ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระธาตุลำปางหลวง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
Nubbkao (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มประวัติ
บรรทัด 36:
 
== ประวัติ ==
ตาม[[ตำนานพระเจ้าเลียบโลก]]และตำนานพระธาตุลำปางหลวงกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์โสณเถร พระอุตตเถร พระรตนเถร และ[[พระอานนท์]] ได้เสด็จจาริกไปตามบ้านเมืองต่าง ๆ จนถึงบ้านลัมภะลัมพการีวันหรือบางฉบับเรียกบ้านลัมพกลานะ ([[บ้านลำปางหลวง]]) พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือ[[ดอยม่อนน้อย]] มี[[ชาวลวะ (ชาวลัวะ]]) คนหนึ่งชื่อ '''ลัวะอ้ายกอนอ้ายคอน''' เกิดความเลื่อมใส ได้นำ[[น้ำผึ้ง]]บรรจุกระบอกไม้พาง (ไม้ป้าง คือไผ่ข้าวหลาม) กับมะพร้าว และ[[มะตูม]]4 ลูกมาถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ฉันน้ำผึ้งแล้วทิ้งกระบอกไม้ป้างพางไปทางทิศเหนือ แล้วทรงพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะมีชื่อว่า '''ลัมพกัปปะนครลัมพาง''' แล้วได้(ลำปาง) ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศามาหนึ่งเส้น มอบให้แก่ลัวะอ้ายกอนผู้นั้น ลัวะอ้ายกอนได้นำพระเกศานั้น ลวะอ้ายคอนบรรจุในผอบกระบอกทองคำ และใส่ลงในอูปทองคำใหญ่ 8 กำมือ พระอินทร์ให้[[พระวิศวกรรม|พระวิสุกัมม์]]เนรมิตอุโมงค์พร้อมกับถวายใหญ่ 50 วา ลาดด้วยแผ่นแก้ววิธูรสูง แหวน7 เงินศอก ทองกว้าง เป็นเครื่องบูชา3 ศอก แล้วแต่งยนต์ผัดเชิญอูปทองคำประดิษฐานพระเกศาธาตุในถ้ำนั้น (ยนต์หมุน)ลวะอ้ายคอนกับคนทั้งหลายใส่ข้าวของบูชา รักษาไว้ และพระอินทร์ใส่ยนตร์ผัดแล้วถมดินให้เรียบเสมอกันอุโมงค์ แล้วก่อเป็น[[พระเจดีย์]]สูงเจ็ด 7 ศอกเหนืออุโมงค์นั้น ในสมัยต่อมาก็พระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานไปได้ 218 ปี จะมี[[กษัตริย์]][[พระอรหันต์ 2 รูป ชื่อกุมารกัสสปะกับเมฆิยเถร นำพระธาตุส่วนหน้าผากและลำคอมาบรรจุไว้ เจดีย์องค์นี้จะได้ชื่อ ลัมพางกัปปะ ภายหลังจากพระพุทเจ้าผู้ครองนครลำปาง]]อีกหลายพระองค์ปรินิพพานแล้ว พระกุมารกัสสปะได้นำพระธาตุส่วนพระนาลาฏ (หน้าผาก) มาก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซมบรรจุไว้ จนกระทั่งเป็นวัดที่มีความงามอย่างที่เป็นอยู่ถัดมาพระเมฆิยเถรได้นำพระธาตุส่วนพระศอ (ลำคอ) มาบรรจุไว้ พระญาสรีธัมมาโสกราชก็ได้นำพระธาตุมาบรรจุอีก รวมทั้งหมดทั้งหมด 3 องค์ด้วยกัน พระอรหันต์และเทวดาทั้งหลายได้สั่งให้เทวดาชื่ออุตตระให้อยู่รักษาพระธาตุในปัจจุบันเมืองลัมภกัปปนครนี้
 
ต่อมาพระญาจันทเทวราช กษัตริย์เมืองสุวรรณภูมิมีความปรารถนาอยากจะได้พระธาตุ จึงยกกองทัพมาเชิญพระธาตุไปยังเมืองของตน แต่พระธาตุทำปาฏิหาริย์กลับมายังที่เดิม พระญาจันทเทวราชทรงมีพระราชศรัทธา จึงให้ขุดหลุมลึก 20 วา ก่อด้วยอิฐเงินอิฐทองคำสูง 40 ศอก แล้วสร้างรูปราชสีห์ทองคำ 1 ตัว สร้างอูปทองคำกับอูปแก้วครอบอูปบรรจุพระธาตุเดิม เชิญอูปบรรจุพระธาตุทั้งหมดไว้บนหลังรูปราชสีห์ทองคำ นำรูปราชสีห์ทองคำนั้นลงหลุม ก่อเจดีย์ครอบไว้ พร้อมด้วยเครื่องบูชาสักการะจำนวนมาก สร้างยนต์รักษาพระธาตุ หุ้มด้วยแผ่นเงิน แล้วถมพื้นให้ปกติ พระญาจันทเทวราชปรารถนาจะตัดต้นไม้ขะจาวที่อยู่ใกล้สถานที่บรรจุพระธาตุ รุกขเทวดาที่รักษาพระธษตุเนรมิตเป็นชายแก่ออกมาห้ามไว้ พระญาจันทเทวราชนำทองคำที่เหลือจากการบรรจุประมาณ 2 โกฏิไปบรรจุที่ดอยพี่น้องเหนือเมืองเตริน (เถิน) แล้วอธิษฐานว่ากษัตริย์องค์ใดมีบุญสมภารเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จงนำทองคำนี้ไปบูรณะสร้างพระธาตุในเมืองลัมภกัปปนคร แล้วกลับเมืองของตน
ในทางประวัติศาสตร์นครลำปาง วัดพระธาตุลำปางหลวงมีประวัติว่า เมื่อปี [[พ.ศ. 2275]] นครลำปางว่างจากผู้ครองนคร และเกิดความวุ่นวายขึ้น สมัยนั้น[[พม่า]]เรืองอำนาจได้แผ่อิทธิพลปกครอง[[อาณาจักรล้านนา]]ไว้ได้ทั้งหมด พม่าได้ยึดครอง[[นครเชียงใหม่]] ลำพูน โดยแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์พม่า [[ท้าวมหายศ]] [[เจ้าผู้ครองนครลำพูน]]ได้ยกกำลังมายึดนครลำปาง โดยได้มาตั้งค่ายอยู่ภายในวัดพระธาตุลำปางหลวง ครั้งนั้น [[หนานทิพย์ช้าง]] ชาวบ้านปงยางคก (ปัจจุบันอยู่อำเภอห้างฉัตร) วีรบุรุษของชาวลำปาง ได้รวบรวมพลทำการต่อสู้ทัพเจ้ามหายศ โดยลอบเข้ามาในวัด และใช้ปืนยิงท้าวมหายศตาย แล้วตีทัพลำพูนแตกพ่ายไป ปัจจุบันยังปรากฏรอยลูกปืนอยู่บนรั้วทองเหลืองที่ล้อมองค์พระธาตุเจดีย์ ต่อมาหนานทิพย์ช้างได้รับสถาปนาขึ้นเป็น [[พระเจ้าทิพย์จักรสุละวะฤๅไชยสงคราม]] เจ้าผู้ครองนครลำปาง และเป็นต้นตระกูล [[ณ ลำปาง]] [[เชื้อเจ็ดตน|เจ้าเจ็ดตน]] [[ณ เชียงใหม่]] [[ณ ลำพูน]]
 
ต่อมาพระญาพลราช (สันนิษฐานว่าหมายถึงเมืองแพร่) มีความปรารถนาอยากจะได้พระธาตุ จึงยกกองทัพมาขุดหาพระธาตุ เมื่อขุดเจอแผ่นเงินก็นำออกมา ขุดต่อไปเจอยนต์ ไม่สามารถขุดต่อได้ ไม่ว่าจะนำหิน ไม้ ทรายถมลงไปก็ถูกยนต์ทำลายหมด พระญาพลราชโกรธจึงให้ถมดินที่ยนต์ นำคน 4 คนที่ต้องโทษมาฆ่า เอาหัวกองกันเหยียดเท้าไปทั้ง 4 ทิศให้รักษาพระธาตุ แล้วถมดินให้เป็นปกติ ปลูกต้นขะจาว 1 ต้นบริเวณที่ประดิษฐานพระธาตุ และปลูกต้นขะจาวแวดล้อมไว้เป็นที่สังเกต แล้วกลับเมืองของตนไป
 
พ.ศ. 1956 มหาราชเทวีเมืองเชียงใหม่เสด็จไปทัพยังแม่สลิด เมื่อเสร็จแล้วจึงมาอยู่ที่สบยาว ยามค่ำออกว่าราชการกับเสนาอำมาตย์ พระธาตุพระพุทธเจ้าแสดงปาฏิหาริย์ มหาราชเทวีว่าชาวเมืองไม่ยำเกรงตน เจาะไฟโตรดมารบกวน ล่ามพันทองกราบทูลว่าไม่ใช่ไฟโตรดแต่เป็นพระธาตุในเมืองลัมภปัปนครแสดงปาฏิหาริย์ วันถัดมามหาราชเทวีจึงเสด็จไปไหว้นมัสการบูชาพระธาตุ แล้วถามชาวเมืองว่าต้องการอะไรหรือไม่ ชาวเมืองว่าบริเวณนี้ขาดแคลนน้ำมาก มหาราชเทวีจึงอธิษฐานว่าถ้าสถานที่นี้เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุแท้จริง ขอให้มีน้ำผุดออกมาจากสะดือเมือง แล้วมหาราชเทวีเสด็จไปเมืองตาน ยังมียายแก่ชื่อย่าลอน ไปเห็นบ่อน้ำที่สัตว์กลิ้งเกลือกเป็นหลุม เขี่ยดูเกิดเป็นสายน้ำพุ่งออกมา (คือน้ำบ่อเลี้ยงพระนางจามเทวี) จึงนำน้ำใส่ไหไปถวายมหาราชเทวีที่เมืองตาน นางเถ้าแก่ชิมและว่าน้ำรสดีกว่าน้ำเจ็ดลินในเชียงใหม่ มหาราชเทวีจึงให้เสนาอำมาตย์ไปเลือกที่นาแปลงหนึ่งเรียกตูบนางเมือง มหาราชเทวีเสด็จมาที่ตูบแล้วแต่งเครื่องสักการะบูชาพระธาตุเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน ถวายนาล้านเบี้ยกับพระธาตุ ให้ล่ามพันทองกับนางดอกไม้พร้อมกัลปนาข้าคน 8 ครัวอยู่รักษาพระธาตุ กัลปนาข้าคนอีก 2 ครัวอยู่รักษาบ่อน้ำ แล้วกลับเมืองเชียงใหม่ (ตำนานกล่าวว่าเป็น[[พระนางจามเทวี]] แต่ศักราชและบริบทเนื้อเรื่องตำนานกลับเป็นยุคล้านนา [[ราชวงศ์มังราย]] แต่จะเป็นมหาเทวีองค์ใดต้องตรวจสอบต่อไป)
 
พ.ศ. 1992 หมื่นหาญแต่ท้อง เจ้าเมืองนครลำปาง พร้อมพระมหาเถรอัฏฐะทสี ขออาณาเขตพระธาตุและวัดกับ[[พระเจ้าติโลกราช]] ตัดต้นขะจาวที่พระญาพลราชทรงปลูกพร้อมทั้งขุดกระดูกคนทั้ง 4 ออก แล้วจึงก่อพระเจดีย์ กว้าง 9 วา สูง 15 วา และสร้างรอยพระพุทธบาท (ปัจจุบันอยู่ในวิหารละโว้)
 
พ.ศ. 2019 เจ้าหมื่นฅำเพก (เพชร) เจ้าเมืองนครลำปาง ได้ก่อวิหารและกำแพงแก้ว สร้างพระพุทธรูปน้ำหนักประมาณแสนหยิบหมื่นทอง (แสน 20 ชั่ง) (วิหารพระพุทธ) กัลปนาข้าคน 4 ครัว สร้างศาลาและบ่อน้ำ ถนนหนทางมาหน้าวัด กัลปนาที่นากับพระ 200 ข้าว<ref>https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/2035</ref>
 
เจ้าเมืองอ้ายอ่ำ บุตรของหมื่นหาญแต่ท้อง เจ้าเมืองนครลำปาง ได้ใส่ทองคำมหาธาตุพัน 4 ร้อยบาทซีกทองคำ กัลปนาข้าคน 4 ครัว
 
พ.ศ. 2039 เจ้าเมืองหาญสีทัตถมหาสุรมนตรี เจ้าเมืองนครลำปาง ชักชวนพระสงฆ์ นักบุญ กับเจ้าหมื่นเจ้าพันทั้งหลาย ขยายฐานเจดีย์ให้กว้าง 12 วา แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2042 เจดีย์กว้าง 12 วา สูง 19 วา 2 ศอก ใส่ทองคำมหาธาตุ 5 พัน 6 ร้อยบาทเสี้ยวทองคำ กัลปนาข้าคน 7 ครัว พ.ศ. 2044 สร้างวิหารหลวง พ.ศ. 2046 หล่อพระเจ้าล้านทอง กัลปนาข้าพระเจ้าล้านทอง 7 ครัว กัลปนาข้าสังฆอาราม 4 ครัว<ref>https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/2037</ref> นางเมืองหาญสีทัตถหล่อพระพุทธรูปน้ำหนัก 30,000 ทอง ประดิษฐานในวิหารด้านเหนือ (วิหารน้ำแต้ม) พระศิลาเจ้าอยู่วิหารด้านตะวันตก (วิหารละโว้) พระราชครูเจ้านำฉัตรทองคำมาใส่ยอดมหาธาตุ ภายหลังแผ่นดินไหว ยอดมหาธาตุหักพัง มหาสังฆราชาเจ้าอภัยทิฐะเมธังกรเจ้า มหาสังฆราชาวิจิตรญาณเมตตาเจ้าทำการยกฉัตรทองคำใหม่ พระเจดีย์จึงสูง 22 วา 1 ปลายอก
 
พ.ศ. 2116 มหาอุปราชาพระญาหลวงนครไชยบุรี เจ้าเมืองนครลำปาง มีศรัทธาสร้างฉัตรพระธาตุขึ้นใหม่ เนื่องจากฉัตรพระธาตุพังไปเมื่อลาวหงสามาตกเมืองนครลำปางและเมืองเชียงใหม่ มีพระมหาสมเด็จรัตนมงคลลัมภกัปปารามาธิปติ พระมหาสังฆราชาวัดหลวง มหาสังฆโมลีเชียงยืนเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ มหาอุบาสกแสนมหาธาตุเป็นประธานฝ่ายฆราวาส ภายหลังเกิดสงคราม ลำเวียงทอง (รั้วพระธาตุ) ถูกทำลาย พระมหาราชครูสรีกลางนคร สมเด็จเจ้ารัตนมังคละเจ้าลำพาง พร้อมกับคณะสงฆ์ร่วมกันสร้างลำเวียงทองขึ้นใหม่
 
พ.ศ. 1011 มหาวนวาสีอรัญสีลา พระมหาพละปัญโญลัมภกัปปรามาธิบดี พระหลวงเจ้าป่าตันพร้อมคณะสงฆ์ แสนหนังสือ หลวงนคร พ่อเมืองทุกคน ขุนวัดทุกคน ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวเมืองลำปาง ร่วมกันให้ชาวบ้านป่าตัน มีหมื่นมโนกับนายบ้านผู้เฒ่าผู้แก่ หล่อลำทองขึ้นใส่ยอดมหาธาตุ
 
พ.ศ. 2281 หมื่นมโนปัญญา บ้านลำพาง กลัวเภทภัยต่างๆ จึงหนีไปอยู่บ้านสองแคว แต่ก็นึกห่วงใยในพระธาตุลำปางหลวง กลัวว่าเจ้านายขุนนางผู้รู้ทั้งหลายจะเบียดบังเอาที่นาของวัดไปเป็นที่นาส่วนตน จึงกำหนดเขียนเขตแดนพื้นที่ของพระธาตุลำปางหลวง
 
พ.ศ. 2174 พระเจ้าสุทโธธัมมราชา ([[พระเจ้าตาลูน]]) กษัตริย์พม่า เข้ามาปราบล้านนาได้ และกัลปนาข้าวัดข้าพระธาตุตามจารีต โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ ข้าพระเจ้า (พระพุทธรูป) ข้าพระธาตุ และข้าพระเถระ<ref>สรัสวดี อ๋องสกุล. พินิจตำนานลำปาง. พิมพ์ครั้งที่ 2. ลำปาง:ครองช่างการพิมพ์, 2558.</ref>
 
พ.ศ. 2272 สวาธุหลวง (เจ้าอาวาส) วัดนายาง ตั้งตัวเป็นตนบุญเลี้ยงผีพราย มีคนเข้าหานับถือมาก ธุหลวงวัดสามขากับธุหลวงวัดบ้านฟ่อนสึกออกมาเป็นเสนา เวลานั้นเมืองลำปางไม่มีเจ้าเมืองปกครอง มีแต่พ่อเมืองทั้ง 4 ดูแลบ้านเมือง เจ้าเมืองลำพูนได้ข่าวตนบุญวัดนายาง จึงส่งกองทัพลำพูน นำโดยท้าวมหายสมาปราบ สู้รบกันที่ป่าทันคุมเมือง ฝ่ายตนบุญวัดนายางแตกพ่ายไป แกนนำทั้ง 3 ถูกยิงเสียชีวิต ท้าวมหายสมาตั้งทัพที่วัดพระธาตุลำปางหลวง ท้าวมหายสออกอุบายส่งหาญฟ้าแมบ หาญฟ้างำ หาญฟ้าฟื้นไปทำทีเจรจากับแสนหนังสือ แสนเทพ นายเรือน ชะเรหน้อย ท้าวลิ้นก่าน แต่เกิดการสู้รบกันขึ้น ชาวลำปางแตกหนีไปอยู่เมืองต้า เมืองลอง เมืองเมาะ เมืองขาง ครูบาวัดชุมพู ([[วัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดาราม]]) จะสึกออกมารบ ท้าวขุนเมืองขอไว้ไม่ให้สึก ครูบาวัดชุมพูจึงให้นายทิพพจักก์วเนจอรกับหมื่นยส หมื่นชิด น้อยทะ ไปลอบสังหารท้าวมหายสที่วัดพระธาตุลำปางหลวง โดยคลานดั้นเข้าผ่านท่อน้ำ ทั้งสี่คนไม่เคยเห็นหน้าท้าวมหายศจึงถามว่า “เจ้าท้าวมีไหน ตูข้าเปนฅนใช้ลุกละพูนมา” ขณะนั้นท้าวมหายสนั่งเล่นหมากรุกอยู่ ร้องตอบ “คูมีหนี้ (กูอยู่นี่)” นายทิพพจักก์วเนจอรจึงใช้สินาดปืนยิงสังหารท้าวมหายศ แล้วไล่ฟันแทงข้าศึกโกลาหล ไพร่พลลำพูนระส่ำระสายพากันกรูออกจากวัด กองกำลังลำปาง 300 คนที่รอนอกวัดบุกตี พวกลำพูนแตกพ่ายกลับเมือง ชาวเมืองจึงสถาปนาหนานทิพย์ช้างขึ้นครองลำปาง ในปี พ.ศ. 2275 มีพระนามว่า [[พระยาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง)|พระญาสุลวะลือไชย]] ภายหลังได้รับการแต่งตั้งจากพม่าให้เป็นพระญาไชยสงคราม<ref>ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี. เชียงใหม่:ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฎเชียงใหม่, 2538</ref>
 
พ.ศ. 2339 [[พระเจ้ากาวิละ]] พระเจ้านครเชียงใหม่ พร้อมด้วยพระราชมารดาและวงศานุวงศ์ ได้นำเครื่องไทยทานทั้งหลาย มีมหาอักฐปริกขาร เตียงอาสนาพระเจ้า งาช้าง ทุงคะด้าง (ุตุงกระด้าง) ช่อฟ้า ทุงพระบฏ รางลินทองคำ เครื่องท้าว ฉัตร ช่อช้าง ช่อน้อยทุงไชยมาถวายวัดพระธาตุลำปางหลวง พร้อมยกช่อฟ้า สร้างลำเวียงพระธาตุ (สัตติบัญชร)<ref>https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/2040</ref> มีการฉลองเจาะบอกไฟดอก บอกไฟดาว ไฟเทียน ไฟขึ้น บูชาพระธาตุอย่างยิ่งใหญ่<ref>ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับเชียงใหม่ 700 ปี. เชียงใหม่:ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สถาบันราชภัฎเชียงใหม่, 2538</ref>
 
พ.ศ. 2355 [[พระเจ้าดวงทิพย์]] เจ้านครลำปาง เป็นประธานหล่อระฆังทองสำริด ปัจจุบันอยู่ภายในหอระฆัง
 
พ.ศ. 2373 พระญาไชยสงครามถวายข้าคนกับพระธาตุ 2 คน ช้างแม่ 1 ตัว
 
พ.ศ. 2375 มหาสวาธุเจ้าสังฆราชาพร้อมด้วยคณะสงฆ์ พระองค์เจ้าสุวรรณหอคําเขลางค์ลัมพกบุรีราชธานี ([[พระยาไชยวงศ์]]) เจ้านครลำปาง พร้อมด้วยวงศานุวงศ์ได้สร้างฉัตรพระธาตุขึ้นใหม่ เนื่องจากฉัตรเก่าถูกลมพัดหัก และได้แต่งทูตไปกราบทูล[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงมีพระหฤทัยยินดีจึงได้พระราชทานแก้วและทองคำเปลวมาให้
 
พ.ศ. 2410 [[เจ้าวรญาณรังษี]] เจ้านครลำปาง เป็นประธานหล่อระฆังทองสำริด ปัจจุบันอยู่ภายในหอระฆัง
 
พ.ศ. 2466 พระธรรมจินดานายก (ฝาย) เจ้าคณะจังหวัดนครลำปาง ได้ทำการบูรณะวิหารหลวงครั้งใหญ่ เปลี่ยนเสาไม้วิหารหลวงจากแปดเหลี่ยมเป็นทรงกลม สร้างเพดานวิหาร เปลี่ยนหน้าบันวิหารหลวงและช่อฟ้าป้านลมให้เป็นแบบภาคกลาง ติดตราสัญลักษณ์เจ้าคณะจังหวัดลำปางพร้อมเครื่องยศบริเวณหน้าบันวิหารหลวง ย้ายทุงคะด้างของพระเจ้ากาวิละจากหน้ามณฑปพระเจ้าล้านทองไปด้านหลัง
 
พ.ศ. 2469 ธุเจ้าอภิวงสาอวาส พร้อมด้วยพ่อเลี้ยงแสนเทพ หนานไชยอาจารย์ หนานอภิวงสา หนานกาวี น้อยยสและครอบครัว ศรัทธาบ้านนาเวียง ได้สร้างทุงศิลา 2 ผืน บูชาพระธาตุลำปางหลวง หน้าวิหารพระพุทธ<ref>https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/18145</ref>
 
พ.ศ. 2500 พระครูมหาเจติยาภิบาล (ครูบาถา ถาวโร) เจ้าอาวาส พร้อมลูกศิษย์โยมญาติ ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการวัด ศรัทธาวัดทุกคน ได้ทำเรื่องพระธาตุลำปางหลวงถูกฟ้าผ่า [[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป.พิบูลสงคราม]] ได้มอบเงิน 40,000 บาท ผ่านทางจังหวัด เพื่อใช้ในการบูรณะ ครูบาถา ถาวโรจึงได้ยกฉัตรใหม่ หุ้มทองจังโกใหม่ หมดเงินไป 32,500 บาท<ref>https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/18141</ref>
 
== ศิลปกรรม ==