ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
AthiAa (คุย | ส่วนร่วม)
Suwarode (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 319:
* 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) โดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้เข้ายื่นฟ้องผู้บริหารการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และผู้เกี่ยวข้องกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มทั้งหมด ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตราที่ 157, 165 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 ในกรณีที่คณะกรรมการ ม.36 ได้มีคำสั่งในการเปลี่ยนแปลงกฎและเงื่อนไขการประมูลในส่วนสาระสำคัญภายหลังจากการเปิดขายซองรับข้อเสนอแก้เอกชน ซึ่งระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางตามหมายเลขคดีดำที่ 2280/2563 และศาลปกครองกลางได้วินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมีคำสั่งให้ รฟม. ระงับการใช้ข้อบังคับดังกล่าวจนกว่าศาลจะมีการตัดสินเป็นอย่างอื่น แต่ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 คณะกรรมการ ม.36 ได้มีมติยกเลิกการประมูลโครงการด้วยเหตุผลว่าการฟ้องร้องและการยื่นขออุทธรณ์ทำโครงการล่าช้า ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ในฐานะเอกชนผู้เข้าประมูลโครงการจึงได้รับความเสียหายทางธุรกิจ โดยศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางได้มีคำสั่งประทับรับฟ้องเป็นคดีหมายเลขดำที่ อท.30/2564<ref>[https://www.thebangkokinsight.com/558716/ 'BTS' ยื่นฟ้อง 'รฟม.' ล้มประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มกลางอากาศ บริษัทเสียหาย]</ref>
* 9 มีนาคม พ.ศ. 2564 ศาลปกครองกลางมีมติจำหน่ายคดีหมายเลขดำที่ 2280/2563 ระหว่าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กับ คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ออกจากการพิจารณาคดี เนื่องจากคณะกรรมการฯ มีมติยกเลิกการประมูลเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 จึงไม่มีเหตุอันใดให้ต้องทำการพิจารณาข้อเท็จจริงของคดีนี้อีกต่อไป อีกทั้งมติดังกล่าวยังทำให้คำสั่งคุ้มครองการประมูลเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เป็นอันต้องสิ้นสุดลงพร้อมกัน อย่างไรก็ตามศาลปกครองกลางยังพิจารณาในข้อเรียกร้องให้ รฟม. ชำระค่าเสียหาย 500,000 บาท ที่เป็นค่าจ้างที่ปรึกษา ค่าธรรมเนียมศาล และค่าดำเนินการต่อไป<ref>[https://www.isranews.org/article/isranews-news/96662-tor.html ศาลปค.จำหน่ายคดีฟ้องเพิกถอน TOR สายสีส้ม-'คีรี' ร้อง'บิ๊กตู่'สั่งระงับประมูลรอบใหม่]</ref>
*18 สิงหาคม 2564 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น ให้จำหน่ายคดีในข้อหาที่ฟ้องขอให้เพิกถอนหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติม ครั้งที่ 1 ที่ให้ใช้การประเมินซองที่ 2 ข้อเสนอทางเทคนิค และซองที่ 3 ข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทน รวมกันแล้วแบ่งสัดส่วนเป็นคะแนนซองที่ 2 จำนวน 30 คะแนน และคะแนนซองที่ 3 จำนวน 70 คะแนน ในการดำเนินการคัดเลือกเอกชนเพื่อร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) และให้คำสั่งศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2563 ที่ให้ทุเลาการบังคับตามหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนที่แก้ไขเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเอกสารการคัดเลือกเอกชนเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ดังกล่าว ไว้เป็นการชั่วคราว สิ้นผลบังคับลงไปด้วย <ref>[https://www.admincourt.go.th/admincourt/upload/webcms/News/News_180821_135353.pdf]</ref>
 
== ดูเพิ่ม ==