ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดทุ่งศรีเมือง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thomson Walt (คุย | ส่วนร่วม)
Thomson Walt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 49:
หอพระพุทธบาทสร้างขึ้นในสมัยพระอริยวงศาจารย์ฯ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ประมาณปี พ.ศ. 2330 (บ้างอ้างว่าสร้างราว พ.ศ. 2395) โดยมีญาคูช่างเป็นช่างในการดำเนินการก่อสร้าง เพื่อเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองที่จำลองมาจากวัด[[วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร]]<ref name=Nill/> และใช้เป็น "สิม" หรือพระอุโบสถของวัดด้วย<ref name=สุรศักดิ์>{{cite book|title= รายการบูรณะและพัฒนาสิม (โบสถ์) โบราณ หอไตรวัดทุ่งศรีเมือง|place=อุบลราชธานี|date=2002|publisher=สุรศักดิ์ก่อสร้าง, ห้างหุ้นส่วนจำกัด|editor=สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 8 อุบลราชธานี}}</ref> โดยอาคารจะมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น [[ล้านช้าง]] และอยุธยาตอนปลาย มีขนาด 3 ห้อง ก่ออิฐถือปูน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก จากการสำรวจของกลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง [[กองโบราณคดี]] [[กรมศิลปากร]] สันนิษฐานว่าในอดีตมี[[ใบเสมา]]ปรากฏอยู่ที่ฐานอุโบสถ แต่พบใบเสมเพียงชิ้นเดียวแนบติดอยู่กับฐานหอพระพุทธบาทบริเวณมุมอุโบสถด้านตะวันออกเฉียงใต้ เป็นใบเสมปูนปั้นเรียบ ไม่มีลวดลาย อย่างไรก็ตาม ใบเสมาชิ้นดังกล่าวได้ผุพังไปแล้วในปัจจุบัน{{sfn|ยุทธนาวรากร แสงอร่าม|2008|p=9-10}} ระเบียงด้านหน้าและราวบันไดเป็นรูปพญานาคขี่จระเข้ เป็น[[ทวารบาล]]อยู่หน้าหอพระพุทธบาท ลักษณะเป็นศิลปะแบบท้องถิ่นอีสาน ส่วนฐานของบันไดเป็นฐานปากกระเภาผสมฐานสิงห์ และมีฐานเขียงรองรับอีกชั้น{{sfn|สมศรี ชัยวณิชยา|ปกรณ์ ปุกหุต|2005|p=10}} โครงหลังคาของหอพระพุทธบาทเป็นศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ เป็นหลังคาแบบชั้นลด 2 ชั้น ชั้นละ 3 ตับมีลักษณะแบบอีสานผสมกับรัตนโกสินทร์ ส่วนหน้าบันหรือหน้าจั่ว ด้านหน้าและด้านหลังจำหลักไม้ปิดทองประดับกระจกเป็นรูป[[พระอินทร์]]ประทับในบุษบกบน[[ช้างเอราวัณ]] ประดับด้วยลายก้านขด มีเสาบัวกลีบขนุน 4 ต้น แกะสลักลวดลายดอกกาละกับ นอกจากนี้ยังมีคันทวยรูปเทพพนมรองรับไขราทั้งสิ้น 10 ตัว มีเสาพาไลคู่ด้านหน้ารองรับหลังคา{{sfn|สุรชัย ศรีใส|2012|p=1}}
 
เมื่อครั้นสมัยพระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด นนฺตโร) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ได้เกิดรอยแตกร้าวขนาดใหญ่บริเวณฝาผนังด้านทิศตะวันตกของหอพระพุทธบาท คาดว่าอาจมีสาเหตุมาจากแรงสั่นสะเทือนจากการจุดพลุดอกไม้ไฟในงานพิธีต่างๆในบริเวณสนามทุ่งศรีเมือง จึงได้มีการซ่อมแซมรอยร้าวดังกล่าว พร้อมกับก่อสร้างเพิ่มเติมให้ผนังของหอพระพุทธบาททั้งหมดมีความหนามากกว่าเดิมประมาณ 1 เมตร และได้ทำการเปลี่ยนจากการมุงหลังคาด้วยไม้เกล็ดเป็นสังกะสีแทน [[ลายรดน้ำ]]ที่ปรากฏบนบานหน้าต่างของหอพระพุทธบาทก็ถูกวาดขึ้นเวลาเดียวกันกับการซ่อมแซมในครั้งนี้ด้วย นอกจากนี้ยังมีการสร้างกำแพงรอบหอพระพุทธบาทเพิ่มขึ้นอีก 1 ชั้น (กำแพงชั้นนอกในปัจจุบัน){{sfn|สมศรี ชัยวณิชยา|ปกรณ์ ปุกหุต|2005|p=22}}
 
ในปี พ.ศ. 2503 สมัยพระวิโรจน์รัตโนบล (พิมพ์ นารโท) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ได้เห็นว่าหอพระพุทธบาทชำรุดทรุดโทรมมาก เนื่องจากสังกะสีและเครื่องไม้ต่างๆบนหลังคาชำรุดผุพัง จึงได้มีการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่อีกครั้ง จึงได้รื้อหลังคาเดิมออกและเปลี่ยนเป็นหลังคากระเบื้องกระเบื้องเคลือบ เปลี่ยน[[ลำยอง|ช่อฟ้าระกา]]จากแต่เดิมเป็นไม้แกะสลักมาเป็นซีเมนต์ ซึ่งต่อมาใน พ.ศ. 2547 สำนักงานศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี ได้มีบูรณะหอพระพุทธบาทครั้งใหญ่ ได้แก่ การซ่อมหลังคาและโครงสร้างทั้งหมด การสเริมความั่นคงของผนังเสริมโครงสร้างเสาระเบียงหลังคามุข เสริมฐานราก ซ่อมพื้น บันได ราวบันได มีการปิดทองประดับกระจกตามขอบเดิม ปิดทองหัวบัวเสา และมีการเปลี่ยนช่อฟ้า [[รวยระกา]] [[หางหงส์]] มาใช้เป็นไม้สลักตามเดิม รวมไปถึงการซ่อมประตู หน้าต่าง ปูกระเบื้องภายใน และซ่อมเสาไม้ค้ำยันขื่อที่ผุด้วยการตัดต่อส่วนโคนของเสา และอีก 1 ปีต่อมา สำนักงานศิลปากรฯ ได้มีการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์หอพระพุทธบาทอีกครั้ง อาทิ ซ่อมกำแพงแก้ว รื้อซุ้มประตูกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกแล้วสร้างขึ้นใหม่ตามแบบของเดิมที่เป็นเสาหัวเม็ด รวมไปถึงการปรับพื้นและที่บรรจุอัฐิของกำแพงข้างต้น{{sfn|สมศรี ชัยวณิชยา|ปกรณ์ ปุกหุต|2005|p=22}}