ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความขัดแย้งในกัมพูชา พ.ศ. 2354"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้า
 
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่ม military infobox
บรรทัด 1:
{{Infobox Military Conflict
| conflict = ความขัดแย้งในกัมพูชา พ.ศ. 2354
| partof =
| image =
| caption =
| date = กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2354 - กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2355
| place = [[กัมพูชา]]
| territory =
| result = กัมพูชาเข้าสู่ภายใต้อิทธิพลของเวียดนาม</small>
| status =
| combatant1 = {{flagicon image|Flag of Thailand (1817).svg}} [[อาณาจักรรัตนโกสินทร์]] (สยาม)<br> {{flagicon image|Flag of Cambodia (pre-1863).svg}} [[อาณาจักรเขมรอุดง|อาณาจักรกัมพูชา]]
| combatant2 = {{flagicon image |Royal_Flag_of_Vietnam_(1802–1885).svg}} [[ราชวงศ์เหงียน]] (เวียดนาม)<br> {{flagicon image|Flag of Cambodia (pre-1863).svg}} [[อาณาจักรเขมรอุดง|อาณาจักรกัมพูชา]]
|commander1 = {{flagicon image|Flag of Thailand (1817).svg}} [[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]<br>{{flagicon image|Flag of Thailand (1817).svg}} [[สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์|กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์]]<br>{{flagicon image|Flag of Thailand (1817).svg}} [[เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ์)|เจ้าพระยายมราช (น้อย บุณยรัตพันธุ์)]]<br>{{flagicon image|Flag of Thailand (1817).svg}} [[พระยาอภัยภูเบศร (แบน)]] <br>{{flagicon image|Flag of Thailand (1817).svg}} พระยาอินทรบดีสีหราชรองเมือง<br>{{flagicon image|Flag of Cambodia (pre-1863).svg}} [[นักองค์สงวน]]<br>{{flagicon image|Flag of Cambodia (pre-1863).svg}} พระยาเดโช (แทน)
 
|commander2 = {{flagicon image |Royal_Flag_of_Vietnam_(1802–1885).svg}} [[จักรพรรดิซา ล็อง|พระเจ้ายาล็อง]]<br> {{flagicon image |Royal_Flag_of_Vietnam_(1802–1885).svg}} [[เล วัน เสวียต]] (Lê Văn Duyệt)<br> {{flagicon image |Royal_Flag_of_Vietnam_(1802–1885).svg}} เหงียน วัน เญิน (Nguyễn Văn Nhơn)<br> {{flagicon image |Royal_Flag_of_Vietnam_(1802–1885).svg}} เหงียน วัน ถว่าย (Nguyễn Văn Thoại)<br> {{flagicon image|Flag of Cambodia (pre-1863).svg}} [[สมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี|สมเด็จพระอุไทยราชา (นักองค์จันทร์)]]<br>{{flagicon image|Flag of Cambodia (pre-1863).svg}} พระยาบวรนายก (สวด)<br>{{flagicon image|Flag of Cambodia (pre-1863).svg}} พระยาธรรมเดโช (มัน)<br>{{flagicon image|Flag of Cambodia (pre-1863).svg}} พระยาโยธาสงคราม (มา)}}
'''ความขัดแย้งในกัมพูชา พ.ศ. 2354''' เป็นความขัดแย้งระหว่าง[[สมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี|สมเด็จพระอุไทยราชา]] หรือนักองค์จันทร์ กษัตริย์กัมพูชาซึ่งฝักใฝ่ฝ่ายญวนเวียดนาม และ[[นักองค์สงวน]]เจ้าชายกัมพูชาผู้ฝักใฝ่สยาม นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างสยาม[[อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)|อาณาจักรรัตนโกสินทร์]]ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] และอาณาจักรเวียดนาม[[ราชวงศ์เหงียน]]ในสมัยของ[[จักรพรรดิซา ล็อง|พระเจ้ายาล็อง]]
 
เส้น 24 ⟶ 39:
 
=== กบฏของพระยาจักรี (แบน) และพระยากลาโหม (เมือง) ===
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯเสด็จสวรรคตเมื่อพ.ศ. 2352 เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) ถึงแก่อสัญกรรมในปีเดียวกัน [[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]ทรงแต่งตั้ง[[พระยาอภัยภูเบศร (แบน)|พระยาวิบูลราช (แบน)]] ขึ้นเป็นพระยาอภัยภูเบศร์เจ้าเมืองพระตะบองคนต่อมา<ref name=":3">ประชุมพงศาวดารภาคที่ 16: พงศาวดารเมืองพระตะบอง</ref> พระอุไทยราชานักองค์จันทร์ไม่ได้เดินทางไปเข้าร่วมพระราชพิธีที่กรุงเทพฯ ส่งพระอนุชาคือนักองค์สงวนและนักองค์อิ่ม พร้อมทั้งพระยาจักรี (แบน) และพระยากลาโหม (เมือง) นำเครื่องบรรณาการเข้าช่วยงานพระราชพิธีที่กรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชดำริว่า ในอดีตตำแหน่งย์เจ้ากัมพูชามีพระมหาอุปโยราชและพระมหาอุปราช สมควรที่จะแต่งตั้งให้ตำแหน่งครบถ้วยตามธรรมเนียมเดิม<ref name=":4">[[กรมพระยาดำรงราชานุภาพ|ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา]].. '''พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒'''. ฉบับพิมพ์ครั้งแรก ปีมโรงอัฐศก พ.ศ. ๒๔๕๙; พิมพ์ที่โรงพิมพ์ไทย ณสพานยศเส</ref> จึงมีพระราชโองการแต่งตั้งให้นักองค์สวนสงวนเป็นพระมหาอุปโยราช และนักองค์อิ่มเป็นพระมหาอุปราช พระมหาอุปโยราช (นักองค์สงวน) พระมหาอุปราช (นักองค์อิ่ม) พระยาจักรี (แบน) พระยากลาโหม (เมือง) กราบทูลลากลับกัมพูชาในปีพ.ศ. 2352 ฝ่ายพระยาเดโช (เม็ง) เมื่อไกล่เกลี่ยเจรจากันแล้ว จึงมีพระราชโองการให้พระยาเดโช (เม็ง) กลับไปกัมพูชาเช่นกัน พระยาเดโช (เม็ง) กลับไปอยู่ที่เมืองกำปงสวาย
 
ในปีพ.ศ. 2352 นั้น เกิด[[สงครามพม่าตีเมืองถลาง]] พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีศุภอักษรให้พระมหาอุปโยราชนักองค์สงวนถือออกไปให้แก่สมเด็จพระอุไทยราชานักองค์จันทร์ ให้เกณฑ์ทัพกัมพูชาเข้ามาช่วยป้องกันพระนคร แต่ทว่านักองค์จันทร์กษัตริย์กัมพูชานิ่งเฉยไม่เกณฑ์ทัพมาตามพระราชโองการ ฝ่ายพระยาจักรี (แบน) พระยากลาโหม (เมือง) และพระยาสังคโลก (เวด)<ref name=":3" /> เจ้าเมืองโพธิสัตว์ ขุนนางกัมพูชาซึ่งฝักใฝ่สยาม เกรงว่าจะมีความผิด จึงจัดการเกณฑ์ไพร่พลเพื่อยกเข้ามาช่วยกรุงเทพ โดยไม่ได้รับอนุญาติจากสมเด็จพระอุไทยราชา สมเด็จพระอุไทยราชานักองค์จันทร์จึงทรงให้จับกุมตัวพระยาจักรี (แบน) และพระยากลาโหม (เมือง) มาประหารชีวิตไปเสียในเดือนกันยายน พ.ศ. 2353 ส่วนพระยาสังคโลก (เวด) นั้นหลบหนีมายังกรุงเทพฯ ฝ่ายพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน) ทำค่ายเมืองพระตะบองไว้เตรียมป้องกัน
เส้น 36 ⟶ 51:
=== กบฏของนักองค์สงวนที่เมืองโพธิสัตว์ ===
[[ไฟล์:Tượng_Thoại_Ngọc_Hầu_NS.jpg|thumb|270x270px|เหงียนวันถว่าย (Nguyễn Văn Thoại) หรือ ถว่ายหง็อกเห่า (Thoại Ngọc hầu) ดำรงตำแหน่งเป็น "เบาฮอ" หรือข้าหลวงของญวนประจำกัมพูชา มีศาลสำหรับบูชาถว่ายหง็อกเห่าที่เขานุ้ยซัม (núi Sam) ใกล้กับเมืองห่าเตียน]]
เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2354 พระมหาอุปโยราชนักองค์สงวน เสด็จออกผนวชไปประทับอยู่กับพระมหาสังฆราชา (พระธรรมวิปัสสนา)<ref name=":0" /> พระภิกษุที่ได้รับความนับถือจากพระราชวงศ์กัมพูชา ที่เขาพระราชทรัพย์ ในเดือนธันวาคม พระองค์แก้วเจ้าชายเขมรสิ้นพระชนม์ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2355 พระมหาอุปโยราชนักองค์สงวนลาผนวชออกแล้ว เสด็จออกจากเมืองอุดงบันทายเพชร ในเวลากลางคืน เพื่อไปจัดแต่งงานศพพระองค์แก้ว ขุนนางเขมรรวมทั้งสิ้นเจ็ดคนมารับแห่งนักองค์สงวนไปประทับที่เมืองโพธิสัตว์ พระอุไทยราชานิมนต์ส่งพระมหาสังฆราชออกไปเชิญนักองค์สงวนกลับมาเองอุดง<ref name=":0" /> นักองค์สงวนไม่กลับมา พระอุไทยราชาส่งขุนนางกลุ่มหนึ่งไปเชื้อเชิญให้นักองค์สงวนกลับมา นักองค์สงวนกลับยึดตัวขุนนางเหล่านั้นไว้หมด พระอุไทยราชาจึงส่งพระยาบวรนายก (สวด) ไปถึงขอความช่วยเหลือจาก"องลิวกิน"เหงียนวันเญินเจ้าเมืองไซ่ง่อน เหงียนวันเญินจึงให้"องเจิงเคญเทือง"เหงียนวันถว่าย (Nguyễn Văn Thoại, 阮文瑞) นำทัพเรือ 500 คน<ref name=":0" /> พร้อมทั้งเรือแง่โอเรือแง่ทราย มาตั้งอยู่ที่เกาะจีนเมืองละแวกอีกครั้ง
 
กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์มีพระบัณฑูรให้พระยายมราช (ควร) ขุนนางเขมรออกมาช่วยงานศพพระองค์แก้ว พระยายมราช (ควร) มาพบกับนักองค์สงวนที่เมืองโพธิสัตว์ นักองค์สงวนฝากข้อความแก่พระยายมราช (ควร) กราบทูลขอพระราชทานเมืองตะขร้อ เมืองขลุง และเมืองตรอง<ref name=":0" /> ให้แก่นักองค์สงวนแยกมาปกครองเอง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชดำริว่า นักองค์จันทร์และนักองค์สงวนวิวาทกันจนเป็นเหตุให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้น จะมีศุภอักษรออกไปให้สมานสามัคคีกันดังเดิมคงไม่เพียงพอ<ref name=":4" /> ต้องมีกองทัพไปควบคุมสถานการณ์ด้วย จึงมีพระราชโองการให้[[เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ์)|เจ้าพระยายมราช (น้อย บุณยรัตพันธุ์)]] ยกทัพออกไปสมทบกับพระยาพิไชยรณฤทธิ์และพระยารองเมืองฯที่เมืองพระตะบองในเดือนมีนาคม
เส้น 45 ⟶ 60:
เจ้าพระยายมราช (น้อย) เกรงว่า หากยกทัพสยามจากพระตะบองลงไปจะทำให้นักองค์จันทร์ตื่นตระหนกตกใจ จึงให้พระยารองเมืองฯถือหนังสือลงไปถวายพระอุไทยราชานักองค์จันทร์ที่เมืองอุดงแจ้งความให้ทราบก่อน แต่นักองค์จันทร์กลับนิ่งเฉยไม่ตอบ เจ้าพระยายมราชส่งพระภักดีนุชิตถือหนังสือลงไปอีกครั้งหนึ่ง แต่พระภักดีนุชิตถูกพระยายมราช (คง) และพระยาเพชรเดโชยึดสาสน์และคุมตัวไว้ที่เมืองริวิฉนาก เจ้าพระยายมราช (น้อย) เห็นว่า พระอุไทยราชานักองค์จันทร์กษัตริย์กัมพูชาดูหมิ่นสยามสิ้นยำเกรง<ref name=":4" /> จึงยกทัพลงไปจากเมืองพระตะบอง
 
ในเดือนเมษายน เจ้าพระยายมราช (น้อย) พระยารองเมืองฯ พระยายมราช (ควร) [[พระยาอภัยภูเบศร (เชด)|พระยาจักรี (เชด)]] และ[[พระยาอภัยภูเบศร (รศ)|พระวิเศษสุนทร (รศ)]] ยกทัพจำนวน 3,000<ref name=":0" /> คน ออกจากเมืองพระตะบองมาถึงเมืองโพธิสัตว์ แล้วแห่นักองค์สงวนออกมาจากเมืองโพธิสัตว์ ยกทัพเข้าตีเมืองกำพงชะนัง นำไปสู่'''การรบที่กำปงชนัง''' ในขณะที่พระยาสุรสงครามเป็นแม่ทัพเรือยกทัพจำนวน 2,000<ref name=":0" /> คน มาทางเรือ พระยาธรรมเดโช (มัน) พระยาโยธาสงคราม (มา) และพระยาบวรนายก (สวด) ป้องกันเมืองกำพงชะนัง ฝ่ายกัมพูชายิงปืนเข้าใส่กองเรือเสบียงฝ่ายสยามของพระยาสุรสงคราม แต่พระยาสุรสงครามไม่ตอบโต้<ref name=":4" /> ฝ่ายไทยปล่องปล่อยองจันกว้างออกมา แจ้งแก่ฝ่ายเขมรว่า ครั้งนี้กองทัพไทยมาจำนวนมาก บรรดาขุนนางกัมพูชาที่กำพงชนังจึงให้พระมนตรีสงครามลงเรือพายไปกราบทูลพระอุไทยราชานักองค์จันทร์ที่โพโตก ว่าครั้งนี้สยามยกมาเป็นจำนวนมากเห็นเกินจะรับไหว<ref name=":4" /> พระอุไทยราชานักองค์จันทร์จึงเสด็จพร้อมทั้งพระราชวงศ์และบรรดาขุนนางลงเรือพระที่นั่งไปพนมเปญ
 
=== นักองค์จันทร์ลี้ภัยไปไซ่ง่อน ===
"องเจิงเคญเทือง"เหงียนวันถว่ายเตรียมเรือมารับนักองค์จันทร์และพระราชวงศ์กัมพูชาที่เมืองพนมเปญ<ref name=":0" /> นักองค์อิ่มและนักองค์ด้วงปรึกษากันว่าหากเสด็จหนีตามนักองค์จันทร์ไปเวียดนามก็จะเป็นกบฏไปด้วย<ref name=":4" /> นักองค์อิ่มและนักองค์ด้วงจึงเสด็จหนีจากเมืองพนมเปญไปหาฝ่ายไทย ฝ่ายญวนและฝ่ายนักองค์จันทร์ส่งกำลังออกติดตามนักองค์อิ่มและนักองค์ด้วงแต่ไม่ทัน เหงียนวันเญินเจ้าเมืองไซ่ง่อนส่งขุนนางมากราบทูลเชิญนักองค์จันทร์ไปประทับที่ไซ่ง่อนหรือเมืองบันแง<ref name=":0" /> พระยาสุรสงครามนำกองเรือเดินทางถึงค่ายโพโตกเมืองอุดง ทราบว่าพระอุไทยราชานักองค์จันทร์หลบหนีไปพนมเปญแล้ว นำกองเรือไปตามนักองค์จันทร์แต่ไม่ทัน พบเพียงแต่ราษฎรชาวเขมรสับสนวุ่นวายอยู่ จึงป่าวประกาศให้กลับมาอยู่บ้านเรือนตามเดิม เจ้าพระยายมราชเมื่อมาถึงเมืองอุดงบันทายเพชรทราบว่านักองค์จันทร์เสด็จหลบหนีไปถึงเมืองไซ่ง่อนแล้ว จึงมีหนังสือถึงเจ้าเมืองไซ่ง่อนและนักองค์จันทร์ ชี้แจงว่าฝ่ายสยามยกทัพลงมาครั้งนี้ไม่ใช่เพื่อทำสงครามแต่เพื่อไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างนักองค์จันทร์และนักองค์สงวน แต่นักองค์จันทร์และเจ้าเมืองไซ่ง่อนนิ่งเสียไม่ตอบ<ref name=":4" /> นักองค์อิ่มและนักองค์ด้วยด้วงเสด็จหนีจากนักองค์จันทร์มาถึงเมืองอุดงประทับอยู่กับนักองค์สงวน
 
เหงียนวันเญินเจ้าเมืองไซ่ง่อน สร้างตำหนักที่ประทับที่เมืองไซ่ง่อนถวายให้พระอุไทยราชานักองค์จันทร์ และยังถวายเงินอีแปะพันพวงข้าวสารพันถัง พระอุไทยราชาให้พระยาบวรนายก (สวด) พระยาพหลเทพ (ขวัญ) และเจ้าพระพุฒ (ตวนผอ) ไปเข้าเฝ้า[[จักรพรรดิซา ล็อง|พระเจ้าเวียดนามยาล็อง]]ที่เมืองเว้ เดือนสิงหาคมพระเจ้าเวียดนามพระราชทานเงินทอง ผ้าแพร อิแปะ 5,000 ตะโนด<ref name=":0" />
เส้น 66 ⟶ 81:
 
=== เขมรตีเมืองพระตะบอง พ.ศ. 2358 ===
[[ไฟล์:Deputy Governor of Kamboja in his dress of ceremony by John Crawfurd book Published by H Colburn London 1828.jpg|thumb|ภาพของเจืองเติ๊นบิ๋ว (Trương Tấn Bửu) รองข้าหลวงของญวนประจำกัมพูชา จากหนังสือของ[[จอห์น ครอว์เฟิร์ด|ครอว์เฟิร์ด]]]]
ในพ.ศ. 2358 พระอุไทยราชานักองค์จันทร์ให้พระยายมราช (ตวนผอ) และพระยาธรรมเดโช (มัน) ยกทัพไปปราบพระยาเดโช (เม็ง) ที่เมืองกำปงสวาย พระยาเดโช (เม็ง) หลบหนีไปอยู่เมืองโขง พระอุไทยราชาทรงให้ตวนหมัดพี่ชายของตวนผอเป็นพระยาเดโชเจ้าเมืองกำปงสวายคนใหม่<ref name=":0" />
 
เส้น 79 ⟶ 95:
 
=== อันนัมสยามยุทธ ===
{{main|อานัมสยามยุทธ}}
 
== อ้างอิง ==