ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จิตติ ติงศภัทิย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Oong (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ภาพ:จิตติ ติงศภัทิย์.jpg|thumb|ศาสตราจารย์ (พิเศษ) จิตติ ติงศภัทิย์]]
 
'''ศาสตราจารย์ (พิเศษ) จิตติ ติงศภัทิย์''' ([[16 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2451]] - [[3 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2538]]) เป็นนักกฎหมายคนสำคัญของประเทศไทย และถือเป็นบรมครูปรมาจารย์แห่งวงการกฎหมายไทย รับตำแหน่ง[[องคมนตรี]]ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2527 - 3 มีนาคม 2538 และถึงแก่อสัญกรรม ในตำแหน่ง ท่านเป็นแบบอย่างแห่งของนักกฎหมายผู้มีคุณธรรมอันประเสริฐ และมีความรู้อันเพียบพร้อม ได้รับการกล่าวขานจากศาสตราจารย์ประยูร จินดาประดิษฐ์ ในหนังสือ "จิตติ ติงศภัทิย์ แบบอย่างแห่งสามัญชน" ว่า ท่านอาจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ นับเป็นบุคคลผู้ดำรงความยิ่งใหญ่ในหัวใจนักกฎหมายไทยทุกคน ในฐานะที่ท่านเป็นบรมครูผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาการกฎหมาย ให้แก่วงการศึกษาของไทยมาเป็นเวลานาน และเป็นแบบฉบับของผู้ที่สามารถตั้งมั่นอยู่ใน ความบริสุทธิ์ยุติธรรมอันเป็นที่ยอมรับ และได้รับการยกย่องนับถือจากสาธารณชนโดยทั่วไปตลอดมา"<ref>[http://www.jurisclub.com/biography.htm นิติสโมสร]</ref>
 
== ประวัติ ==
 
อาจารย์นายจิตติ ติงศภัทิย์ เกิดเมื่อวันที่ [[16 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2451]] ที่[[เขตสัมพันธวงศ์|อำเภอสัมพันธวงศ์]] [[กรุงเทพมหานคร]] บิดาชื่อ นายทองจีน ติงศภัทิย์ มารดาชื่อนางละม้าย ติงศภัทิย์ มีพี่น้อง 2 คนคือ ตัวท่านเอง และน้องสาวชื่อ สำเนียง
 
บิดาของท่านอาจารย์นายจิตติ เสียชีวิตไปตั้งแต่ท่านอายุได้เพียง 4 ขวบ มารดาได้เริ่มสอนหนังสือให้ตั้งแต่ก่อนเข้าโรงเรียน จากนั้นได้รับการศึกษาจากโรงเรียนครูเชย
 
== การศึกษา ==
บรรทัด 30:
== การทำงาน ==
 
ได้รับราชการเป็น พนักงานอัยการในกรมอัยการ กระทรวงมหาดไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2471 และได้โอนย้ายมารับราชการเป็นข้าราชการตุลาการ ต่อมาในพ.ศ. 2512 จึงลาออกจากราชการเพราะรับราชการนาน ในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และได้เป็นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมาย (ปัจจุบันคือฝ่ายกฎหมาย) ธนาคารแห่งประเทศไทย จนเกษียณอายุราชการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หลังจากนั้น ท่านอาจารย์ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญต่างๆ ดังนี้
 
* 2514 - 2517 คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บรรทัด 79:
 
== ทัศนคติในเชิงคุณธรรม ==
ท่านศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ได้เคยกล่าววลีอมตะไว้ว่า “ นักกฎหมายต้องมีความบริสุทธิ์ และมี ความยุติธรรมเป็นเป้าหมาย” ท่านอาจารย์เป็นผู้ริเริ่มการเรียนการสอนวิชาหลักวิชาชีพนักกฎหมาย ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และในเรื่องการใช้หลักรัฐศาสตร์หรือนิติศาสตร์ในการปกครองบ้านเมืองและตัดสินคดีนั้น โดยท่านได้เคยกล่าวไว้ว่า “ก่อนที่จะออกกฎหมายผู้ตรากฎหมายต้องดูข้อ เท็จจริงแวดล้อมของสังคมซึ่งก็ต้องใช้หลักรัฐศาสตร์ในการพิจารณาเพื่อให้ กฎหมายเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพสามารถแก้ปัญหาของสังคมได้ แต่เมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้วการวินิจฉัยตัดสินคดีก็ต้องใช้กฎหมายคือ ใช้หลักนิติศาสตร์เป็น justice under law จะมาใช้หลักรัฐศาสตร์ในการตัดสินคดีไม่ได้”<ref>[http://www.winyuchon.co.th/main/munin/book.htm สำนักพิมพ์วิญญูชน]</ref>
 
== อ้างอิง ==
บรรทัด 104:
[[หมวดหมู่:นักกฎหมาย]]
[[หมวดหมู่:องคมนตรี]]
[[หมวดหมู่:ศาสตราจารย์พิเศษ]]
[[หมวดหมู่:ผู้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งประเทศไทย]]