ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความเห็นพ้อง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 0 sources and tagging 1 as dead.) #IABot (v2.0.8
บรรทัด 28:
สำหรับ[[ประเทศไทย]] ศาสตราจารย์ [[กาญจนา นาคสกุล|ดร.กาญจนา นาคสกุล]] ได้ให้นิยาม “ฉันทามติ” ว่าเป็นคำที่ไม่ปรากฏใน[[พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน]] พ.ศ. 2542 คำที่ใกล้เคียงกัน คือ คำว่า “ฉันทาคติ” แปลว่า ความลำเอียงเพราะรักใคร่ชอบใจ กับคำว่า “ฉันทานุมัติ” แปลว่า ความเห็นชอบตามโดยความพอใจ ให้กระทำการด้วยความเต็มใจ มักใช้ว่ามีฉันทานุมัติหรือลงฉันทานุมัติ หมายความว่าลงความเห็นด้วยความยินยอมพร้อมใจ เช่น ญาติ ๆ มีฉันทานุมัติให้เขาเป็นผู้จัดการมรดกของคุณปู่ “ฉันทานุมัติ” กับ “ฉันทามติ” จึงใช้ในความหมายเดียวกัน<ref>“ฉันทามติ” (2555). ราชบัณฑิตสถาน. เข้าถึงวันที่ 20 สิงหาคม 2555 ใน [http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=381].</ref> คำที่เขียนถูกต้องควรจะเป็น “ฉันทมติ” ซึ่งเป็นคำสมาสของ ฉันท+มติ หากเขียนว่า “ฉันทามติ” จะหมายถึง ฉันท+อมติ ซึ่งมีความหมายตรงกันข้าม<ref>[https://siamrath.co.th/n/99901 “ฉันทามติ?” หมายความว่าอย่างไร]</ref>
 
ในเชิงการนำไปใช้พบตัวอย่างเช่น ในเอกสารแผนพัฒนาการเมืองของสภาพัฒนาการเมืองเห็นว่า การสร้างกระบวนการแสวงหาฉันทามติในการหาข้อสรุปหรือมติที่ “ทุกคน” ที่เกี่ยวข้องยอมรับด้วยความเต็มใจโดยไม่มองข้ามความคิดเห็นหรือข้อคัดค้านของคนส่วนน้อย หลายครั้งจึงพบว่า “ญัตติสาธารณะ” และการริเริ่มหรือการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ๆ ทางการเมืองอาจถูกอ้างว่าได้รับฉันทานุมัติจากประชาชนนอกสภา เช่น การขับไล่[[เผด็จการทหาร]] หรือเผด็จการระบอบรัฐสภา [[รัฐธรรมนูญ|การร่างรัฐธรรมนูญ]] รวมทั้งการปฏิรูปการเมือง เป็นต้น แต่ในความเป็นจริง สังคมไทยยังไม่เคยนำกระบวนการตัดสินใจแบบเห็นพ้องต้องกันอย่างฉันทามติมาใช้อย่างเป็นทางการเลย<ref>“แผนพัฒนาการเมือง” (2555). สภาพัฒนาการเมือง. เข้าถึงวันที่ 20 สิงหาคม 2555 ใน [http://www.pdc.go.th/th/images/stories/file/Council_for_Political_Development/inside.pdf]{{ลิงก์เสีย|date=กันยายน 2021 |bot=InternetArchiveBot |fix-attempted=yes }}.</ref>
 
ด้วยเหตุนี้จึงเห็นได้ว่าการใช้คำว่าความเห็นพ้องใน[[สังคมไทย]]ยังมีปัญหาในการทำความเข้าใจใน 2 ระดับดังนี้