ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nubbkao (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มประวัติ
Nubbkao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ลิงก์แก้ความกำกวม
บรรทัด 75:
พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จพระราชดำเนินขึ้นมาปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง ชำระพระสงฆ์หัวเมืองฝ่ายเหนือ อาราธนาพระราชาคณะมาสั่งสอน โดยให้พระธรรมเจดีย์อยู่ทุ่งยั้ง เสร็จแล้ว เสด็จไปนมัสการสมโภชพระมหาธาตุเมืองสวางคบุรี 3 วัน บูรณะพระอารามให้บริบูรณ์ เสด็จไปนมัสการสมโภชพระบรมธาตุทุ่งยั้ง 3 วัน เสด็จลงไปนมัสการสมโภชพระมหาธาตุเมืองสวรรคโลก 3 วัน เสด็จลงไปนมัสการสมโภชพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ 3 วัน แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงธนบุรี
 
[[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)]] กล่าวว่า "...เสด็จพระราชดำเนินไปสมโภชพระ ณ ย้าง 3 วัน..." และ[[พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม]] กล่าวว่า "...เสด็จพระราชดำเนินไปสมโภชพระ ณ ทุ้งย้าง 3 เวร..." มีเพียง[[พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา]] ที่ชำระสมัยหลังกล่าวขยายความว่าเสด็จไปนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ เมื่อพิจารณาจากบริบทสถานที่ที่พระองค์เสด็จไปสมโภช้วนสมโภชล้วนแต่เป็นพระธาตุ จึงน่าจะหมายถึงพระบรมธาตุทุ่งยั้งมากกว่า
 
=== สมัยรัตนโกสินทร์ ===
บรรทัด 150:
==ปูชนียวัตถุและถาวรวัตถุที่สำคัญของวัด==
 
=== วิหารหลวง ===
 
เป็นอาคารขนาดใหญ่ขนาด 5 ห้องเสา กว้างประมาณ 14.60 เมตร ยาว 32.30 เมตร มีมุขด้านหน้าและด้านหลัง เสาประธานคู่ในกลม รับโครงสร้างที่เป็นเครื่องประดุถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาและผนัง รูปแบบสถาปัตยกรรมมีลักษณะผสมผสานระหว่างล้านนาและอยุธยา มุขหน้าและหนังเป็นหลังคาจั่วเตี้ย ทิ้งเชิงกอนลงมาในระดับต่ำแบบวิหารล้านนา แต่งานศิลปกรรมอื่น ๆ มีลักษณะแบบสกุลช่างทางภาคกลาง พื้นวิหารมีการยกขึ้นจากระดับพื้นเล็กน้อย ส่วนบัวพื้นตกแต่งเป็นบัวคว่ำ ผนังก่ออิฐโบราณขนาดใหญ่ ส่วนเสามีทั้งกลมและเหลี่ยม ผนังมีลักษณะเป็นเสาอิงรับโครงสร้างหลังคา ไม่มีทวยระหว่างช่องหน้าต่าง เป็นบานเปิดหูช้าง ฝาผนังหุ้มหองด้านหน้าก่อเป็นเสาอิงสี่เหลี่ยมตรงกับแนวเสาประธานคู่ใน เว้นช่องประตูกลางบานใหญ่ บานประตูเป็นบานหูช้าง มีอกเลา บานประตูทางเข้าทางด้านนอกเป็นลายรดน้ำปิดทองภาพพระนารายณ์ 4 กร ฝาผนังหุ้มกลองหลังพระประธานทำประตูออกที่ผนังปีกนก 2 ข้าง มีการซ้อนชั้นหลังคา 3 ชั้น ลดชั้นตรงมุขหน้าและมุขหลัง จั่วของมุขหน้าและมุขหลังจะมีแนวสันหลังคาจรดขื่โทหน้าบันชั้นบน ตีฝ้าเพดาน
 
หน้าบันเป็นงานไม้แกะสลักปิดทอง ปิดพื้นด้วยกระจกสี อยู่ในกรอบโครงหลังคา หน้าบันมุขหน้า ชั้นล่าง 2 ข้างเป็นดอกพุดตานและลายพันธุ์พฤกษาในกรอบสามเหลี่ยม ถัดเข้ามา 2 ข้างเป็นกรอบสี่เหลี่ยม 3 กรอบ ซ้ายและขวาเป็นภาพช้างหันหน้าตรง ล้อมรอบด้วยลายดอกพุดตานและลายพันธุ์พฤกษา กรอบกลางเป็นลายช้างเอราวัณ ชั้นที่สองเป็นภาพราชสีห์และไกรสร ล้อมรอบด้วยลายดอกพุดตานและลายพันธุ์พฤกษา ชั้นที่สาม ช่องกลางทำเป็นรูปเทพนม ล้อมรอบด้วยลายดอกพุดตานและลายพันธุ์พฤกษา ชั้นบนสุดเป็นกรอบสามเหี่ยมประกบดั้ง ทำเป็นลายดอกพุดตาน
บรรทัด 166:
หลังคาวิหารหลวงมุงกระเบื้องดินเผาปลายมนเคลือบผิวสีส้มแดง ซึ่งมุงครั้งล่าสุดโดยการบูรณะของกรมศิลปากร วัสดุมุงของเดิมเป็นกระเบื้องดินเผา ต่อมามีการเปลี่ยนเป็นกระเบื้องคลองสารในการบูรณะของหลวงคลัง (อิน) ซึ่งคงเป็นกระเบื้องซีเมนต์รูสี่เหลี่ยมจัตุรัส ช่อฟ้าช้นบนทำเป็นรูปนาค 3 เศียร ทั้งด้านหน้าด้านหลัง
 
ภายในวิหารหลวงมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง คงเหลือเพียง 3 ด้าน ผนังหุ้มกลองตรงข้ามพระประธานวาดเป็นภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ ผนังด้านทิศเหนือเป็นรูปพุทธประวัติ ผนังด้านทิศใต้เป็นรูปเรื่องสังข์ทอง บนสุดของผนังทั้งสองด้านเขียนรูปเทพชุมนุม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงสันนิษฐานว่าวาดในสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ส่วนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างครั้งกรุงเก่า (กรุงศรีอยุธยา) แต่จากหลักฐานจดหมายเหตุสมัย ร.4 พ.ศ. 2400 ได้มีการจ้างช่างเขียนผนังด้วยเครื่องเขียนและทองคำเปวทองคำเปลว 2 คนมาบูรณะพระวิหารหลวง ธีระวัฒน์ แสนคำสันนิษฐานว่า ภาพพุทธประวัติน่าจะเขียนในสมัยอยุทธยาตอนปายในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พ.ศ. 2400 จึงมีการเขียนภาพสังข์ทองและซ่อมแซมภาพพุทธประวัติ ภาพจิตรกรรมได้รับการอนุรักษ์ใน พ.ศ. 2529 แต่ภาพได้เลือนไปมากแล้ว
 
พระประธานในพระวิหารเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 4.25 เมตร สูง 6.25 เมตร ลงรักปิดทอง ชาวบ้านเรียก '''หลวงพ่อโต''' หรือ '''หลวงพ่อหลักเมือง''' ฝีมือช่างท้องถิ่น พระพักตร์เหลี่ยมเล็กน้อย พระรัศมีเป็นเปลวเพลิงสูง ชายสังฆาฏิเดิมเป็นรูปเขี้ยวตะขาบ ปัจจุบันมีร่องรอยการแก้ไขปลายสังฆาฏิ ประทับบนฐานชุกชีขนาดใหญ่ กว้าง 7 เมตร เนื่องจากพระประธานมีพระพักตร์ดูราวกับว่าสูงอายุมาก จึงมีบางคนเรียกว่า '''หลวงพ่อพระประธานเฒ่า'''
 
ด้านหน้าพระประธานมีประติมากรรมรูปพระศรีอาริย์ หล่อด้วยสำริด หน้าตักกว้าง 99 เซนติเมตร ศิลปะอยุธยา ห่อด้วยเทคนิคสูง ตัวกระจังที่ฐานมาประกอบภายหลัง เดิมประดิษฐานอยู่มุขหลังวิหารหลวง ต่อมาทางวัดอัญเชิญมาประดิษฐานในวิหารหลวง<ref>{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง = ธีระวัฒน์ แสนคำ|ชื่อหนังสือ = พระบรมธาตุทุ่งยั้ง ปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองทุ่งยั้ง|จังหวัด = พิษณุโลก|พิมพ์ที่ = สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์|ปี = 2564|ISBN = 978-616-543-718-9|จำนวนหน้า = }}</ref>
 
[[ไฟล์:วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง.jpg|thumbnail|right|วิหารหลวงและโบสถ์ วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง]]
===พระอุโบสถ===
 
เป็นอาคารขนาดเล็ก มีมุขโถงด้านหน้าหันสู่ทิศตะวันออก ฐานผนังด้านนอกทำเป็นฐานปัทม์ ส่วนมุขหน้าต่อพนักเตี้ยเลยแนวเสาที่รับหลังคามุขออกไป เว้นทางเข้าออกไว้ ทำเป็นเสาหัวเม็ดที่ช่องทางเข้า 2 ผนังก่ออิฐ หน้าต่างข้างละ 3 ช่อง เสาโบสถ์มีแต่มุขหน้า 4 ต้น เป็นเสาแปดเหลี่ยม ปลายสอบเข้าและเอียเข้าหากันเล็กน้อย ปลายเสาตกแต่งบัวแวง หลังคาทำชั้นลด 3 ชั้น ซ้อน 3 ชั้น มุงกระเบื้องดินเผา ตีฝ้าเพดาน
* '''พระอุโบสถ''' ประดิษฐานอยู่ด้านซ้ายของพระวิหารหลวง เป็นศิลปะการก่อสร้างแบบสุโขทัย คือ มีทรงหลังคาซ้อนสามชั้น ลาดต่ำลงมา และไม่มีประตูออกด้านหลังของพระอุโบสถ
 
หน้าบันมุขหน้าแกะสลักไม้เป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ล้อมด้วยลายเครือเถาเป็นดอกพุดตานและลายพันธุ์พฤกษา ปิดทองลงพื้นดำ หน้าบันด้านหน้าชั้นบนแกะสลักเป็นรูปราหูอมจันทร์ปิดทอง ล้อมด้วยลายเครือเถาเป็นดอกพุดตานและลายพันธุ์พฤกษา หน้าบันด้านหลังแกะสลักไม้เป็นลายพื้นดอกประจำยามปิดทองเต็มกรอบหน้าจั่ว<ref>{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง = ธีระวัฒน์ แสนคำ|ชื่อหนังสือ = พระบรมธาตุทุ่งยั้ง ปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองทุ่งยั้ง|จังหวัด = พิษณุโลก|พิมพ์ที่ = สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์|ปี = 2564|ISBN = 978-616-543-718-9|จำนวนหน้า = }}</ref>
 
===หอระฆัง===
 
เป็นอาคารคอนกรีตก่อฐานสูง ทำบันไดทางขึ้นก่อด้วยศิลาแลง เสาไม้แปดเหลี่ยม หลังคาทรงมณฑป 2 ชั้น มุงกระเบื้องดินเผาปลายตัด ส่วนยอดเป็นพรหม 4 หน้า สันตะเข้ หลังคาครอบปูน สุดปลายทำรูปนาคปัก สร้างขึ้นใหม่แทนหลังเดิมที่ชำรุดโดยทำเลียนแบบของเดิม<ref>{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง = ธีระวัฒน์ แสนคำ|ชื่อหนังสือ = พระบรมธาตุทุ่งยั้ง ปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองทุ่งยั้ง|จังหวัด = พิษณุโลก|พิมพ์ที่ = สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์|ปี = 2564|ISBN = 978-616-543-718-9|จำนวนหน้า = }}</ref>
 
===เจดีย์ราย===
 
ในเขตพุทธาวาสมี 9 องค์ คือ เจดีย์ข้างวิหารหลวงด้านหน้าทางทิศเหนือและใต้ 4 องค์ รูปแบบเหมือนเจดีย์สี่มุมของพระบรมธาตุทุ่งยั้ง เป็นรูปแบบเจดีย์มอญ-พม่าโดยช่างที่มาซ่อมพระบรมธาตุสมัย ร.5 ทำขึ้นในซากฐานเจดีย์เก่าชำรุด เจดีย์รายด้านหน้าโบสถ์ติดกำแพงแก้ว 3 องค์และเจดีย์รายด้านหน้าวิหารหลวงทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดกำแพงแก้ว 2 องค์ เป็นเจดีย์ย่อมุมแบบพื้นเมือง ไม่เก่ากว่าสมัย ร.5 องค์ระฆังสูงชะลูด ส่วนฐานก่อรับองค์ระฆังไม่มีชั้นลูกแก้ว ก่อเป็นฐานปัทม์และฐานหน้ากระดานสลับกันเป็นฐานย่อมุม ส่วนยอดเหนือบัลลังก์เป็นก้านฉัตรและบัวคว่ำย่อมุมรับชั้นลูกแก้วและปลียอด<ref>{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง = ธีระวัฒน์ แสนคำ|ชื่อหนังสือ = พระบรมธาตุทุ่งยั้ง ปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองทุ่งยั้ง|จังหวัด = พิษณุโลก|พิมพ์ที่ = สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์|ปี = 2564|ISBN = 978-616-543-718-9|จำนวนหน้า = }}</ref>
 
===ศาลาการเปรียญ===
 
ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเขตพุทธาวาส เป็นอาคารขนาดใหญ่ 2 ชั้น ทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างสมัยพระอธิการอินทร์และพระอธิการบัว เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2472<ref>{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง = ธีระวัฒน์ แสนคำ|ชื่อหนังสือ = พระบรมธาตุทุ่งยั้ง ปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองทุ่งยั้ง|จังหวัด = พิษณุโลก|พิมพ์ที่ = สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์|ปี = 2564|ISBN = 978-616-543-718-9|จำนวนหน้า = }}</ref>
 
===บ่อศิลาแลง===
 
เป็นสระน้ำ 2 บ่อ ผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลึกประมาณ 6 เมตร อยู่นอกเขตกำแพงแก้วทางทิศเหนือ สันนิษฐานว่าเป็นบ่อศิลาแงที่ถูกขุดมาใช้ในการก่อสร้างวัด มีร่องรอยการตัดพื้นศิลาแลงเป็นรูปสี่เหลียม ผนังราบเรียบ บ่อศิลาแลงทางทิศตะวันตกมีอุโมงค์ขนาดเล็กอยู่ทางทิศใต้ของก้นบ่อ กว้าง 1 x 1 เมตร ภายในแยกเป็น 2 ทาง ทางซ้ายไปใต้ฐานพระเจดีย์ ทางขวาออกไปทางคูเมือง ขุดลึกเท่าไหร่ไม่ทราบแน่ชัด ปัจจุบันลึกประมาณ 3-5 เมตรก็ตันแล้ว ไม่ปรากฎว่าขุดเพื่ออะไร มีเรื่องเล่าท้องถิ่นว่าอุโมงค์ทางขวาทะลุไปถึงอุโมงค์ในช่องผนังมณฑป[[วัดศรีชุม (จังหวัดสุโขทัย)]] บางกระแสเล่าว่าเป็นที่หลบภัยออกนอกเมือง บ้างก็ว่ายาวทะลุไปถึงเมืองระแหง (ตาก) ส่วนช่่องทางซ้ายเล่าว่าเป็นอุโมงค์ที่มิจฉาชีพพยายามขุดเข้าไปหาของมีค่าใต้องค์พระบรมธาตุ<ref>{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง = ธีระวัฒน์ แสนคำ|ชื่อหนังสือ = พระบรมธาตุทุ่งยั้ง ปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองทุ่งยั้ง|จังหวัด = พิษณุโลก|พิมพ์ที่ = สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์|ปี = 2564|ISBN = 978-616-543-718-9|จำนวนหน้า = }}</ref>
 
===หลุมคลีเจ้าเงาะ===
 
อยู่นอกกำแพงแก้วทางทิศตะวันตกขององค์พระบรมธาตุ มีลักษณะเป็นหลุมวงกลมขุดลงไปในศิลาแลง มีหลายหลุมหลายขนาดแตกต่างกัน จากคำบอกเล่าว่าเดิมมีอยู่ทั่วไปในบริเวณสนามฟุตบอลโรงเรียนชุมชนวัดบรมธาตุ กว้างและลึกกว่าที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน แต่ถูกถมเป็นสนามฟุตบอลไปแล้ว ชาวบ้านเล่าว่าเป็นหลุมคลีของ[[เจ้าเงาะ]]หรือ[[สังข์ทอง]]กับ[[พระอินทร์]]ที่ต่อสู้กันตามวรรณคดีเรื่องสังข์ทอง ไม่ปรากฎหลักฐานว่าทำขึ้นเมื่อใด และทำเพื่ออะไร หลุมคลีเจ้าเงาะมีลักษณะคล้ายคลึงกับโบราณสถานหลุมเมือง บ.โคกขวาง ต.หนองโพรง อ.ศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี<ref>{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง = ธีระวัฒน์ แสนคำ|ชื่อหนังสือ = พระบรมธาตุทุ่งยั้ง ปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองทุ่งยั้ง|จังหวัด = พิษณุโลก|พิมพ์ที่ = สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์|ปี = 2564|ISBN = 978-616-543-718-9|จำนวนหน้า = }}</ref>
 
===พระพุทธรูปประหลาด===
 
ในนิทานโบราณคดี พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวว่า เมื่อพระองค์ดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ไปตรวจราชการหัวเมืองฝ่ายเหนือเมื่อ พ.ศ. 2441 ในวันที่ 10 พฤศจิกายน ได้เสด็จนมัสการและทอดพระเนตรวัดมหาธาตุทุ่งยั้ง ได้ทรงพบพระพุทธรูปองค์หนึ่ง วางนอนอยู่ในพระหัตถ์พระประธานในวิหารหลวง ถามพวกกรมการได้ความว่า เป็นพระพุทธรูปจาก[[วัดวังหมู]] ถ้าใครไปถวายเครื่องสักการะบูชา มักมีเหตุวิวาททะเลาะกัน จนไม่มีใครกล้าบูชา แต่พวกลูกศิษย์วัดคึกคะนองมักแอบเอาหมากพลูไปถวายเวลามีงาน ทำให้เกิดวิวาททะเลาะกันทุกครั้ง อยู๋มาวันหนึ่งได้หายจากวันไป แล้วมาพบอยู่ในพระหัตถ์พระประธานวัดมหาธาตุทุ่งยั้ง ไม่มีใครกล้าเอากลับไป สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพทรงรับสั่งให้นำพระมาดู เป็นพระปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย ทำงามและได้ขนาด จึงทรงขอพระพุทธรูปไปด้วย ทรงจุดธูปเทียนบูชาแล้วเชิญพระพุทธรูปมาทำเนียบจอดเรือ และได้รับทราบว่าขณะกำลังบูชามีฝีพายทะเลาะชกกัน 1 คู่
 
เมื่อถึงกรุงเทพ ทรงให้[[พระพุฒาจารย์ (มา อินฺทสโร)|พระมงคลทิพยมุนี (มา อินฺทสโร)]] ทำการปฏิสังขรณ์องค์พระพุทธรูปพร้อมกับพระพุทธนรสีห์ เสร็จแล้วนำมาตั้งบูชาที่ท้องพระโรง เมื่อพระองค์ไปหา[[เจ้าจอมมารดาชุ่ม]] มารดา ท่านว่าแต่เดิมคนในบ้านก็อยู่กันปกติ ตั้งแต่เอาพระพุทธรูปมาไว้ก็ทะเลาะกันไม่หยุด แล้วส่งเศษกระดาศจดชื่อคนวิวาท 6 คู่ แล้วตักเตือนว่าให้คิดดู สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพจึงทรงฝากพระพุทธรูปให้พระมงคลทิพยมุนี (มา อินฺทสโร) รักษาไว้ ต่อมาอีกหลายเดือนกรกการเมืองอุตรดิตถ์มาหาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ จึงทรงนึกได้และจะฝากพระพุทธรูปให้กลับคืนไปวัดมหาธาตุทุ่งยั้ง แต่เมื่อไปขอพระคืน พระมงคลทิพยมุนี (มา อินฺทสโร) ว่าตั้งแต่พระพุทธรูปองค์นั้นมาอยู๋[[วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร]] มักเกิดเหตุทะเลาะวิวาทขึ้นตลอด แม้แต่ลูกศิษย์ก็ไปตีหัวเจ๊กขายเจียมบี๋อี๊ มีพ่อค้าชาวหัวเมืองเหนือที่เคยรู้จักเข้ามาค้าขายทางเรือถึงกรุงเทพฯ เข้ามาเยี่ยม มเื่อเห็นพระพุทธรูปก็ชอบใจเอ่ยปากขอ ท่านก็เลยยกให้ ไม่ทราบว่าพาไปไหน พระพุทธรูประหลาดจากพระบรมธาตุทุ่งยั้งจึงหายไป<ref>https://vajirayana.org/นิทานโบราณคดี/นิทานที่-๑-เรื่องพระพุทธรูปประหลาด</ref>
 
== ประเพณีวัฒนธรรม ==
 
* ที่วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง จะมีการจัดให้มีงานประเพณีสลากภัต ซึ่งเป็นประเพณีท้องถิ่น ในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี ในวันนี้มีการจัดแสดงพุทธประวัติตอนถวายพระเพลิงพระบรมศพด้วย หรือที่เรีกยว่า[[วันอัฏฐมีบูชา]] โดยทางวัดจะจัดให้มีการจำลองเหตุการณ์ย้อนไปเมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ณ เมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย โดนจะมีการสร้างพระบรมศพจำลอง ประทับนอนในปางปรินิพพาน อยู่ในโลงแก้ว โดยจะจัดประดิษฐานไว้บนศาลาการเปริยญ ตั้งแต่วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ให้พุทธศาสนิกชนได้ร่วมถวายสักการะพระบรมศพ จนถึงวัน แรม 8 ค่ำ เดือน 6 จึงได้จัดพิธีจำลองเหตุการณ์ การถวายพระเพลิง '''พระพุทธสรีระจำลอง''' จัดสร้างจิตกาธาน พระเมรุมาศเหมือนจริง และมีการถวายพระเพลิงจริง ซึ่งพุทธศาสนิกชนหลายๆ คนที่เข้าร่วมพิธี ต่างก็ร้องให้เสียใจกับการจากไปของพระบรมศาสดา ดุจเหมือนได้เข้าเฝ้าพระบรมศพของพระบรมศาสดาจริง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่และมีการจัดพิธีแบบนี้แห่งเดียวในโลก