ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Lotje (คุย | ส่วนร่วม)
<ref></ref>
บรรทัด 70:
 
== สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย ==
[[ไฟล์:Thammasat Dhammachak.jpg|alt=|thumb|314x314px|[[ธรรมจักร]] สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]
[[ไฟล์:AguinaldoShrinejf0866 03.JPG|284px|thumb|ดอกของต้นหางนกยูงฝรั่ง]]
 
* '''[[ธรรมจักร]]''' เป็นตราประจำมหาวิทยาลัย<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2509/A/019/220.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช 2482 (ฉบับที่ 50) (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี)], ราชกิจจานุเบกษา</ref> โดยตราธรรมจักรนี้มี 12 แฉก อันหมายถึง [[อริยสัจ 4]] ซึ่งวนอยู่ในญาณ 3 คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ และมีพานรัฐธรรมนูญอยู่ตรงกลาง อันหมายถึงการยึดมั่นและรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย<ref>มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. '''วันธรรมศาสตร์ 10 ธันวาคม 2546'''. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2546).</ref>
บรรทัด 281:
 
==== การจัดอันดับโดย University Ranking by Academic Performance ====
อันดับที่จัดโดย University Ranking by Academic Performance หรือ URAP ปี พ.ศ. 2558 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 9 ของประเทศไทย และอันดับ 1370 ของโลก<ref>[>[http://www.urapcenter.org/2015/country.php?ccode=TH&rank=all]</ref> โดยมีพื้นฐานทางด้านวิชาการตรงตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คุณภาพและปริมาณของบทความตีพิมพ์ทางวิชาการ บทความวิจัย การเผยแพร่ และการอ้างอิง
 
== อันดับของมหาวิทยาลัยในด้านอื่นๆ ==
บรรทัด 318:
 
=== ท่าพระจันทร์ ===
[[ไฟล์:Thammasat University shot from Sirirat.jpg|thumb|500px|มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มุมมองจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2551]]
 
ตั้งอยู่เลขที่ 2 [[ถนนพระจันทร์]] [[แขวงพระบรมมหาราชวัง]] [[เขตพระนคร]] [[กรุงเทพมหานคร]] ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณท่าพระจันทร์ ในเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร ในเริ่มแรกแห่งการสถาปนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดการเรียนการสอนที่ตึกโรงเรียนกฎหมายเดิม (เพราะบุคลากรตลอดจนทรัพย์สินของโรงเรียนกฎหมายไม่ได้เปลี่ยนแปลง หลังจากรอการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัย จึงโอนมาเป็นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทั้งหมด) เป็นเวลา 2 ปี แล้วจึงซื้อที่ดินจากกรมทหารซึ่งเป็นคลังแสงเดิม แล้วจึงย้ายมาอยู่บริเวณท่าพระจันทร์ ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณ[[เกาะรัตนโกสินทร์]] ติดกับ[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]และ[[สนามหลวง]] มีเนื้อที่ 49 ไร่ เป็นศูนย์แรกของมหาวิทยาลัยตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง เดิมบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของ[[วังหน้า]] (พระราชวังบวรสถานมงคล)
บรรทัด 325:
 
==== สถาปัตยกรรมและสถานที่สำคัญ ====
[[ไฟล์:Thammasat Dome.jpg|thumb|230px|right|[[ตึกโดม]]ท่าพระจันทร์]]
 
* '''[[ตึกโดม]]''' [[หมิว อภัยวงศ์|จิตรเสน (หมิว) อภัยวงศ์]] ออกแบบด้วยการเชื่อมอาคารทั้ง 4 หลัง ที่เป็นของกองพันทหารราบที่ 4 เดิม ต่อเข้าเป็นตึกเดียวกัน จุดเชื่อมอยู่ระหว่างอาคารที่ 2 และ 3 ตึกโดมได้รับการออกแบบให้โดนเด่นตามแนวคิดของศาสตราจารย์ ดร.[[ปรีดี พนมยงค์]] ผู้ประศาสน์การ เพื่อให้เป็นสถาปัตยกรรมที่ไม่ได้เลียนแบบชาติอื่น ปัจจุบัน ตึกโดมเหลือเพียงอาคาร 2 และ 3 เดิม เพราะตึกฝั่งเหนือถูกทุบเพื่อสร้างตึกคณะเศรษฐศาสตร์ สำนักหอสมุด และอาคารเอนกประสงค์ นอกจากนี้ กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนตึกโดมเป็นโบราณสถาน และ[[สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์]] ได้คัดเลือกตึกโดมให้ได้รับรางวัล[[อาคารอนุรักษ์|อาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น]] ประเภทสถาบันและอาคารสาธารณะ ในงานสถาปนิก 48 ศาสตราจารย์ ดร.[[สุรพล นิติไกรพจน์]] อธิการบดีในขณะนั้น ได้เข้ารับพระราชทานรางวัลดังกล่าวจาก[[สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2550 ณ ศาลาดุสิตาลัย [[สวนจิตรลดา]] [[พระราชวังดุสิต]]<ref>ข่าวจุลสารธรรมศาสตร์ . (2550). '''อาคารโดมธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ อาคารอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น.''' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.tu.ac.th/news/journal/2007/02/jul.p01-p16.htm#p01v]. (เข้าถึงเมื่อ: 27 สิงหาคม 2553).</ref>
บรรทัด 349:
ใน พ.ศ. 2527 ได้มีการจัดสร้างประตูป้อมขึ้นมาใหม่อีกครั้งเพื่อเฉลิมฉลองการที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีอายุครบรอบ 50 ปี ในการก่อสร้างประตูป้อมในครั้งนั้น ได้มีการขุดค้นพบปืนใหญ่ของวังหน้าจำนวน 9 กระบอก ที่ฝังอยู่ใต้ดิน โดยเป็นปืนใหญ่รุ่นโบราณผลิตจากประเทศอังกฤษ ที่ต้องใส่ดินปืน และลูกปืนจากทางด้านหน้าทาง โดยปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้นำขึ้นมาบูรณะแล้วจัดตั้งแสดงไว้ที่ริมรั้วหน้าหอประชุมใหญ่ด้านสนามหลวง
 
[[ไฟล์:TUmainauditorium.jpg|thumb|right|300px|หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]
[[ไฟล์:Sculpture of 6 October 1976 Memorial.jpg|thumb|right|300px|ประติมากรรม 6 ตุลาคม 2519 ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์]]
 
* '''หอประชุมใหญ่''' สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2497 ในวาระครบรอบ 20 ปี ของการสถาปนามหาวิทยาลัย โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นอธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัย มีการวางศิลาฤกษ์ในวันสถาปนามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2497 และสร้างแล้วเสร็จในสมัยที่พลเอก [[ถนอม กิตติขจร]] เป็นอธิการบดี ในราว พ.ศ. 2506 โดยหอประชุมนี้ก่อสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นหอประชุมที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยนั้น<ref name="horyai">[http://www.tu.ac.th/intro/about/place_rec.htm#a7 หอประชุมใหญ่] จาก tu.ac.th</ref> ทั้งในเรื่องของระบบเสียง ความเย็น และที่นั่ง ซึ่งมีทั้งสิ้น 2,500 ที่นั่ง โดยแยกออกเป็น ที่นั่งชั้นล่าง 1,800 ที่นั่ง และชั้นบน 700 ที่นั่ง ส่วนทางด้านทิศใต้ของหอประชุมนี้จัดทำเป็น '''หอประชุมเล็ก''' อีกส่วนหนึ่ง โดยบรรจุคนได้ราว 500 คน ปัจจุบันหอประชุมเล็กเรียกชื่อว่า '''หอประชุมศรีบูรพา''' ตามนามปากกาของ[[กุหลาบ สายประดิษฐ์]] ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัย
บรรทัด 366:
ศูนย์รังสิตเป็นศูนย์ที่ใหญ่ที่สุด มีเนื้อที่ 1,757 ไร่ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 99 หมู่ 18 [[ถนนพหลโยธิน]] ตำบลคลองหนึ่ง [[อำเภอคลองหลวง]] [[จังหวัดปทุมธานี]] ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางเหนือประมาณ 42 กิโลเมตร อยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า “กลุ่มวิสาหกิจเทคโนโลยีกรุงเทพตอนบน”<ref name="Thaweesak">[[ทวีศักดิ์ กออนันตกูล]], [http://www.nectec.or.th/bid/DrThaweesal20031223-NECTECTechRoadMap3.pdf NECTEC Technology Roadmap in Software Technology]</ref> โดยมีสถาบันที่อยู่ใกล้เคียงได้แก่ [[สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย]]และ[[อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย]] นอกจากนี้ยังมีสวนอุตสาหกรรมจำนวนมากในพื้นที่ใกล้เคียง
 
[[ไฟล์:Dome TU Rangsit.jpg|thumb|350px|right|ตึกโดมบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต]]
 
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2512 ศาสตราจารย์ [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์]] อธิการบดีในขณะนั้นได้รับโอนกรรมสิทธิ์การครอบครองที่ดินทุ่งรังสิตจากกระทรวงอุตสาหกรรม และศาสตราจารย์ ดร.[[ป๋วย อึ๊งภากรณ์]] อธิการบดีใน พ.ศ. 2518 ที่เห็นว่าในการพัฒนาประเทศนั้น จะขาดบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่ได้ มหาวิทยาลัยจึงวางแผนการขยายวิทยาเขตไปที่ชานเมือง
 
เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จพระราชดำเนินมาวางศิลาฤกษ์อาคารโดมบริหาร และวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย[[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]]เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร มาทรงประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และปลูกต้นยูงทอง ณ บริเวณอาคารโดมบริหาร พร้อมทั้งทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์[[โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ]]ในคราวเดียวกันด้วย และต่อมาเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2531 [[สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] ได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาเปิดโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
[[ไฟล์:อาคารปิยชาติ ธรรมศาสตร์.jpg|thumb|300px|อาคารปิยชาติ]]
จากมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 3/2528 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 [[คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์|คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]] ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2528 จึงเป็นคณะแรกที่เปิดสอนที่ศูนย์รังสิต ในปีการศึกษา 2529
 
17 มิถุนายน พ.ศ. 2528 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดอาคารศูนย์ญี่ปุ่นศึกษา ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณค่าก่อสร้างจาก[[ประเทศญี่ปุ่น|รัฐบาลญี่ปุ่น]] และในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2529 [[สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์]] ได้ทรงประกอบพิธีเปิดอาคาร[[สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์|สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร]]<ref>มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2553). '''ประวัติความเป็นมาของ มธ. ศูนย์รังสิต.''' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.tu.ac.th/org/rscampus/rscampus/html/tu_history.html]. (เข้าถึงเมื่อ: 30 สิงหาคม 2553).</ref>
 
[[ไฟล์:Thammasat stadium D2.jpg|thumb|370px|left|สนามฟุตบอลธรรมศาสตร์ รังสิต]]
 
ต่อมาใน พ.ศ. 2542 มหาวิทยาลัยเห็นควรสร้างอาคารหอพระและเอนกประสงค์ศาลาในบริเวณเดียวกับองค์พระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเททองหล่อพระ จำนวน 4 องค์ เพื่อประดิษฐาน ณ ท่าพระจันทร์ ศูนย์รังสิต ศูนย์พัทยา และ[[สมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์]] ทั้งพระราชทานนามพระพุทธรูปดังกล่าวว่า .พระพุทธธรรมทิฐิศาสดา” เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2527 โดย[[สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] เสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์อาคารหอพระเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542<ref>มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2544.). '''จุลสารธรรมศาสตร์ ฉบับแนะนำหอพักและอเนกประสงค์ศาลา.''' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.tu.ac.th/org/rscampus/html/tb_sp/01.html]. (เข้าถึงเมื่อ: 30 สิงหาคม 2553).</ref> และต่อมาได้อัญเชิญพระพุทธธรรมทิฐิศาสดามาประดิษฐาน ณ หอพระดังกล่าว
ภายในศูนย์ประกอบด้วยกลุ่มอาคารเรียนต่าง ๆ [[โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ]] อาคารอำนวยการ อาคารบริการวิชาการ เช่น ศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษา โรงพิมพ์ สิ่งอำนวยความสะดวกเช่น ร้านอาหาร ร้านค้าและธนาคาร กลุ่มหอพักนักศึกษาและบุคลากร โรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์ โรงเรียนอนุบาลแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอาคารระบบสาธารณูปโภค เช่น โรงไฟฟ้าย่อย และโรงบำบัดน้ำเสีย ศูนย์นี้ยังเป็นที่ตั้งของศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์<ref>สโมสรฟุตบอลอินทรีเพื่อนตำรวจ. (2552.). '''สนาม.''' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.inseepolicefc.com/sanam.php]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).</ref> ซึ่งเป็นศูนย์กีฬากลางแจ้งและในร่มขนาดใหญ่ ที่เคยเป็นสนามกีฬารองรับการแข่งขันระดับนานาชาติ เช่น [[เอเชียนเกมส์ 1998|เอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13]] พ.ศ. 2541 และ [[กีฬามหาวิทยาลัยโลก]] พ.ศ. 2550
เส้น 386 ⟶ 385:
 
=== ศูนย์ลำปาง ===
[[ไฟล์:Dome LP.jpg|thumb|350px|right|อาคารสิรินธรารัตน์ (ตึกโดมแก้ว) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง]]
 
[[ไฟล์:Dome LP.jpg|thumb|350px|right|อาคารสิรินธรารัตน์ (ตึกโดมแก้ว) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง]]
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เริ่มต้นพิจารณาการขยายการศึกษาไปสู่ภูมิภาคอย่างจริงจัง เมื่อปีการศึกษา 2535 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในจังหวัดลำปาง ได้ขยายการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการเมืองการปกครอง มายังจังหวัดลำปางเป็นครั้งแรก และได้เล็งเห็นถึงความพร้อมและความเหมาะสมของจังหวัดลำปางในฐานะที่จะเป็นศูนย์กลางการพัฒนาการศึกษาในเขตภาคเหนือ ในปี 2539 เมื่อทบวงมหาวิทยาลัยมีนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพไปสู่ภูมิภาคในรูปของโครงการขยายวิทยาเขต พร้อมทั้งพัฒนาโครงการ เครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงมีมติให้ดำเนินโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ขึ้น เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2539 ในระยะแรกมหาวิทยาลัยได้รับอนุญาตให้ใช้ศาลากลางจังหวัดลำปาง (หลังเดิม) ปรับปรุงเป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน โดยนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2541 ต้องมาเรียนที่ศูนย์รังสิตก่อน และในปีการศึกษา 2542 เมื่อปรับปรุงอาคารศาลากลางหลังเดิมแล้วเสร็จ ศูนย์ลำปางจึงได้รับนักศึกษา สาขาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์รุ่นแรกกลับมาเรียนที่ลำปาง และได้เปิดสาขาวิชาใหม่เพิ่มขึ้นอีก 1 สาขาวิชาคือ สาขาสหวิทยาการสังคมศาสตร์ (วิทยาลัยสหวิทยาการปัจจุบัน)
 
เส้น 414 ⟶ 413:
 
=== ชุมนุม ชมรม กลุ่มกิจกรรม กลุ่มอิสระในมหาวิทยาลัย ===
[[ไฟล์:DhammachakParadeTU.jpg|thumb|220px|เสลี่ยงเชิญตราธรรมจักรในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 66 โดยองค์การนักศึกษาร่วมกับนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]
 
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านกิจกรรมนักศึกษา
1.#[[องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] (อมธ.) กิจกรรมภายในของนักศึกษานั้น จะอยู่ภายใต้การดูแลขององค์การของนักศึกษา โดยทำงานประสานกับ งานกิจกรรมนักศึกษา กองกิจการนักศึกษา
2.#[[สภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] ประกอบด้วย 3 วิทยาเขต คือ รังสิต ท่าพระจันทร์ และ ลำปาง ทำหน้าที่พิจารณาโครงการ งบประมาณ การจัดตั้ง–ยุบชุมนุมชมรม รวมไปถึงการพิจารณากฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ของแต่ละศูนย์ หากมีเรื่องเร่งด่วนจะมีการประชุมสภาทั้งหมด โดยทำงานประสานกับ งานกิจกรรมนักศึกษา กองกิจการนักศึกษา
3.#[[คณะกรรมการหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] (กพน.) กำกับดูแลหอพักนักศึกษา โดยทำงานประสานกับกลุ่มงานผู้ช่วยอาจารย์หอพัก สำนักงานจัดการทรัพย์สิน
4.#คณะกรรมการนักศึกษา คณะกรรมการนักศึกษาของแต่ละคณะมีทำหน้าที่ดำเนินกิจกรรมและเป็นตัวแทนของนักศึกษาในคณะ อยู่ในความดูแลของรองคณบดีหรือผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการนักศึกษาของคณะนั้นๆ
 
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังประกอบด้วยชุมนุมชมรต่างๆ แบ่งได้เป็น 4 ฝ่าย<ref>สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (มปป.). ''' ข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยกิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2552 และ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2552''' (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก [http://cwweb.tu.ac.th/oth/meeting/quesdata/Data/B590.pdf] เข้าถึงเมื่อ: 27 สิงหาคม 2553.</ref> ดังต่อไปนี้
เส้น 441 ⟶ 440:
 
=== กีฬาและนันทนาการ ===
[[ไฟล์:OpenCere72.jpg|thumb|400px|บรรยากาศพิธีเปิดงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 71]]
 
* '''[[งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์]] หรือ งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ''' เป็นการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดลุยเดชระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ. 2477 จนถึงปัจจุบัน โดยสลับกันเป็นเจ้าภาพฝ่ายละหนึ่งปี ปกติจัดขึ้น ณ [[สนามศุภชลาศัย]]
*'''[[งานรักบี้ประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์]] หรือ งานรักบี้ประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ''' เป็นการแข่งขันรักบี้ชิงถ้วยพระราชทาน[[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]] ซึ่งเริ่มจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2480 แต่ได้ยุติไประยะหนึ่ง และได้มีการฟื้นฟูการแข่งขันอีกครั้งตั้งแต่ พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
 
*'''ทูตกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์''' คือกลุ่มตัวแทนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการบำเพ็ญประโยชน์ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ในงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์–จุฬาฯยังได้รับหน้าที่เป็น ผู้นำของขบวนพาเหรดของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นผู้นำขบวนอัญเชิญธรรมจักร ผู้อัญเชิญป้ายนามมหาวิทยาลัย ถ้วยพระราชทาน และที่สำคัญยังเป็นดรัมเมเยอร์อีกด้วย
*'''[[เชียร์ลีดเดอร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]''' หรือผู้นำเชียร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นตัวแทนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยสำหรับทำหน้าที่นำกองเชียร์ส่งเสียงเชียร์นักกีฬา โดยเฉพาะในงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์–จุฬา
เส้น 470 ⟶ 469:
 
==== ศูนย์รังสิต ====
[[ไฟล์:TUAsianGameDorm.jpg|thumb|right|350px|กลุ่มอาคารหอพักเอเชี่ยนเกม โซนบี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต]]
 
สำหรับศูนย์รังสิต สำนักงานจัดการทรัพย์สิน ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจดูแลระบบการจัดสรรที่พักอาศัยของทั้งบุคลากรและนักศึกษา ได้ออกระเบียบให้นักศึกษาต้องแจ้งย้ายเข้าทะเบียนราษฎร์ของตนเองเข้ามาในทะเบียนบ้านกลางของมหาวิทยาลัย<ref>สำนักงานจัดการทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (มปป.). '''ทำไมถึงต้องย้ายทะเบียนบ้านด้วยค่ะ.''' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://tpm.tu.ac.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=472499&Ntype=5]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).</ref> โดยนักศึกษาแต่ละคณะจะมีบ้านเลขที่ประจำคณะตนเองภายใต้ท้องถิ่นตำบลคลองหนึ่ง เทศบาลเมืองท่าโขลง จังหวัดปทุมธานี เช่น เลขที่ 99/3 หมู่ 18 สำหรับนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ และ 99/8 หมู่ 18 สำหรับคณะเศรษฐศาสตร์ เป็นต้น
โดยมหาวิทยาลัยได้มีสวัสดิการที่พักสำหรับนักศึกษา หลายกลุ่ม และราคา ดังนี้
 
[[ไฟล์:TUAsianGameDorm.jpg|thumb|right|350px|กลุ่มอาคารหอพักเอเชี่ยนเกม โซนบี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต]]
 
* '''กลุ่มอาคารหอพักเอเชี่ยนเกมส์''' ประกอบไปด้วย อาคารหอพักแบบห้องเดี่ยว คือ พัก 2 คน ได้แก่ โซนซี 11 อาคาร โซนอี 2 อาคาร และอาคารหอพักแบบชุด คือ พัก 4 คน ได้แก่ โซนบี 8 อาคาร โดยทั้งสอบแบบมีอุปกรณ์ครุภัณฑ์ภายในห้องพัก ได้แก่ เตียงนอน โต๊ะหัวเตียง ตู้เสื้อผ้า โต๊ะเขียนหนังสือ เก้าอี้ โทรศัพท์สายตรง ADSL โทรทัศน์สัญญาณจานดาวเทียม เครื่องปรับอากาศ ราวพาดผ้า เครื่องตรวจจับควันไฟ ลานซักล้าง ห้องน้ำในตัวพร้อมเครื่องทำน้ำอุ่น ระบบโทรทัศน์วงจรปิด ลิฟท์โดยสาร ตู้เย็น ไมโครเวฟ เครื่องทำน้ำร้อน เครื่องกรองน้ำ เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ ตู้กดบริการเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ และบริการซักรีด สำหรับอาคารหอพักแบบชุด คือ โซนบี มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกเพิ่มเติมคือ แยกห้องน้ำห้องส้วม โต๊ะรับประทานอาหาร และชุดรับแขก
เส้น 500 ⟶ 499:
 
=== ศูนย์รังสิต ===
[[ไฟล์:ที่หยุดรถไฟมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.jpg|290px|thumbnailthumb|สถานีรถไฟมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อที่ใกล้ที่สุด]]
[[ไฟล์:TUNGV.JPG|260px|thumb|รถเอ็นจีวี]]
 
สามารถเดินทางมาศูนย์รังสิต ได้หลายเส้นทางทั้งทาง[[รถยนต์]]โดยผ่าน[[ถนนพหลโยธิน]] หรือ [[ทางพิเศษอุดรรัถยา]] และ [[ถนนกาญจนาภิเษก|ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันออก)]] โดยผ่าน[[ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3214|ถนนเชียงราก/ถนนคลองหลวง]] [[รถเมล์]] สาย ปอ.29 39(ปอ.) 510 และ 520 รถตู้โดยสารร่วม ขสมก. สาย ต.85 จาก [[อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ]] และ สาย ต.118 จาก [[สถานีหมอชิต|รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีหมอชิต]]/[[สถานีสวนจตุจักร|รถไฟฟ้ามหานคร สถานีสวนจตุจักร]] รถตู้โดยสารปรับอากาศท่าพระจันทร์–ศูนย์รังสิต และรถตู้โดยสารปรับอากาศจากฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต รวมทั้งสามารถเดินทางโดย[[รถไฟ]] มาลงที่สถานีรถไฟมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้อีกทางหนึ่ง สำหรับสถานีรถไฟมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สร้างขึ้นเพื่อรองรับการแข่งขัน[[เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13]] โดยตั้งอยู่หลังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ปัจจุบันมีขบวนรถชานเมืองและธรรมดา หยุดรับส่งผู้โดยสาร 11 ขบวนต่อวัน
 
[[ไฟล์:TUNGV.JPG|260px|thumb|รถเอ็นจีวี]]
สำหรับการเดินทางในมหาวิทยาลัย มีรถโดยสารเชื้อเพลิงก๊าซเอ็นจีวี<ref>มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2548). '''การเดินทางภายในมหาวิทยาลัย.''' [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.tu.ac.th/org/rscampus/html/travel/travel05.html]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).</ref> บริการรับ–ส่งนักศึกษาและบุคลากรโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และรถโดยสารขนาดเล็ก (สองแถว) ให้บริการในราคาประหยัด รถทั้ง 2 ประเภทให้บริการ 3 เส้นทางดังนี้
; สายที่ 1 หมู่บ้านนักกีฬา โซนซี – ศูนย์การประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต (ยิมเนเซียม 1)
บรรทัด 519:
== พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ==
{{ดูเพิ่มที่|พิธีพระราชทานปริญญาบัตร}}
[[ไฟล์:TUmainauditorium.jpg|thumb|right|300px|หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]
 
ปัจจุบัน[[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]]เสด็จพระราชดำเนินในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในระดับบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต โดยพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ส่วนมากจะจัดขึ้นในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายน โดยกำหนดการพิธีพระราชทานปริญญาบัตรให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยในแต่ละปีการศึกษา โดยใช้หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) แขวงพระบรมมหาราชวัง [[เขตพระนคร]] [[กรุงเทพมหานคร]] เป็นสถานที่พระราชทานปริญญาบัตร