ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานีกรุงเทพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Paweeraphat Thasee (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มข้อมูลจำเพาะที่หน้าวิกิพีเดียสถานีรถไฟที่ควรมี* เพิ่มข้อมูลในกล่องข้อมูลต่างๆ
ยุทธนาสาระขันธ์ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 79:
สถานีนี้เริ่มสร้างในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี [[พ.ศ. 2453]] สร้างเสร็จและเริ่มใช้งาน วันที่ [[25 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2459]] ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 สถานีรถไฟกรุงเทพ เดิมเป็นสถานีที่ให้บริการทั้งด้านการขนส่งสินค้า และขนส่งมวลชน ต่อมาการขยายตัวในด้านการโดยสารและขนส่งสินค้ามีมากขึ้น แต่ด้วยพื้นที่อันจำกัดเพียง 120 ไร่ จึงทำให้ต้องย้ายกิจการขนส่งสินค้าไปอยู่ที่ย่านสินค้าพหลโยธิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 และทำการปรับปรุงสถานีรถไฟกรุงเทพให้เป็นสถานีรถไฟสำหรับบริการด้านขนส่ง มวลชนเพียงอย่างเดียว เพื่อสามารถรองรับผู้โดยสารจากทั่วทุกสารทิศของประเทศ
 
ตัวสถานีแบ่งเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ อาคารมุขหน้า มีลักษณะเหมือนระเบียงยาว และอาคารโถงสถานีเป็นอาคารหลังคาโค้งขนาดใหญ่ ซึ่งเป็น[[สถาปัตยกรรมแบบคลาสสิก]] คือ เป็นงานเลียนแบบสถาปัตยกรรมโบราณของกรีก - โรมัน จุดเด่นของสถานีหัวลำโพงกรุงเทพอีกอย่างหนึ่งคือ กระจกสีที่ช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังซึ่งประดับไว้อย่างผสมผสานกลมกลืนกับตัวอาคาร เช่นเดียวกับนาฬิกาบอกเวลาซึ่งติดตั้งไว้กลางส่วนโค้งของอาคารด้านในและด้าน นอก โดยเป็นนาฬิกาที่สั่งทำขึ้นพิเศษเป็นการเฉพาะ ไม่ระบุชื่อบริษัทผู้ผลิตเหมือนนาฬิกาทั่ว ๆ ไป
 
บริเวณที่พักผู้โดยสารเป็นห้องโถงชั้นครึ่ง ชั้นล่างซึ่งมีที่นั่งจำนวนมาก มีร้านค้าหลากหลาย ได้แก่ ร้านอาหาร ขนม เครื่องดื่ม ผลไม้ ขนมปัง ไอศกรีม หนังสือ ร้านขายยา ฯลฯ ก่อนถึงห้องจำหน่ายตั๋วล่วงหน้ายังมีห้องละหมาดอีกด้วย เหนือห้องประชาสัมพันธ์มีจอภาพขนาด 300 นิ้ว ควบคุมด้วยระบบดอลบีดิจิตอล ฉายเรื่องราวเกี่ยวกับการรถไฟ ส่วนชั้นลอย มีที่นั่งไม่มากนัก มีบริษัททัวร์ บริษัทรับจองโรงแรมและตั๋วเครื่องบิน บริการแลกเปลี่ยนเงินตรา และร้านกาแฟ
บรรทัด 85:
ที่ผนังด้านซ้ายและขวาของสถานีกรุงเทพมีภาพเขียนสีน้ำ เป็นภาพสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญๆ ของประเทศ อาทิ พระบรมมหาราชวัง ตลาดน้ำ เขาวัง ภูกระดึง หาดสมิหลา ฯลฯ นอกจากนี้ที่ด้านหน้าสถานีมีสวนหย่อมและน้ำพุสำหรับประชาชน โดยข้าราชการรถไฟได้รวบรวมทุนทรัพย์จัดสร้างอนุสาวรีย์น้อมเกล้าฯ อุทิศส่วนกุศลถวายแด่พระพุทธเจ้าหลวง อนุสาวรีย์ที่ว่านี้เป็นรูป “ช้างสามเศียร” มีพระบรมรูปของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] แกะสลักเป็นภาพนูนสูงประดิษฐานอยู่ด้านบน
 
กิจการรถไฟในปัจจุบัน มีเส้นทางที่ออกจากสถานีหัวลำโพงกรุงเทพ จำนวน 4 สาย ได้แก่
* [[ทางรถไฟสายเหนือ]] ต้นทางอยู่ที่สถานีรถไฟกรุงเทพ ปลายทาง [[สถานีรถไฟเชียงใหม่]] ระยะทาง 751.42 กิโลเมตร
* [[ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ]] ต้นทางอยู่ที่สถานีรถไฟกรุงเทพ เมื่อถึงสถานีรถไฟชุมทางถนนจิระจะแยกออกเป็น 2 สาย ดังนี้
บรรทัด 268:
* กรมรถไฟหลวง, รายงานกองบัญชาการครั้งที่ 20 กล่าวด้วยการเดินรถไฟหลวงทางขนาดใหญ่ในกรุงสยามประจำพระพุทธศักราช 2459 (ปีคฤศต์ศักราช 1916-17), โรงพิมพ์กรมรถไฟ, พระนคร, พ.ศ. 2460 (เก็บรักษาที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
* กรมรถไฟหลวง,งานฉลองรถไฟหลวง 50 ปี, โรงพิมพ์กรมรถไฟ, พระนคร, พ.ศ. 2490
* [http://www.railway.co.th/about/bangkok.html ประวัติสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)] จากการรถไฟแห่งประเทศไทย
* [http://www.railway.co.th/civil/test/ho1.htm ประวัติสถานีรถไฟกรุงเทพ] ฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย
 
เส้น 278 ⟶ 277:
{{geolinks-bldg|13.73999|100.518143}}
* [http://www.facebook.com/bangkokstation เฟซบุ๊ค]
* [httphttps://www.railway.co.th/aboutMore/bangkok.htmlKnowledge_Detail?value1=00DE5502B5AA7B42A92BE9FF953D8EBD01000000981F5D9163FE831E83A019687B7976200603658569B9F1F2F4DE7B02D0CA7776&value2=00DE5502B5AA7B42A92BE9FF953D8EBD010000000AC4A74D3744CCA62CB9FE2A58F7CD9ED5B6BBE844DFCDA9031313FD39D9D2FF ประวัติสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)] จากการรถไฟแห่งประเทศไทย
 
== สถานีใกล้เคียง ==