ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามสยาม-เวียดนาม พ.ศ. 2327"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
|combatant2=[[ไฟล์:Royal Flag of Vietnam (1788–1802).svg|20px]] [[ราชวงศ์เตยเซิน]] ([[เวียดนาม]])
|commander2= [[ไฟล์:Royal Flag of Vietnam (1788–1802).svg|20px]] พระเจ้าท้ายดึ๊ก เหงียนญัค (Nguyễn Nhạc)<br>[[ไฟล์:Royal Flag of Vietnam (1788–1802).svg|20px]] เหงียน เหวะ (Nguyễn Huệ)<br>[[ไฟล์:Royal Flag of Vietnam (1788–1802).svg|20px]] เจือง วัน ดา (Trương Văn Đa)
||strength1= มากกว่า 1013,000 คน
|combatant1= [[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)|อาณาจักรรัตนโกสินทร์]] ([[สยาม]])<br>[[ไฟล์:Flag of Cambodia (pre-1863).svg|20px|border]] [[อาณาจักรเขมรอุดง|อาณาจักรกัมพูชา]]<br>[[ไฟล์:Long Tinh Kỳ (Dragon Star Flag) nhà Nguyễn, 1802-1885.png|20px|border]] ตระกูลเหงียน
|commander1= [[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]]<br>[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] [[สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตัน กรมหลวงเทพหริรักษ์|พระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์]]<br>[[ไฟล์:Flag of Thailand (1782).svg|20px|border]] พระยาวิชิตณรงค์<br>[[ไฟล์:Flag of Cambodia (pre-1863).svg|20px|border]] [[เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (แบน)]]<br>[[ไฟล์:Long Tinh Kỳ (Dragon Star Flag) nhà Nguyễn, 1802-1885.png|20px|border]] [[จักรพรรดิซา ล็อง|เหงียน ฟุก อั๊ญ]] (Nguyễn Phúc Ánh)<br>[[ไฟล์:Long Tinh Kỳ (Dragon Star Flag) nhà Nguyễn, 1802-1885.png|20px|border]] เจิว วัน เตี๋ยปเตี๊ยป (Châu Văn Tiếp)<br>[[ไฟล์:Long Tinh Kỳ (Dragon Star Flag) nhà Nguyễn, 1802-1885.png|20px|border]] เล วัน เกวิน (Lê Văn Quân)
|strength2= 20,000 คน
}}
บรรทัด 34:
[[จักรพรรดิซา ล็อง|เหงียนฟุกอั๊ญ]] (Nguyễn Phúc Ánh, 阮福暎) หรือ"องเชียงสือ" ตั้งมั่นที่เมืองไซ่ง่อนเพื่อต้านทานกบฏเตยเซิน ในพ.ศ. 2323 ขุนนางชาวกัมพูชาถวายจดหมายฉบับหนึ่ง กราบทูลว่าองเชียงสือมีจดหมายลับมาถึง”องเชียงชุน”โตนเทิ๊ตซวนให้ก่อการกบฏขึ้นเข้ายึดกรุงธนบุรี หมักเทียนตื๊อเมื่อทราบข่าวได้ทำการฆ่าตัวตายไปก่อน สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงลงพระราชอาญาประหารชีวิต”องเชียงชุน” รวมทั้งบุตรต่างๆของหมักเทียนตื๊อและผู้ติดตามชาวญวนจำนวนรวมทั้งสิ้นห้าสิบสามคน<ref name=":0" /> เหลือเพียงบุตรคนหนึ่งของหมักเทียนตื๊อชื่อว่าหมักตื๊อซิญ (Mạc Tử Sinh 鄚子泩) ซึ่งอายุยังน้อย พระยากลาโหมได้ทูลขอให้ไว้ชีวิต สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงไว้ชีวิตหมักตื๊อซิญแต่ทรงให้เนรเทศไป
 
[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]เสด็จขึ้นครองราชสมบัติในพ.ศ. 2325 ในปีเดียวกันนั้น องเชียงสือเหงียนฟุกอั๊ญพ่ายแพ้ให้แก่เหงียนเหวะแห่งราชวงศ์เตยเซิน เหงียนเหวะสามารถเข้ายึดเมืองไซ่ง่อนได้สำเร็จเป็นเหตุให้องเชียงสือเดินทางลี้ภัยมายังเกาะกระบือแขวงเมืองกำปงโสม ในขณะนั้นพระยาชลบุรีและพระระยองตระเวนสลัดไปจนถึงเกาะกระบือพบกับองเชียงสือ พระยาชลบุรีและพระระยองเสนอให้องเชียงสือเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารที่กรุงเทพ<ref name=":2">ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา. '''พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑'''. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ, กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร ๒๕๓๑.</ref> เอกสารฝ่ายเวียดนามระบุว่า เหงียนฟุกอั๊ญได้มอบหมายให้ขุนนางคนสนิทชื่อว่าเจิววันเตี๋ยปเจิววันเตี๊ยป (Châu Văn Tiếp, 朱文接) ติดต่อขอความช่วยเหลือจากสยามผ่านทางขุนนางสยามชื่อว่า[[พระยาทัศดาจตุรงค์]] องเชียงสือเหงียนฟุกอั๊ญพร้อมทั้งครอบครัวและขุนนางผู้ติดตามทั้งหลายเดินทางถึงกรุงรัตนโกสินทร์ในเดือนมีนาคมพ.ศ. 2326 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกพระราชทานให้ไปตั้งบ้านเรือนที่บ้านต้นสำโรง (ต่อมาคือสถานกงสุลโปรตุเกส) หมักตื๊อซิญ บุตรชายของหมักเทียนตื๊ออดีตเจ้าเมืองบันทายมาศได้เข้าสวามิภักดิ์ต่อองเชียงสือ
 
=== พระยานครสวรรค์ตีเมืองไซ่ง่อน ===
บรรทัด 45:
 
==== การรบที่สักเกิ่ม-สว่ายมุ๊ต ====
[[ไฟล์:Quang Trung statue 02.jpg|left|thumb|อนุสาวรีย์ของเหวียน เหวะ (Nguyễn Huệ) หรือพระเจ้ากวางจุง (Quang Trung) แห่ง[[ราชวงศ์เตยเซิน]] ตั้งอยู่ที่เมือง[[กวีเญิน]]]]
กรมหลวงเทพหริรักษ์เสด็จยกทัพเรือไปถึงเมืองบันทายมาศ ได้ทัพของพระยาทัศดาจตุรงค์ที่เมืองบันทายมาศเข้าสมทบ ประจบกับทัพของพระยาวิชิตณรงค์ที่ยกมาจากกัมพูชา ทัพฝ่ายสยามใช้เวลาในการจัดตั้งทัพและยกทัพมาถึงบริเวณปากแม่น้ำโขงในเดือนตุลาคมปลายปีพ.ศ. 2327 พระยาวิชิตณรงค์ยกทัพร่วมสยาม-กัมพูชาล่วงหน้าไปเป็นทัพหน้าเข้าโจมตีเมืองซาเด๊กหรือเปียมจอซาแดก ถึงแพรกพระยามัน พระยาวิชิตณรงค์ได้ต่อสู้กับทัพของเจืองวันดาและสามารถขับทัพฝ่ายเตยเซินให้ถอยร่นไปได้ เจิววันเตี๋ยปเจิววันเตี๊ยปแม่ทัพคนสนิทขององเชียงสือถูกสังหารในที่รบ พระยาทัศดาจตุรงค์ได้รับบาดเจ็บ องเชียงสือตั้งเลวันเกวิน (Lê Văn Quân 黎文勻) ขึ้นเป็นแม่ทัพแทน ฝ่ายสยามสามารถยึดสักซ้า (Rạch Giá) โจดก และเกิ่นเทอ (Cần Thơ) ได้ ฝ่ายเจืองวันดาถอยไปตั้งที่[[หมีทอ]] (Mỹ Tho) หรือสมิถ่อ ในขณะที่ทัพฝ่ายไทยตั้งอยู่ที่ซาเด๊ก
 
เจืองวันดารายงานสถานการณ์ขอความช่วยเหลือไปยังพระเจ้าท้ายดึ๊กเหงียนญัค ซึ่งเป็นประมุขของฝ่ายเตยเซินที่เมืองกวิเญินเมืองกวีเญิน เหงียนญัคจึงมีพระราชโองการให้อนุชาคือเหงียนเหวะยกทัพจำนวน 20,000 คน มาช่วยเจืองวันดาต่อสู้กับทัพสยาม เหงียนเหวะยกทัพเรือมาตั้งที่เมืองหมีทอหรือสมิถ่อในเดือนมกราคมพ.ศ. 2328 เอกสารฝ่ายเวียดนามระบุว่าเหงียนเหวะพยายามที่จะเจรจากับฝ่ายสยามด้วยการถวายของมีค่าแด่กรมหลวงเทพหริรักษ์ ให้ฝ่ายสยามเลิกสนับสนุนองเชียงสือและมาเป็นไมตรีกับเตยเซินแทน ฝ่ายองเชียงสือได้มอบหมายให้หมักตื๊อซิญจัดเตรียมเรือไว้ในกรณีที่พ่ายแพ้และต้องหลบหนี เหงียนเหวะจัดทัพตั้งซุ่มไว้ที่สักเกิ่ม (Rạch Gầm) และสว่ายมุ๊ต (Xoài Mút) ริมสองฝั่งริมฝั่งแม่น้ำโขงซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำโขงแคบลงใกล้กับหมีทอเพื่อซุ่มโจมตีฝ่ายไทย
[[ไฟล์:Tượng đài Rạch Gầm-Xoài Mút.JPG|left|thumb|อนุสรณ์รำลึกถึงการรบที่สักเกิ่ม-สว่ายมุ๊ต (Battle of Rạch Gầm-Xoài Mút) ที่เมือง[[หมีทอ]]]]
 
[[ไฟล์:Battle of Rạch Gầm-Xoài Mút.png|thumb|270x270px|แผนที่แสดงการรบที่สักเกิ่ม-สว่ายมุ๊ต ฝ่ายสยามยกทัพเรือมาจากซาเด๊ก ล่องตามแม่น้ำโขงไปทางตะวันออกเพื่อเข้าตีเมืองหมีทอ (Mỹ Tho) ฝ่ายเตยเซินตั้งซุ่มอยู่ที่สักเกิ่มและสว่ายมุ๊ต ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำโขงแคบลง]]
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2328 กรมหลวงเทพหริรักษ์มีพระบัญชาให้พระยาวิชิตณรงค์ตั้งรักษาเป็นทัพหลังอยู่ที่บ้านป่ายุง (Ba Giồng) และเสด็จนำทัพเรือจากซาเด๊ก เข้าโจมตีเหงียนเหวะที่หมีทอ ในวันที่ ทัพฝ่ายสยามล่องตามแม่น้ำโขงมาถึงสักเกิ่มและสว่ายมุ๊ต จุดที่เหงียนเหวะได้เตรียมซุ่มไว้ นำไปสู่'''การรบที่สักเกิ่ม-สว่ายมุ๊ต''' (Battle of Rạch Gầm-Xoài Mút) ทัพฝ่ายเตยเซินได้เข้าปิดล้อมทางหัวและท้ายของทัพฝ่ายเรือสยาม ทำให้ทัพฝ่ายสยามถูกล้อมทั้งหน้าและหลัง ทัพเตยเซินเข้าโจมตีกระหนาบสองข้างทำให้ทัพเรือสยามทิ้งเรือหนีขึ้นบกพ่ายแพ้แตกพ่ายไป<ref name=":2" /> ในเวลานั้นเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำท่วมเจิ่งนองไปทั่งทั่วสมรภูมิ สร้างความลำบากให้แต่แก่ทัพฝ่ายสยามในการถอยทางบก ข้าหลวงในกรมหลวงเทพหริรักษ์หากระบือได้ตัวหนึ่ง ให้ทรงกระบือลุยน้ำเสด็จไปยังกัมพูชา<ref name=":2" /> ฝ่ายองเชียงสือซึ่งได้เตรียมเรือไว้ก่อนหน้าแล้ว ล่องเรือกลับมาถึงกัมพูชาเช่นกัน องเชียงสือได้รับความลำบากขาดแคลนอาหารจนกระทั่งเหงียนวันถ่าญ (Nguyễn Văn Thành 阮文誠) คนสนิทขององเชียงสือจำต้องปล้นหาอาหารมาประทังเลี้ยงองเชียงสือผู้เป็นนายของตน
 
== อ้างอิง ==