ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Surachet.p (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 25:
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติก่อกำเนิดมาจาก '''วิทยาลัยหัวเฉียว''' ซึ่งมีรากฐานเติมโตมาจาก[[โรงเรียนผดุงครรภ์อนามัย]] ก่อตั้งโดย[[มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง]] ที่ก่อเกิดขึ้นจากพลังศรัทธาในคุณธรรมแห่ง[[ไต้ฮงภิกขุ]] ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ โดยมีภารกิจในการบำเพ็ญทาน การสร้างสถานพยาบาลและบรรเทาสาธารณภัยเพื่อมวลชน รวมถึงการทำงานด้านการศึกษา โดยเปิดสอนหลักสูตรพยาบาลในระดับ[[ปริญญาตรี]]เป็นหลักสูตรแรก
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 ในวาระที่มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งมีวาระครบรอบ 80 ปี จึงได้ระดมทุนจากชาวไทยเชื่อสายจีนเพื่อใช้ในการก่อสร้าง เมื่อได้รับการอนุมัติจาก[[ทบวงมหาวิทยาลัย]]ให้ยกสถานะเป็นมหาวิทยาลัย จึงเริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2535 โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก[[ '''พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]]''' ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า '''มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ''' ทั้งยังได้เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2537 และถือเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งเดียวในประเทศไทยที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยให้ เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยให้กับของรัฐบาลเท่านั้น ซึ่งไม่เคยเป็นประธานเปิดมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งใดเลย จึงเป็นผลนำมาซึ่งความปลาบปลื้มและนับเป็นสิริมงคลอันใหญ่หลวงแก่ชาวมหาวิทยาลัย และชาวจีนโพ้นทะเลในไทยที่ได้ร่วมมือกันก่อตั้งสถาบันการศึกษานี้
 
ตั้งแต่นั้นมา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติได้ทำหน้าที่ในฐานะสถาบันอุดมศึกษา ในการผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้สังคมและประเทศชาติ โดยยึดกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงดำรัสไว้ครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยว่า "ขอให้ทำมหาวิทยาลัยแห่งนี้ให้ดี" เป็นกระแสพระราชดำรัสที่ยังความปลาบปลื้มแก่คณะผู้ก่อตั้ง คณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัย เป็นล้นพ้น และก่อให้เกิดความมุ่งมั่นที่จะพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งนี้ให้บรรลุผลสำเร็จตามปณิธานที่ตั้งไว้ นั่นคือ "การกระจายโอกาส และสร้างความเสมอภาคในระดับ[[อุดมศึกษา]] ส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงามตามพื้นฐาน[[พระพุทธศาสนา]] และบูชาคุณธรรมบรรพชน เพื่อสร้างบัณฑิตที่รู้รอบ รู้ลึก และมีความชำนาญงาน โดยเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ เพื่อสร้างบัณฑิตผู้รู้จริง ปฏิบัติงานได้จริง ควบคู่กับการมีคุณธรรม พร้อมที่จะถ่ายทอดวิชา และอุทิศตนเพื่อรับใช้สังคมอย่างเต็มภาคภูมิ" เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้ นั่นคือ "มุ่งหวังให้เป็นมหาวิทยาลัยปวงชนที่มีมาตรฐานสากล ทันสมัย มีความพร้อมสำหรับการแข่งขัน และพึ่งตนเองได้"