ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 34:
เมื่อสิ้นสุดยุคสมัยกรุงธนบุรีในพ.ศ. 2325 ทางกรุงเทพฯได้ส่งพระยาธรรมไตรโลกยกทัพลงมายังปากพระเพื่อปราบเจ้าพระยาอินทรวงศา เจ้าพระยาอินทรวงศาหลบหนีข้ามฝั่งจากเมืองปากพระมาเกาะถลาง เจ้าพระยาอินทรวงศาเมื่อสู้ทัพของพระยาธรรมไตรโลกไม่ได้จึงฆ่าตัวตาย นอกจากนี้พระยาธรรมไตรโลกยังนำท้องตรามามีคำสั่งให้หักเงินของพระยาราชกปิตัน (ฟรานซิส ไลท์) ไว้เนื่องจากติดค้างเป็นหนี้เงินหลวงอยู่<ref name=":1">https://phuketcity.info/default.asp?content=contentdetail&id=14158</ref> เป็นเหตุให้นายฟรานซิส ไลท์ จำต้องอพยพเดินทางออกจากเกาะถลางไปอาศัยที่เกาะปีนังหรือเกาะหมากเป็นการถาวร
 
อีกสามปีต่อมาเดือนธันวาคม พ.ศ. 2328 [[สงครามเก้าทัพ]] พระยาธรรมไตรโลกมีคำสั่งให้จับกุมคุณหญิงจันด้วยความผิดบางประการ<ref name=":2">Simmonds, E.H.S. '''The Thalang Letters, 1773-94: political aspects and the trade in arms'''. The School of Oriental and African Studies, University of Lonodon, 1963.</ref> (อาจเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เจ้าพระยาอินทรวงศา<ref name=":1" />) ไปสอบสวนที่เมืองปากพระ เมื่อคุณหญิงจันถูกคุมตัวไปถึงเมืองปากพระ ทัพพม่านำโดยยี่หวุ่น ยกทัพจำนวน 3,000 คน มาถึงเข้าโจมตีเมืองตะกั่วป่าพอดี พม่าสามารถยึดเมืองตะกั่วป่าและเมืองปากพระได้ พระยาธรรมไตรโลกเสียชีวิตในการรบกับพม่า<ref name=":0" /> คุณหญิงจันจึงเดินทางกลับมายังเมืองถลาง ดังปรากฏในจดหมายของคุณหญิงจันถึงนายฟรานซิส ไลท์ เมื่อพ.ศ. 2330 ว่า "''...เมื่อพ่มาญกมานั้น พญาธรัมไตรยโลกให้เก้าะเอาต้อตูฃาลงไปไวณ่ปากพระ ครันพ่มาญกมาตียปากพระได้ กลับแล้นขินมาณ่บาน...''"<ref name=":2" /> ในเวลานั้นพระยาถลาง (พิมลขัน) ล้มป่วยอยู่ นายฟรานซิส ไลท์ ที่เมืองปีนังได้แจ้งเตือนแก่เมืองถลางคุณหญิงจันว่าพม่ากำลังยกทัพลงมาเมืองถลาง ดังปรากฏในเวลานั้นพระยาถลาง (พิมลขัน) สามีของจดหมายที่คุณหญิงจันได้เขียนถึงแก่กรรมลงในเดือนนายฟรานซิส ไลท์ เมื่อธันวาคมพ.ศ. 2328<ref name=":2" />;
 
(ปริวรรตเป็นการสะกดแบบปัจจุบัน)
เมื่อพระพิมลขันเจ้าเมืองถลางถึงแก่กรรมลง ยังไม่มีการแต่งตั้งเจ้าเมืองคนใหม่ คุณหญิงจันภรรยาหม้ายของพระพิมลขัน และคุณหญิงมุกน้องสาวของคุณหญิงจัน รวมทั้งพระยาปลัดถลาง (ทองพูน) หลวงเพชรภักดีฯยกกระบัตรเมืองถลาง และเมืองภูเก็จ (เทียน) บุตรชายของคุณหญิงจัน เตรียมการป้องกันเมืองถลาง และได้รับอาวุธจากฟรานซิส ไลท์ คุณหญิงจันและคุณหญิงมุกตั้งค่ายที่วัดพระนางสร้าง มีปืนใหญ่ชื่อแม่นางกลางเมือง<ref name=":1" /> ส่วนพระยาปลัด (ทองพูน) ตั้งค่ายที่ทุ่งนางดัก มีปืนใหญ่ชื่อว่าพระพิรุณสังหาร ทัพเรือพม่ายกพลขึ้นบกที่ท่าตะเภา นำไปสู่การรบที่ถลาง พม่าตั้งค่ายที่นาโคกกับนาบ้านกลาง ฝ่ายถลางและพม่าต่อสู้กัน ฝ่ายถลางยิงปืนใหญ่ใส่พม่า การรบดำเนินไปเป็นเวลาประมาณหนึ่งเดือน<ref name=":2" /> จนกระทั่งฝ่ายถลางยกทัพเข้าตีพม่าแตกพ่ายไปในวันจันทร์ เดือน 4 แรม 14 ค่ำ ปีมะเส็ง สัปตศก จุลศักราช 1147 ตรงกับ 13 มีนาคมพ.ศ. 2329<ref name=":2" /> พม่าจึงถอยกลับไป
 
{{คำพูด|หนังสือท่านผู้หญิง มาถึงลาโตก ด้วยมีหนังสือไปนั้นได้แจ้งแล้ว ครั้นจะเอา หนังสือเรียนแก่พญาถลาง พญาถลางป่วยหนักอยู่ แลซึ่งว่ามาค้าขายณเมืองถลางขาดทุนหนักหนาช้านานแล้ว นั้นเห็นธุระของลาโตกอยู่ แต่หากว่าลาโตกมีเมตตา เอ็นดูข้าเจ้าจึงเปลืองทุนเป็นอันมากทรมานอยู่ ด้วยความเอ็นดู แลซึ่งว่าแต่งกำปั่นแล้วจะลากลับไป แลมีราวข่าวว่าพม่าจะมาตีเมืองถลาง ท่านพญาถลางเจ็บหนักอยู่ ถ้าพม่ายกมาจึงข้าเจ้าจะได้ลาโตกเป็นหลักที่ยึดต่อไป...}}<ref name=":2" />
 
ในเวลานั้นพระยาถลาง (พิมลขัน) สามีของคุณหญิงจันได้ถึงแก่กรรมลงในเดือนธันวาคมพ.ศ. 2328<ref name=":2" /> เมื่อพระพิมลขันเจ้าเมืองถลางถึงแก่กรรมลง ยังไม่มีการแต่งตั้งเจ้าเมืองคนใหม่ คุณหญิงจันภรรยาหม้ายของพระพิมลขัน และคุณหญิงมุกน้องสาวของคุณหญิงจัน รวมทั้งพระยาปลัดถลาง (ทองพูน) หลวงเพชรภักดีฯยกกระบัตรเมืองถลาง และเมืองภูเก็จ (เทียน) บุตรชายของคุณหญิงจัน เตรียมการป้องกันเมืองถลาง และได้รับอาวุธจากฟรานซิส ไลท์ คุณหญิงจันและคุณหญิงมุกตั้งค่ายที่วัดพระนางสร้าง มีปืนใหญ่ชื่อแม่นางกลางเมือง<ref name=":1" /> ส่วนพระยาปลัด (ทองพูน) ตั้งค่ายที่ทุ่งนางดัก มีปืนใหญ่ชื่อว่าพระพิรุณสังหาร ทัพเรือพม่ายกพลขึ้นบกที่ท่าตะเภา นำไปสู่การรบที่ถลาง พม่าตั้งค่ายที่นาโคกกับนาบ้านกลาง ฝ่ายถลางและพม่าต่อสู้กัน ฝ่ายถลางยิงปืนใหญ่ใส่พม่า การรบดำเนินไปเป็นเวลาประมาณหนึ่งเดือน<ref name=":2" /> จนกระทั่งฝ่ายถลางยกทัพเข้าตีพม่าแตกพ่ายไปในวันจันทร์ เดือน 4 แรม 14 ค่ำ ปีมะเส็ง สัปตศก จุลศักราช 1147 ตรงกับ 13 มีนาคมพ.ศ. 2329<ref name=":2" /> พม่าจึงถอยกลับไป
 
หลังจากที่พม่าพ่ายแพ้ถอยไปแล้วนั้น เมืองภูเก็จ (เทียน) บุตรของคุณหญิงจันได้นำใบบอกข้อราชการเรื่องศึกเมืองถลางไปกราบทูล[[กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท]]ที่เมืองสงขลา กรมพระราชวังบวรฯทรงแต่งตั้งให้พระยาปลัดถลาง (ทองพูน) ขึ้นเป็นเจ้าเมืองถลาง และนายเทียนขึ้นเป็นพระยาทุกขราษฎร์เมืองถลาง หลังจากสิ้นสุดสงครามเก้าทัพแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯทรงแต่งตั้งให้[[เจ้าพระยาสุรินทราชา (จันทร์ จันทโรจวงศ์)|เจ้าพระยาสุรินทรราชา (จันทร์ จันทโรจวงศ์)]] เป็นผู้สำเร็จราชการหัวเมืองภาคใต้มีหน้าที่ดูแล"พระราชทรัพย์"หรือดีบุก เจ้าพระยาสุรินทรราชานำท้องตรามาแต่งตั้งคุณหญิงจันเป็น''ท้าวเทพกะษัตรี'' คุณหญิงมุกเป็น''ท้าวศรีสุนทร'' ส่วนพระยาถลาง (ทองพูน) เจ้าเมืองถลางคนใหม่นั้น ได้รับพระราชทานพานทองเป็นกรณีพิเศษ จึงได้รับสมยานามว่า"พระยาถลางเจียดทอง"
 
หลังจากสงครามเก้าทัพ คุณหญิงจันและครอบครัวประสบกับความลำบาก ดังจดหมายที่แม่ปรางธิดาของคุณหญิงจันได้เขียนถึงฟรานซิส ไลท์ ในพ.ศ. 2331 ว่า "''...แลข้าพระเจ้าทุกวันนีใดความทุกยากอยูนักหนา...''"<ref name=":2" /> ความสัมพันธ์ระหว่างพระยาถลาง (ทองพูน) และพระยาทุกขราษฎร์ (เทียน) บุตรชายของคุณหญิงจันไม่สู้ดีนัก ดังจดหมายของพระยาพระยาทุกขราษฎร์ (เทียน) ถึงฟรานซิส ไลท์ เมื่อพ.ศ. 2330 ว่า "''...ทุกวันนี ฯข้าฯกับเจาพญาถลาง ก่อวีวาดกันหาปกกตียกันใหม...''" (ทุกวันนี้ข้าพเจ้ากับเจ้าพญาถลางก็วิวาทกันหาปกติกันไม่)<ref name=":2" /> ท้าวเทพกะษัตรี ''(''คุณหญิงจัน) ได้เดินทางไปยังกรุงเทพฯในพ.ศ. 2331 ท้าวเทพกะษัตรี ''(''คุณหญิงจัน) ได้ถวายบุตรสาวคือทองมาหรือแม่ทองเป็นเจ้าจอมทอง และถวายบุตรชายคือนายเนียนเป็นมหาดเล็ก ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ จนกระทั่งเมื่อพระยาทุกขราษฎร์ (เทียน) ได้ฟ้องร้องความผิดของพระยาถลาง (ทองพูน) ต่อทางกรุงเทพฯ เป็นเหตุให้พระยาถลาง (ทองพูน) ถูกเรียกตัวไปสอบสวนและถึงแก่กรรมที่กรุงเทพฯ<ref name=":0" /> พระยาทุกขราษฎร์ (เทียน) บุตรชายของคุณหญิงจัน ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระยาเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามเจ้าเมืองถลางคนใหม่ ได้รับสมยานามว่า "พระยาถลางหืด" โดยมีนายเรือง น้องชายของท้าวเทพกะษัตรีและท้าวศรีสุนทร เป็นพระยาปลัดเมืองถลาง<ref name=":0" /> ต่อมาเจ้าจอมทองได้ประสูติพระธิดาคือ[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุบล|พระองค์เจ้าอุบล]]ในพ.ศ. 2334
 
ในพ.ศ. 2335 พระยาเพชรคีรีฯ (เทียน) เจ้าเมืองถลาง เขียนจดหมายถึงฟรานซิส ไลท์ ว่ามารดาของตนคือคุณหญิงจันนั้นชราและล้มป่วย ส่วนแม่ปรางนั้นได้เสียชีวิตไปแล้ว "''...โตกทานใดเอนดูแกคุนมารดาด้วยเทีด ด้วยทุกวันนีก่แกลงกว่ากอร แลวก่ขัดสนไมสบายเหมือรแตกอร แลวแมปรางกต้ายเสียแล้ว...''"<ref name=":2" /> ท้าวเทพกะษัตรี หรือคุณหญิงจัน ถึงแก่กรรมเมื่อพ.ศ. 2335 ด้วยอายุ 57 ปี ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ส่วนท้าวศรีสุนทร หรือคุณหญิงมุกนั้น ไม่ปรากฏว่าถึงแก่กรรมเมื่อใด