ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พืดหินปะการัง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 0 sources and tagging 1 as dead.) #IABot (v2.0.8
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 9:
แนวปะการังแบ่งออกได้เป็น 3 แบบด้วยกัน คือ
 
1. แนวปะการังนอกฝั่ง (Barrier reef) เป็นแนวปะการังขนาดใหญ่โต มีความกว้างยาวนับเป็นร้อย ๆ ไมล์ เช่น [[เกรตแบร์ริเออร์รีฟ]]
 
2. [[อะทอลล์|เกาะปะการัง]] (Atoll) เกิดขึ้นจากการรวมตัวทับถมกันของปะการังในแนวดิ่งจนกลายสภาพเป็น[[เกาะ]] ซึ่งเกาะลักษณะเช่นนี้ จะพบมากในแถบ[[มหาสมุทรแปซิฟิก|มหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้]] และ[[มหาสมุทรอินเดีย]] เช่น [[มัลดีฟส์]], [[หมู่เกาะสิมิลัน]] และ[[Sipadan|เกาะสีปาดัน]] ของ[[มาเลเซีย]] เป็นต้น
 
3. แนวปะการังชายฝั่ง (Fringing reef) เป็นแนวปะการังที่เกิดขึ้นในบริเวณ[[ชายฝั่ง]]และ[[หมู่เกาะ]]ในเขตน้ำค่อนข้างตื้น
 
และอาจแบ่งตามลักษณะสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันเป็น 4 รูปแบบด้วยกัน คือ
 
1. แนวปะการังริมฝั่ง เป็นแนวปะการังที่แท้จริง เพราะเป็นการสะสมตัวจนกลายเป็นแนวปะการัง พบได้ทั่วไปในแหล่งดำน้ำดูปะการังน้ำตื้นตามชายฝั่งและหมู่เกาะต่าง ๆ นับเป็นแนวปะการังชนิดที่ทรงคุณค่าที่สุด เพราะเป็นที่ที่สัตว์ทะเลจะใช้เวลาช่วงหนึ่งของชีวิตเข้ามาอาศัยเติบโตอยู่ในบริเวณนี้ ปะการังชนิดนี้ใน ปัจจุบันจัดเป็นปะการังที่มีความเสียหายมากที่สุด
 
2. กลุ่มปะการังบนพื้นทราย เป็นกลุ่มปะการังเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นบนพื้นทราย ยังมีการสะสมตัวกันไม่มากนัก ส่วนมากเป็น[[Faviidae|ปะการังสมอง]] (Faviidae) และ[[Acropora|ปะการังเขากวาง]] (''Acropora'' spp.)
 
3. ปะการังบนโขดหิน อยู่ในแนวน้ำลึก พบได้ในแหล่งดำน้ำทั่วไปในของ[[หมู่เกาะสิมิลัน]] แนวปะการังชนิดนี้เปรียบดัง[[โอเอซิส]]กลาง[[ทะเลทราย]] จึงเป็นที่รวมตัวของสัตว์ทะเลหลากหลาย โดยเฉพาะฝูง[[ปลา]]ต่าง ๆ ที่แวะเวียนเข้ามาหาอาหารอย่างสม่ำเสมอ
 
4. แหล่งกัลปังหาและปะการังอ่อน ไม่เชิงเป็นแนวปะการัง มีศักยภาพในการเป็นที่หลบภัยและที่อยู่อาศัยของ[[สัตว์น้ำ]]ไม่มากนัก จึงไม่ค่อยมีคุณค่าเท่าใดนักในระบบนิเวศ เพราะชนิดของปะการังแบบนี้ เป็น ปะการังบนโขดหิน, [[ปะการังอ่อน]] และ[[กัลปังหา]] แต่กลับทรงคุณค่าอย่างยิ่งในแง่การ[[ท่องเที่ยว]] เพราะเป็นจุดสนใจอย่างยิ่งของนักดำน้ำและช่างภาพใต้น้ำ
 
== ชีววิทยา ==