ่ายแก่กำลังพล ฝ่ายพม่าก็ขัดสนเสบียงอาหารเช่นกัน แต่ฝ่ายพม่าอยู่ในที่แจ้ง สามารถค้นหาอาหารขุดรากมันประทังไปได้ ไม่ขัดสนเหมือนในเมืองพิษณุโลก
===พม่าบุกทางใต้ยึดเมืองกุย เมืองปราณ (บุกเป็นทัพที่ 3)===
ในขณะที่ทัพหลวงของ[[พระเจ้ากรุงธนบุรี]] และเจ้าพระยาทั้ง2นั้นทุ่มกำลังขึ้นไปรับศึกอยู่แถวเมืองพิษณุโลก [[พระเจ้ามังระ]]ก็ได้ส่งกองทัพที่3 บุกเข้ามาทางด่านสิงขรในขณะที่การป้องกันทางใต้อ่อนแอที่สุด เนื่องจากติดศึกทางด้านเหนือสามารถตีเมืองกุย เมืองปราณจนแตก กรมขุนอนุรักษ์สงครามซึ่งรักษาเมืองเพชรบุรีอยู่ในขณะนั้น แต่งกองทหารมาตั้งรับอยู่แถบช่องแคบในแขวงเมืองเพชรบุรี ขัดตาทัพรอกำลังเสริม
 
หลวงภักดีสงครามและพระยาเจ่ง ซึ่งยกทัพไปทางกำแพงเพชรนั้น พบกับทัพพม่าที่กำแพงเพชร โจมตีทัพพม่าโดยไม่ทันรู้ตัวในการรบกำแพงเพชร ทัพไทยมอญเก็ยศาสตราวุธพม่ามาถวายฯ ฝ่ายพม่าแม้พ่ายแพ่แต่ยังสามารถยกทัพเข้าโจมตีเผาเมืองอุทัยธานีได้สำเร็จ พม่าตั้งค่านที่กำแพงแพชร ที่บ้านโนนศาลาสองค่าย ที่[[ตำบลสลกบาตร|บ้านสลกบาตร]]หนึ่งค่าย ที่บ้านหลวงหนึ่งค่าย เดือนสามแรมสิบสี่ค่ำ ขุนยกกระบัตรเมืองชัยนาท สืบราชการทัพพม่ามากราบทูลว่า ทัพพม่าเผาเมืองอุทัยธานีเสียแล้วและตั้งค่ายอยู่ที่กำแพงเพชร สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงมีพระราชโองการ ให้หม่อมเชษฐกุมารเป็นกองหลวง ให้หม่อมอนิรุทธเทวาเป็นจางวาง ให้ขุนอินทรเดชเป็นแม่กอง ให้หลวงปลัดเมืองอุทัยธานีและ[[เจ้าพระยาพระคลัง (หน)|หลวงสรวิชิต (หน)]] เป็นกองหน้า ยกกำลัง 1,000 คนไปคอยป้องกันปืนใหญ่ที่ลำเลียงมาจากกรุงธนบุรีอย่าให้เป็นอันตราย และคอยป้องกันเมืองนครสวรรค์ และทรงให้พระยานครไชยศรีตั้งที่[[อำเภอโพธิ์ประทับช้าง|โพธิ์ทับช้าง]] และพระโหราธิบดีตั้งที่โคกสลุด คอยป้องกันตามเส้นทางลำเลียง
เมื่อม้าเร็วแจ้งข่าวนี้ไปถึง[[พระเจ้ากรุงธนบุรี]] พระองค์ทรงไม่ไว้พระทัยเกรงพม่าจะยกทัพใหญ่เพื่อเข้าตีกรุงธนบุรีอีกทางหนึ่ง จึงดำรัสสั่งให้เจ้าประทุมไพจิตรคุมกองทัพหน่วยหนึ่งเร่งกลับลงมารักษาพระนคร และกองทัพหลวงจึงค่อยๆถอยลงมาทางบางข้าวตอก นั้นเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เส้นทางเสบียงของเมืองพิษณุโลกถูกตัดขาด <ref> เทปสนทนา เรื่อง วาระสุดท้ายของ [[อาณาจักรอยุธยา]]และราชวงศ์อลองพญา โดย ดร.[[สุเนตร ชุตินธรานนท์]] [[วีระ ธีรภัทร]] ([[เมษายน]] [[พ.ศ. 2544]]) ช่วงที่ 3{{อ้างอิงดีกว่า}}</ref>
 
=== พม่าตีเมืองกุยบุรีและปราณบุรี ===
ฝ่ายพม่าจากเมือง[[มะริด]]ยกทัพเข้ามาทางด่านสิงขร เข้าโจมตีเมือง[[อำเภอกุยบุรี|กุยบุรี]]และ[[อำเภอปราณบุรี|ปราณบุรี]] ฝ่ายกรมการเมืองต้านทานทัพพม่าไม่ได้ จึงถอยมาตั้งที่เมือง[[อำเภอชะอำ|ชะอำ]] กรมขุนอนุรักษ์สงครามแต่งกองกำลังไปขัดตามทัพอยู่ที่ด่านช่องแคบเมืองเพชรบุรี เดือนสามแรมสิบสามค่ำ ขุนพัศดีถือหนังสือขึ้นมาบอกความกราบทูล เรื่องพม่ายกมาตีเมืองกุยบุรีและปราณบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงมีพระราชโองการให้พระเจ้าหลานเธอ เจ้าประทุมไพจิตร ยกกำลังลงมารักษากรุงธนบุรีคอยระวังศึกทางด้านทิศใต้
 
=== พม่าตีค่ายปากพิงและคลองกระพวง ===
เดือนสามแรมสิบห้าค่ำ สมเด็จพระเจ้าตากสินมีพระราชโองการให้เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ มาเข้าเฝ้าที่บ้านท่าโรง เจ้าพระยาจักรีป่วยลงมาไม่ได้<ref name=":1" /> เจ้าพระยาสุรสีห์ลงมาเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระเจ้าตากสินมีพระราชดำรัสปรึกษาด้วยเจ้าพระยาสุรสีห์ ว่าจะทรงผ่อนถอยทัพหลวงลงไปตั้งที่นครสวรรค์ เพื่อป้องกันเสบียงไว้ และราชการป้องกันพม่าที่เมืองพิษณุโลกนั้น ขอให้เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ จงรับรองรักษาป้องกันไว้<ref name=":1" /> เจ้าพระยาสุรสีห์ถวายบังคมกลับเมืองพิษณุโลก
 
ฝ่ายพม่ายกออกมารบกับเจ้าพระยานครสวรรค์ที่บ้านบางส้มป่อย เจ้าพระยานครสวรรค์เอาชนะทัพพม่าถอยกลับไป เดือนสี่ขึ้นสามค่ำ สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาท<ref name=":1" /> จากค่ายบ้านท่าโรงจนถึงค่ายเจ้าพระยานครสวรรค์ ประทับเก้าอี้อยู่บนหาดทราย เจ้าพระยานครสวรรค์และพระยาธรรมา ว่ายน้ำ<ref name=":1" />ข้ามแม่น้ำน่านจากฝั่งตะวันตกมาเข้าเฝ้า กราบทูลว่าพม่าตั้งค่ายประชิดเข้าโจมตีหนัก สมเด็จพระเจ้าตากสินรับสั่งว่าอย่ากลัวพม่า<ref name=":1" /> ใครย่อท้อต่อสงครามให้ประหารชีวิตเสีย แล้วเสด็จกลับบ้านท่าโรง เจ้าพระยาจักรีหายป่วย<ref name=":1" />แล้วจึงมาเข้าเฝ้าที่บ้านท่าโรง ในเวลานั้น อะแซหวุ่นกี้ยกทัพพม่าเข้าโจมตีค่ายหลวงที่ปากพิง<ref name=":2" /> พระยารัตนาพิมลผู้รักษาค่ายปากพิงบอกมากราบทูล เจ้าพระยาจักรีจึงมอบหมายให้พระยาเทพวรชุนรักษาค่ายบ้านท่าโรง แล้วเจ้าพระยาจักรีกลับไปพิษณุโลก
 
สมเด็จพระเจ้าตากสินเสด็จกลับค่ายปากพิง พม่าขุดสนามเพลาะเข้าตีค่ายพระยาธรรมไตรโลกและพระยารัตนาพิมลที่คลองกระพวง (คลองกรับพวง) ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน นำไปสู่'''การรบที่คลองกระพวง''' พระยาสุโขทัยยกเข้าตีขนาบหลังค่ายพม่าที่คลองกระพวง หลวงเสนาภักดิตีวกหลังพม่าเข้าไป พม่าขุดสนามเพลาะล้อมไว้สามด้าน แต่กองอาจารย์ถอยเสียไม่ช่วย<ref name=":1" /> จนพระยาสุโขทัยต้องตีเข้าไปช่วยหลวงเสนาภักดิออกมา สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงลงพระราชอาญาประหารชีวิตอาจารย์ทองและนายดี และทรงคาดโทษพระสุธรรมาจารย์ และพระวิสารสุธรรมเจ้ากรมกองอาจารย์ ให้ทำราชการแก้ตัว และมีพระราชโองการให้พระยายมราช (หมัด) ที่ค่ายวัดจันทร์ ย้ายมารับมือพม่าที่คลองกระพวงเสริมขึ้นไป
 
==พม่าสามารถยึดเมืองพิษณุโลกได้==