ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นีโครโนมิคอน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Necronomicon prop.jpg|thumb|right|225px|นีโครโนมิคอนจำลอง]]
'''''นีโครโนมิคอน''''' ([[อักษรละติน]]: Necronomicon) เป็นตำราเวทย์สมมุติที่ปรากฏในงานประพันธ์ชุด[[ตำนานคธูลู]] ของ [[เอช. พี. เลิฟคราฟท์]]และถูกหยิบยืมไปอ้างถึงโดยนักประพันธ์อื่นๆอื่น ๆ โดยปรากฏครั้งแรกใน[[เรื่องสั้น]] ''The Hound''<ref>[http://www.yankeeclassic.com/miskatonic/library/stacks/literature/lovecraft/stories/hound.htm "The Hound", by H. P. Lovecraft] Published February 1924 in "Weird Tales". YankeeClassic.com. Retrieved on January 31, 2009</ref> ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในปี [[พ.ศ. 2467]] แต่หนึ่งปีก่อนหน้านั้น เลิฟคราฟท์ก็ได้อ้างคำพูดของตัวละคร ''อับดุล อัลฮาเซรด'' ซึ่งเป็นผู้แต่งนีโครโนมิคอนไว้แล้วในเรื่อง ''The Nameless City''<ref>แม้จะเป็นไปได้ว่าหนังสือไม่มีชื่อในเรื่อง The Statement of Randolph Carter ซึ่งตีพิมพ์ในปี [[พ.ศ. 2462]]นั้นจะเป็นนีโครโนมิคอน แต่ ''เอส. ที. โจชิ'' ก็ได้ระบุว่าข้อความในนั้นเขียนด้วยอักขระที่ตัวละคร แรนดอล์ฟ คาเตอร์ไม่เคยเห็นมาก่อน ซึ่งไม่ตรงกับนีโครโนมิคอนฉบับใดๆที่ปรากฏ S. T. Joshi, "Afterword", ''History of the Necronomicon'', Necronomicon Press.</ref> เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้นั้นมีเรื่องราวของ[[เกรทโอลด์วัน]]และพิธีกรรมที่ใช้อัญเชิญอยู่ด้วย
 
นักประพันธ์คนอื่นๆอื่น ๆ เช่น [[ออกัสต์ เดอเลธ]]และ[[คลาก แอชตัน สมิท]] ได้ยืมเอานีโครโนมิคอนไปอ้างถึงในงานเขียนของตนเอง โดยได้รับการสนับสนุนจากเลิฟคราฟท์ซึ่งคิดว่าการยกมาใช้ร่วมกันนี้จะทำให้บรรยากาศของเรื่องสมจริงยิ่งขึ้น ทำให้มีผู้อ่านจำนวนมากเข้าใจผิดว่าหนังสือเล่มนี้มีจริง มีการสั่งซื้อหรือขอนีโครโนมิคอนผ่านทางผู้ขายหนังสือและบรรณารักษ์เป็นจำนวนมาก บางครั้งก็มีการแกล้งใส่ชื่อนีโครโนมิคอนไว้ในรายการหนังสือหายาก และเคยมีนักศึกษาแอบใส่บัตรของนีโครโนมิคอนไว้ในบัตรห้องสมุดของ[[มหาวิทยาลัยเยล]]<ref>[[L. Sprague de Camp]], ''[[Literary Swordsmen and Sorcerers]]'', p100-1 ISBN 0-87054-076-9</ref> หลังจากที่เลิฟคราฟท์เสียชีวิตไปแล้ว สำนักพิมพ์ต่างๆต่าง ๆ ก็ได้ตีพิมพ์หนังสือโดยใช้ชื่อว่านีโครโนมิคอนเป็นจำนวนมาก หนังสือรวมงานศิลป์เล่มแรกของ [[เอช อาร์ กีเกอร์]] ก็ใช้ชื่อว่านีโครโนมิคอน
 
==ที่มา==