ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Zes996 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 92:
พจน์ พหลโยธิน เกิดที่จังหวัดพระนคร (ปัจจุบันคือ[[กรุงเทพมหานคร]]) เป็นบุตร[[พระยาพหลพลพยุหเสนา (กิ่ม พหลโยธิน)]] ชาว[[ไทยเชื้อสายจีน]]แต้จิ๋ว <ref>{{Cite web |url=http://www.minister.moi.go.th/mt08.htm |title=ประวัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย |access-date=2008-01-29 |archive-date=2008-06-14 |archive-url=https://web.archive.org/web/20080614231136/http://www.minister.moi.go.th/mt08.htm |url-status=dead }}</ref> มหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มารดาเป็น[[ชาวไทยเชื้อสายมอญ]] ชื่อว่านางจับ ซึ่งเป็นภรรยาคนที่ห้าของนายกิ่ม ภายหลังบิดาถึงแก่อนิจกรรม ท่านก็อยู่ภายใต้การอุปการะของพี่ชายต่างมารดาที่ชื่อนพ (ต่อมาได้บรรดาศักดิ์เป็นพระยาพหลโยธินรามนิทราภักดี)
 
เมื่ออายุราวแปดขวบ บิดาพาไปฝากเรียนกับขุนอนุกิจวัตร ครูใหญ่โรงเรียน[[วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร]] และย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสุขุมาลลัย (ปัจจุบันคือโรงเรียนวัดพิชัยญาติ) ต่อมาในพ.ศ. 2444 พี่ชายที่เป็นทหารได้ฝากเข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก<ref name ="Nret">นเรศ นโรปกรณ์, ''100 ปี พระยาพหลฯกรุงเทพฯ'': โอเดียนสโตร์, 2531), 17.</ref><ref name="silpa">[https://www.silpa-mag.com/history/article_43421 “เชษฐบุรุษ” พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พ.ศ. 2430-90] ''ศิลปวัฒนธรรม''. 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563</ref> พจน์สอบได้อับดับหนึ่งในชั้นห้า จึงได้รับเลือกศึกษาวิชาทหารที่[[จักรวรรดิเยอรมัน]]ในปี พ.ศ. 2447 พจน์เข้าเรียนที่โรงเรียนเตรียมนายร้อยในเมือง[[พ็อทซ์ดัม]]เป็นเวลาหนึ่งปี และเข้าเรียนที่โรงเรียนนายร้อยปรัสเซียในกรุงเบอร์ลินอีกสองปี<ref>[https://www.silpa-mag.com/history/article_17716 ย้อนราก “3 ทหารเสือ” คณะราษฎร ผลผลิตจากโรงเรียนนายร้อยเยอรมนี] ''ศิลปะวัฒนธรรม''. 25 มีนาคม พ.ศ. 2563</ref> ซึ่งที่นี่ พจน์และนักเรียนไทยหลายคนได้เป็นเพื่อนร่วมชั้นกับ[[แฮร์มัน เกอริง]] กับ[[ฮิเดกิ โทโจ]]<ref name="Stowe">Judith A. Stowe: ''Siam Becomes Thailand. A Story of Intrigue.'' C. Hurst & Co., London 1991, ISBN 0-82481-393-6, S. 370.</ref>
 
==ราชการทหาร==
เมื่อจบการศึกษาใน พ.ศ. 2453 พจน์เข้ารับราชการทหารนายสิบในกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 ของ[[กองทัพปรัสเซีย|กองทัพ]]เยอรมัน
 
ระหว่างนี้ได้รับยศร้อยตรีของสยามในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2454 และต่อมาในปีพ.ศ. 2455 พจน์เดินทางจากเยอรมนีไปศึกษาวิชาช่างแสงทหาร ณ วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก แต่กลับถูกเรียกตัวกลับก่อนเรียนจบ เนื่องจากนักเรียนทหารในเดนมาร์กเรียกร้องขึ้นเบี้ยหวัดจากกระทรวงกลาโหมสยาม [[สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ|กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ]]ทรงกริ้วและเรียกตัวนักเรียนทั้งหมดกลับ<ref name="Nret" />
บรรทัด 142:
 
== อนุสรณ์ ==
ภายหลังการอสัญกรรม ได้มีการเปลี่ยนชื่อถนนตามนามสกุลของท่าน คือ [[ถนนพหลโยธิน]] และมีการสร้าง[[โรงพยาบาล]]และใช้ชื่อเป็นการระลึกถึงท่าน คือ [[โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา]] ที่[[จังหวัดกาญจนบุรี]]ซึ่ง[[จังหวัดกาญจนบุรี]]ได้รับการการท่านถือจากท่านว่าจังหวัดกาญจนบุรีเป็นภูมิลำเนาแห่งหนึ่งของท่าน นอกจากนี้ยังมี[[สะพานพหลพลพยุหเสนา]] ใน[[เทศบาลเมืองกาญจนบุรี]]และปัจจุบัน มีการสร้างพิพิธภัณฑ์พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา อยู่ภายใน[[ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ค่ายพหลโยธิน]] หมู่ที่ 7 ตำบลเขาพระงาม [[อำเภอเมืองลพบุรี|อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี]] ซึ่งเคยเป็นที่พำนักของท่านมาก่อนในขณะเป็นผู้บังคับบัญชา ภายในรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ [[ประติมากรรม|รูปปั้น]] ชุดเครื่องแบบ ตลอดจนรูปถ่าย จดหมายลายมือของท่าน และบัตรประจำตัว เพื่อเป็นแหล่งศึกษาชีวประวัติและเชิดชูเกียรติของท่าน ซึ่งถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัด<ref>[http://library.tru.ac.th/il/lptupp04.html พิพิธภัณฑ์พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา]</ref>
 
== ครอบครัว ==