ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:บุญพฤทธิ์ ทวนทัย/ทดลองเขียน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 1,813:
เธอซึมซับการเป็นนักร้องมาจากครอบครัวทั้งสิ้น เธอมีศักดิ์เป็นหลานลุงของ[[ร้อยเอ็ด เพชรสยาม]] และหลานป้าของ[[วรรณภา สารคาม]]ซึ่งเป็นนักร้องหมอลำของคณะนกยูงทอง กอปรกับบิดานั้นเป็นหมอลำ ทำให้เธอติดตามบิดาและมารดาพร้อมครอบครัวไปในงานแสดงของบิดาทุกครั้ง จนกระทั่งเธอศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เธอได้เป็น[[หางเครื่อง]]ของวงดนตรีของบิดา และต่อมารุ่นพี่ได้ชักชวนเธอไปเป็นหางเครื่องและหมอลำตัวประกอบในคณะนกเอี้ยงโมง เมือ่เธอจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เธอได้ศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด และเธอได้พบกับ[[ฉวีวรรณ ดำเนิน]] [[ศิลปินแห่งชาติ]] ซึ่งมาสอนหมอลำที่วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด เธอได้รับการอบรมและฝึกฝนในการเป็นหมอลำจากฉวีวรรณ ทั้งลำทำนองขอนแก่น ลำทำนองมหาสารคาม ลำทำนองอุบล หรือแม้แต่ลำทำนองจาก[[ประเทศลาว]] อาทิ ลำสาละวัน ลำตั้งหวาย เป็นต้น
 
เธอเริ่มเห็นว่า เธอมีพรสงรรค์และหลงไหลในด้านนี้ เธอได้เข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่[[สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์]] จนจบปริญญาตรี ต่อมาเธอได้พบกับ[[อำไพ มณีวงษ์]] นักแต่งเพลงและนักดนตรีหมอลำที่มีชื่อเสียง อำไพพบว่าเธอมีแววและความสามารถ จึงให้เธอบันทึกเสียงการร้องหมอลำเอาไว้ หลังจากนั้นได้นำไปให้[[สลา คุณวุฒิ]] จนกระทั่งผ่านไปเป็นปี สลาได้ติดต่อเธอให้ไปบันทึกเสยีงจากเพลงในโครงการ ''น้องใหม่ไต่ดาว โครงการ 2'' ในเพลง ''ฮักบ่ได้แต่ลืมอ้ายบ่ลง'' และ ''น้องตั้งใจฮัก อ้ายตั้งใจถิ่ม'' จากนั้นเธอกลายเป็นศิลปินสังกัด[[แกรมมี่โกลด์]] นับแต่นั้นเป็นต้นมา มีผลงานอันเป็นที่รู้จักหลังจากนี้อาทิ ''วอนปุ่ลำโขงปู่ลำโขง'', ''วัยอกหัก'' เป็นต้น
 
ใน พ.ศ. 2563 เธอได้ร่วมงานกับ[[เบียร์ พร้อมพงษ์]] ในเพลง ''เรวัตตะฮักนะลีลาวดี'' และ ''เรวัตตะลาฮัก'' ใน พ.ศ. 2564 เธอเริ่มเป็นที่รู้จักบ้างจากซิงเกิลแนวหมอลำของเธอคือ ''งิ้วต่องต้อนฮำฮอนผู้บ่าวเก่า'' ซึ่งประพันธ์โดยดอย อินทนนท์ โดยใช้ทำนอง ''งิ้วต่องต้อนอ้อนผู้บ่าว'' ของ[[บานเย็น รากแก่น]] และผลงานล่าสุดของเธอคือ ''กะคนบ่ฮักกัน'' ขับร้องและประพันธ์โดยเธอเอง