ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เวิ้งนาครเขษม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 6:
 
นอกจากนี้ใน นิบาตชาดก เล่ม17 สัฏฐินิบาต แลสัตตินิบาต พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ
คุณหญิงเลื่อนฤทธิ์ ต.จ. เมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2471 โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงได้เล่าถึงมีใจความว่า “เรื่องประวัติของคุณหญิงเลื่อนฤทธิ์ ตอนเมื่อตั้งตัวได้แล้วไปคิดการประมาณพลาดเสียคราวหนึ่ง ด้วยเมื่อเจ้าพระยามหินทรศักดิธำรง ยังมีชีวิตอยู่ท่านคิดตั้งโรงละคอน เก็บเงินคนดูอย่างเช่นเล่นกันในยุโรป มีคนชอบดูกันมาก ครั้นละคอนโรงปรินสทิเอเตอนั้นเลิกเมื่อเจ้าพระยามหินทร ถึงอสัญกรรม คุณหญิงเลื่อนฤทธิ์ สำคัญว่าการเล่นละคอน เช่นนั้นจะหากำไรเลี้ยงตัวได้ ก็คิดฝึกหัดละคอนขึ้นโรงหนึ่ง เรียกชื่อว่า “ละคอนผสมสามัคคี” แต่การนั้นกลับเป็นทางขาดทุน แลเป็นเหตุให้ได้รับความเดือดร้อนต่างๆแม้จนถูกหมิ่นประมาทถึงต้องร้องฟ้องในโรงศาลเพื่อรักษาชื่อเสียงและยังมีความรำคาญด้วยประการอย่างอื่นเกือบเนืองนิจ จนสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงออกพระโอษฐ์ว่า น่าต่อสร้อยชื่อว่า “ท่านเลื่อนฤทธิ์นานาเนกนิตยอินสิเดนต์” ดังนั้นเพราะเกิดเหตุเดือดร้อนทีไรคุณหญิงเลื่อนฤทธิ์ ก็เป็นเข้าไปเฝ้ากราบทูลให้ทรงทราบความทุกข์ร้อนตามเคยมา ด้วยรู้ว่าทรงพระกรุณาไม่ถือโทษ แต่ครั้งนั้นเปนบุญที่ยังไม่ทันซุดโซมเสียหายมากมาย พอพระยาเทพหัสดิน บุตรคนใหญ่ซึ่งออกไปยุโรปสำเร็จการศึกษากลับมาถึง คุณหญิงเลื่อนฤทธิ์ ก็มอบกิจธุระให้บุตรคิดจัดการแก้ไข แลได้อาศัยพระบรมราชานุเคราะห์ของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ส่งรับซื้อที่บ้านเก่าอันอยู่ริมวัดจักรวรรดิราชาวาสให้เป็นทุน จึงผลความลำบากแล้วไปตั้งบ้านเรือนอยู่ใหม่ที่ริมคลองสามเสนต่อกลับถนนพิชัย ได้อยู่ที่นั่นต่อมาโดยความผาสุกจนตลอดอายุ” เป็นอันว่าที่ดินส่วนที่เหลือที่จะมอบให้พระยาเทพฯ ได้พระมหากรุณาธิคุณรับซื้อไว้
 
ซึ่งต่อมา[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดให้ขุดสระขนาดใหญ่ และทำเป็นสวนสำหรับเป็นที่เล่นสนานของคนทั่วไป เรียกว่า '''วังน้ำทิพย์''' (ภาษาจีนแต้จิ๋วว่า จุ้ยเจียเก็ง) ใกล้บริเวณนั้นเป็นที่อยู่ของชุมชน[[ชาวจีนแต้จิ๋ว]] ต่อมาจึงได้พระราชทานที่ดินผืนดังกล่าวแก่[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต]] ทรงเห็นว่าบริเวณนี้มีชุมชนเกิดขึ้นแล้วจึงได้ถมจนกลายเป็นที่โล่งกว้างใหญ่ ตั้งชื่อว่า เวิ้งนาครเขษม มีความหมายถึง เวิ้งอันเป็นที่รื่นรมย์ของชาวเมือง ต่อมาชื่อเรียกเพี้ยนเป็น เวิ้งนครเกษม<ref>[http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakV5TURNMU5nPT0= เวิ้งนาครเขษม] รู้ไปโม้ด </ref>