ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บัวผัน จันทร์ศรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Supawat.tiger. (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Phuttisan Police (คุย | ส่วนร่วม)
แม่บุญมา สุดสุวรรณ
บรรทัด 54:
แม่บัวผัน ได้อยู่กินกับพ่อ[[ไสว วงษ์งาม]] (สุวรรณประทีป) ตั้งแต่ประมาณช่วงก่อน พ.ศ. 2500 ในช่วงแรกนั้นได้ไปตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บ้านดอนเบือ ต.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี เริ่มฝึกเพลงให้ลูกศิษย์รุ่นแรก ต่อจากนั้นได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่บ้านศรีจัน อำเภอศรีประจันต์ เริ่มฝึกศิษย์รุ่นที่ 2 ซึ่งในรุ่นนี้มี[[ขวัญจิต ศรีประจันต์]]และ[[ขวัญใจ ศรีประจันต์]] อยู่ด้วย โดยแม่บัวผันจะเป็นผู้คัด และแลเห็นแววของขวัญจิต ว่าเป็นคนพูดเก่ง จนได้พยายามถ่ายทอดเพลงอีกแซว หมั่นฝึกสอนอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย นับเป็นครูคนสำคัญของขวัญจิต ศรีประจันต์ และน้องๆ
 
แม่บัวผัน จันทร์ศรี เป็นแม่เพลงชั้นครู รุ่นเดียวกับแม่บุญมา สุดสุวรรณ(แม่เพลงชาวโพธิ์ทอง จ.อ่างทอง)<ref>{{Citation|title=ผู้ใช้:Phuttisan Police/หน้าทดลอง|date=2021-07-30|url=https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89:Phuttisan_Police/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87&oldid=9530657|work=วิกิพีเดีย|language=th|access-date=2021-07-30}}</ref> ที่เติบโตมาในวงการเพลงและเล่นเพลงเป็นอาชีพมาโดยตลอด เป็นผู้มีปฏิภาณและความคิดเป็นเลิศ สามารถด้นกลอนสดและแต่งคำร้องได้อย่างคมคาย อีกทั้งมีความจำเป็นเยี่ยม สามาถจดจำเนื้อร้องเก่าได้อย่างมากมายหลายหมื่นวรรค แม่บัวผัน เป็นแม่เพลงที่มีความสามารถพิเศษไม่เพียงแต่เฉพาะเพลงอีแซวและเพลงฉ่อยเท่านั้น แต่ยังสามารถร้องเพลงพื้นบ้านพื้นเมืองอันเป็นมรดกสำคัญของชาติที่กำลังจะสูญหายได้อีกหลายชนิด แม่บัวผันได้ร่วมบันทึกเพลงพื้นบ้านต่างๆ เพื่อคนรุ่นหลังไว้อย่างมาก สามารถบอกเพลงได้โดยไม่ติดขัด จึงนับเป็นหลักสำคัญยิ่งคนหนึ่งของวงการเพลงพื้นบ้านในปัจจุบัน ด้วยจิตวิญญาณของผู้รักเพลงโดยแท้ แม่บัวผันได้สละเวลาและทรัพย์สินทุ่มเทเพื่อถ่ายทอดสอนศิษย์โดยไม่ย่อท้อ ในอดีตบ้านของแม่บัวผันจึงเป็นที่พึ่งพิงของคนเพลงทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ตลอดจนเป็นที่ชุมนุมของนักศึกษา ครูอาจารย์และสื่อมวลชนที่สนใจเพลงพื้นบ้าน แม่บัวผันใช้ชีวิตทั้งชีวิตเพื่อเพลงพื้นบ้านอันเป็นหลักฐานสำคัญยืนยันถึงความเป็นนักกลอนของคนไทย กอปรกับความเสียสละและความสามาถเป็นเลิศในศิลปะเพลงพื้นบ้าน จึงได้รับความรัก การยอมรับ และยกย่องนับถือจากผู้ที่อยู่ในวงการเพลงพื้นบ้านตลอดมา จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็น[[ศิลปินแห่งชาติ]] สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้านภาคกลาง) ประจำปี พ.ศ. 2533 <ref>คำประกาศเกียรติคุณ นางบัวผัน จันทร์ศรี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (เพลงพื้นบ้าน) ประจำปี พ.ศ. 2533</ref>
 
บัวผัน จันทร์ศรี มีลูกศิษย์มากมาย เป็นครูเพลงคนแรกของ[[ขวัญจิต ศรีประจันต์]], [[ขวัญใจ ศรีประจันต์]], [[สุจินต์ ชาวบางงาม]], [[บุญโชค ชนะโชติ]], [[โชติ สุวรรณประทีป]], [[แหยม เถื่อนสุริยา]], [[สำเนียง ชาวปลายนา]] เป็นต้น