ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โลกิยานุวัติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 13:
การแต่งตั้งตำแหน่งต่างๆโดยสถาบันคริสต์ศาสนา เหล่านี้ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกัน จนในที่สุดพระจักรพรรดิเองก็ไม่สามารถควบคุมสถาบันศาสนาได้ สถาบันทางศาสนาเองก็เริ่มมีอำนาจในการปกครองแคว้นเหล่านี้มากขึ้นจนกลายเป็น “คริสต์ศาสนรัฐ” (ecclesiastical states) ระบบนี้ทำให้เกิดการคอร์รัปชันและการใช้ชีวิตฟุ้งเฟ้อกันภายในคริสต์ศาสนรัฐอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นผลที่ทำให้ระบบการปกครองของสังฆบุคลากรของสถาบัน[[นิกายโรมันคาทอลิก|คาทอลิก]]เสื่อมลง และในที่สุดก็นำไปสู่[[การปฏิรูปศาสนาของนิกายโปรเตสแตนต์]]
 
แต่[[การปฏิรูปศาสนาของนิกายโรมันคาทอลิก|การปฏิรูปซ้อนของนิกายโรมันคาทอลิก]]ทำให้ตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้โดยเฉพาะ “[[สมเด็จบาทหลวง]]” (Prince-Bishops) กลับมารุ่งเรืองขึ้นอีกระยะหนึ่ง แต่พอเมื่อมาถึงปลาย “สงครามสามสิบปี” ([[:en:Thirty Years' War|Thirty Years' War]]) ระหว่างปีค.ศ. 1618 ถึงปีค.ศ. 1648 ระบบซึ่งผู้อยู่ภายใต้การปกครองของ “คริสต์ศาสนรัฐ” ต้องขึ้นอยู่กับ Prince-Bishops “สมเด็จบาทหลวง” ก็เสื่อมลง
 
เมื่อปีค.ศ. 1797 [[จักรพรรดินโปเลียนที่ 1]] ได้รับชัยชนะต่อจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์โดยผนวกดินแดนทั้งหมดทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์ตาม “สนธิสัญญาแค็มโพฟอร์มิโอ” ([[:en:Treaty of Campo Formio|Treaty of Campo Formio]]) เมื่อจักรวรรดิโรมันเสียดินแดนให้กับจักรพรรดินโปเลียน ทางจักรวรรดิโรมันก็ต้องหาที่ดินชดเชยให้กับเจ้านายหรือขุนนางที่ไร้แผ่นดิน ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นของ “สมเด็จบาทหลวง” จึงถูกยึด หรือถูก “secularised” และแบ่งปันกันระหว่างเจ้าผู้ครองนครต่างๆในเยอรมนี