ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การรบที่เมืองรุมเมืองคัง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nubbkao (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16:
| combatant4 =
| commander1 = [[มังสามเกียด]]<br>[[สิริสุธรรมราชาแห่งเมาะตะมะ|พระสังขทัต]]<br>[[พระนเรศวร]]<br>[[นรธาเมงสอ|นรธามังช่อ]]
| commander2 = เจ้าฟ้าเจ้าเมืองรุมเมืองคัง
| commander3 =
| commander4 =
บรรทัด 28:
}}
 
'''การรบที่เมืองรุมเมืองคัง''' เป็นผลมาจากการสวรรคตของ[[พระเจ้าบุเรงนอง]] พระมหากษัตริย์พม่า ทำให้เมืองรุมเมืองคังกระด้างกระเดื่องต่อพม่า พม่าต้องการปราบปรามเพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่ประเทศราชอื่น ๆ [[พระเจ้านันทบุเรง]] ทรงจัดให้เจ้านายพม่าและ[[พระนเรศวร]]เข้าตีเมืองรุมเมืองคังคนละวัน เจ้านายพม่าทั้งสองสามไม่สามารถเข้าตีเมืองได้ จนถึงวันที่สามสี่ พระนเรศวรทรงใช้เส้นทางลับเข้าตีเมืองจนสำเร็จ ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวว่ามีกองทัพของพระเจ้าเชียงใหม่[[นรธาเมงสอ|นรธามังช่อ]] ร่วมสงครามด้วย สงครามนี้ปรากฏเฉพาะในพงศาวดารฝ่ายไทย ไม่ปรากฏในพงศาวดารพม่า
 
== การรบ ==
กองทัพพระมหาอุปราชา ทำการเข้าตีวันแรกในตอนกลางคืนก็ถูกฝ่ายข้าศึกผลักก้อนศิลาลงมาทับผู้คนล้มตายเป็นอันมาก มิอาจจะเข้าตีต่อไปได้ ในที่สุดต้องถอยทัพกลับลงมายังค่ายเชิงเขา
 
พ.ศ. 2124 ([[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)]] คลาดเคลื่อนเป็น พ.ศ. 2110) เมื่อพระเจ้าบุเรงนองสวรรคต พระเจ้านันทบุเรงขึ้นครองราชย์แทน เจ้าเมืองรุมเมืองคังได้กระด้างกระเดื่องแข็งเมืองต่อหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรงจึงโปรดฯ ให้จัดทัพ[[มังกยอชวา|พระมหาอุปราชา]] ทัพ[[สิริสุธรรมราชาแห่งเมาะตะมะ|พระสังขทัต]] ทัพพระเจ้าเชียงใหม่[[นรธาเมงสอ|นรธามังช่อ]] และทัพพระนเรศวร ไปปราบเมืองรุมเมืองคัง เมื่อเสด็จไปถึงเมืองรุมเมืองคัง ทั้ง 4 พระองค์ปรึกษาว่ามีไพร่พลมากนัก จะสับสนวุ่นวายได้ พระนเรศวรจึงเสด็จไปเมืองแขวง[[อัตตะปือ|อัตตะปือ]]
กองทัพพระสังขทัต ทำการเข้าตีวันที่สอง เกิดการรบพุ่งกันเป็นสามารถ แต่ฝ่ายข้าศึกอยู่บนที่สูง ชัยภูมิมั่นได้ผลักก้อนศิลาลงมาถูกรี้พลพระสังขทัตล้มตายเป็นอันมาก จะขึ้นหักเอามิได้ ก็ต้องถอยทัพกลับลงมาเช่นกัน
 
วันจันทร์ เดือน 5 ขึ้น 5 ค่ำ กองทัพพระมหาอุปราชา ทำการเข้าตีวันแรกในตอนกลางคืน ก็ถูกฝ่ายข้าศึกผลักก้อนศิลาลงมาทับผู้คนล้มตายเป็นอันมาก มิอาจจะเข้าตีต่อไปได้ ในที่สุดต้องถอยทัพกลับลงมายังค่ายเชิงเขา
กองทัพพระนเรศวร ในระหว่างกองทัพพม่าเข้าตีสองวันแรก พระนเรศวร ได้นำทหารออกสำรวจภูมิประเทศรอบ ๆ เมืองรุมเมืองคัง และสังเกตผลการรบของกองทัพพม่าจนกระทั่งพบเส้นทางลับด้านหลังเมืองรุมเมืองคัง ซึ่งสามารถเข้าตีเมืองคังได้ง่ายกว่า โดยดำเนินการใช้กลยุทธในการเข้าตี พระนเรศวรแบ่งกำลังพลออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งทำการเข้าตีทางด้านหน้าระดมยิงปืนนกสับขึ้นไปอย่างแน่นหนา ในขณะที่ข้าศึกกำลังสาละวนผลักก้อนศิลา และทำการยิงโต้ตอบทางด้านหน้า พระนเรศวรทรงนำทหารจำนวนหนึ่งจู่โจมเข้าตีกระหนาบทางด้านหลังทำให้ข้าศึกพะว้าพะวัง พระองค์ทรงนำทหารเข้าตีโดยมีการวางแผนอย่างรอบคอบ ใช้กำลังส่วนน้อยเข้าตีลวงข้าศึกเมืองรุมเมืองคังด้านหน้า แล้วใช้กำลังส่วนใหญ่เข้าตีทางด้านหลังเมืองรุมเมืองคังและสามารถเข้ายึดเมืองรุมเมืองคังได้เป็นผลสำเร็จ
 
วันอังคาร เดือน 5 ขึ้น 6 ค่ำ กองทัพพระสังขทัต สังขทัตทำการเข้าตีวันที่สอง เกิดการรบพุ่งกันเป็นสามารถ แต่ฝ่ายข้าศึกอยู่บนที่สูง ชัยภูมิมั่นได้ผลักก้อนศิลาลงมาถูกรี้พลพระสังขทัตล้มตายเป็นอันมาก จะขึ้นหักเอามิได้ ก็ต้องถอยทัพกลับลงมาเช่นกัน
 
วันพุธ เดือน 5 ขึ้น 7 ค่ำ กองทัพพระเจ้าเชียงใหม่[[นรธาเมงสอ|นรธามังช่อ]] ทำการเข้าตีวันที่สาม ไม่สามารถเข้าตีได้ ต้องถอยทัพกลับมา
 
วันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 8 ค่ำ กองทัพพระนเรศวรกลับมาจากเมืองอัตตะปือ ได้ให้ระดมยิงปืนนกสับต้องข้าศึกที่ผลักก้อนศิลาล้มตายจำนวนมาก ผลักศิลาลงมาไม่ได้ พลทหารปีนขึ้นไปรบฆ่าข้าศึกตายจำนวนมาก สามารถจับตัวเจ้าเมืองรุมเมืองคังมาถวายพระเจ้าหงสาวดีได้<ref>พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9</ref>
 
[[พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน]] และ[[พระราชพงศาวดาร ฉบับหมอบรัดเล]]กล่าวต่างไปว่า พระนเรศวรให้พลปืนปีนขึ้นเขาแซงทั้ง 2 ข้าง แล้วให้ทหารอยู่บริเวณตีนเขาห่างๆ ทำการโห่ร้อง ชาวเมืองรุมเมืองคังผลักกลิ้งก้อนศิลาลงมาไม่โดน พลปืนที่ปีนขึ้นมาก็ระดมยิงใส่ชาวเมืองรุมเมืองคังตายเป็นจำนวนมาก ได้เมืองรุมเมืองคังเวลาเช้า​สามโมงจับตัวเจ้าเมืองรุมเมืองคังมาถวายพระเจ้าหงสาวดีได้ พระเจ้านันทบุเรงพระราชทานพานทองคำใส่ภูษา 1 องค์ หนักห้าชั่งจำหลักเปนรูปเทวดาแก่พระนเรศวร และไม่ได้กล่าวถึงเรื่องพระนเรศวรเสด็จไปเมืองอัตตะปือกับเรื่องกองทัพพระเจ้าเชียงใหม่ที่มารบเมืองรุมเมืองคัง<ref>ศานติ ภักดีคำ. พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน. พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง, 2558. 558 หน้า. หน้า (35)-(50). ISBN 978-616-92351-0-1 [จัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในการพระราชทานเพลิงศพพระธรรมปัญญาบดี (ถาวร ติสฺสานุกโร ป.ธ.๔)]</ref><ref>https://vajirayana.org/พระราชพงษาวดารกรุงเก่า-ฉบับหมอบรัดเล/๖</ref>
 
==เรื่องพระสังขทัต==
ในพงศาวดารไทยในตอนศึกเมืองรุมเมืองคัง ได้กล่าวถึงกองทัพของพระสังขทัตที่ยกมาตีเมืองรุมเมืองคัง ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงว่าเป็นใครมาจากไหน [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]ทรงสันนิษฐานว่าคือโอรสพระเจ้านันทบุเรงที่ได้เป็นพระเจ้าแปร ต่อมาทรงเปลี่ยนสันนิษฐานเป็น[[นะฉิ่นเหน่าง์]]ในพระนิพนธ์หนังสือ[[ไทยรบพม่า]] และในหนังสือพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทำให้เชื่อกันว่าพระสังขทัตคือนะฉิ่นเหน่าง์ แต่จากพงศาวดารเกตุมดีตองอูราชวงศ์ (Ketumadi Toungoo Yazawin ကေတုမတီ တောင်ငူ ရာဇဝင်) ระบุว่านะฉิ่นเหน่าง์มีอายุได้ 13 ปีในสงครามยุทธหัตถี<ref>Sein Lwin Lay, Kahtika U (2006). Mintaya Shwe Hti and Bayinnaung: Ketumadi Taungoo Yazawin (in Burmese) (2nd printing ed.). Yangon: Yan Aung Sarpay.</ref> เมื่อเทียบกับช่วงเวลาในศึกเมืองรุมเมืองคัง นะฉิ่นเหน่าง์จะมีอายุประมาณ 2-3 ปี ทำให้พระสังขทัตไม่น่าจะเป็นคนเดียวกันกับนะฉิ่นเหน่าง์
 
ปัจจุบันมีการสันนิษฐานว่าพระสังขทัตควรเป็น[[สิริสุธรรมราชาแห่งเมาะตะมะ|พระเจ้าเมาะตะมะสิริสุธรรมราชา]] พระราชโอรสของ[[พระเจ้าบุเรงนอง]]กับ[[พระนางราชเทวีแห่งหงสาวดี|พระนางราชเทวี]] ซึ่งมีพระนามเดิมว่า'''สังฆทัตถ''' (သင်္ဃဒတ္ထ) หรือ '''สังฆาทัตถ''' (သင်္ဃာ ဒတ္ထ)<ref> Royal Historical Commission of Burma (1829–1832). Hmannan Yazawin (in Burmese). 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar.</ref> อันมีความใกล้เคียงกับชื่อพระสังขทัตในพงศาวดารไทยมาก{{อ้างอิง}}
 
==ในหลักฐานพม่าและจีน==
ศึกเมืองรุมเมืองคังปรากฏเฉพาะในพงศาวดารฝ่ายไทย ไม่ปรากฏในพงศาวดารพม่า ในพงศาวดารพม่ามีเหตุการณ์ที่คล้ายกันคือ ในพ.ศ. 2125 เจ้าฟ้าไทใหญ่เมืองจันตา (ปัจจุบันอยูในเขตใต้คงและเป่าซาน มณฑลยูนนาน) และเมืองสองสบ (ปัจจุบันอยู่ใกล้กับเมืองก๋อง รัฐกะชีน) ไม่ยอมส่งบรรณาการให้พม่า หนีไปตั้งหลักที่เมืองจันตา (盏达) ในเขตใต้คง [[มณฑลยูนนาน]] พระเจ้านันทบุเรงจึงให้[[ตะโธรรมราชาโดธรรมราชาที่ _2|พระเจ้าแปรสะโตธรรมราชา]]และ[[นรธาเมงสอ|พระเจ้าเชียงใหม่นรธามังช่อ]]ยกกองทัพขึ้นไปปราบปราม ล้อมเมืองจันตา 5 เดือนจึงยึดเมืองได้ จับเจ้าฟ้าทั้งสองกลับหงสาวดีใน พ.ศ. 2126<ref>Royal Historical Commission of Burma (1829–1832). Hmannan Yazawin (in Burmese). 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar.</ref> ในหมิงสื่อลู่และหมิงสือได้ระบุว่ามีชาวจีนในยูนนานชื่อเยว่เฟิง (嶽鳳) และคนเมืองกึ๋งม้าชื่อห่านเฉียน (罕虔) ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือกองทัพพม่า และกล่าวว่าพม่าได้โจมตีหัวเมืองไทใหญ่ในเขตยูนนานจำนวนมาก แต่ถูกราชวงศ์หมิงโต้กลับ โดยส่งหลิวทิง (劉綎) และเติ้งจื่อหลง (鄧子龍) สองแม่ทัพเข้ามาทำศึกกับพม่า สงครามครั้งนี้จบลงด้วยความพ่ายแพ้ของหงสาวดี ในปี พ.ศ. 2127{{อ้างอิง}}<ref>https://zh.wikisource.org/wiki/%E6%98%8E%E5%8F%B2/%E5%8D%B7247?fbclid=IwAR2loZEKUBoqTQIF45603VXee4aZNO_s0oTdbA0eceBVdOISJSqvVys1IQU</ref><ref>https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&res=964038&remap=gb</ref>
 
==เมืองรุมเมืองคัง==
ปัจจุบันยังไม่ทราบว่าเมืองรุมเมืองคังอยู่ที่ไหน [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]และ[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์]] ทรงสันนิษฐานว่าเมืองรุมเมืองคังอาจเป็นเมืองเดียวกับเมืองก๋อง (မိုးကောင်း) ใน[[รัฐกะชีน]] ซึ่งยังไม่ปรากฏหลักฐาน เมื่อเทียบกับเหตุการณ์ตามหลักฐานพม่าและจีนแล้ว เมืองรุมเมืองคังอาจจะเป็นเมืองในกลุ่มหัวเมืองไทใหญ่ในยูนนานก็เป็นได้

ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) กล่าวว่าสมเด็จพระนเรศวรทรง "เสด็จไปเถิงเมืองล้านช้างแล้วเสด็จไปเถิงอัตปือแดนเมืองจาม"<ref>พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9</ref> ปล่อยให้กองทัพที่เหลือตีเมืองรุมเมืองคัง เมื่อสมเด็จพระนเรศวรเสด็จกลับมาจึงยกทัพไปเมืองรุมเมืองคัง จึงสันนิษฐานว่าเมืองรุมเมืองคังอาจจะเป็นเมืองใน[[ลาว]]ก็เป็นได้
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
* http://cgsc.rta.mi.th/cgsc/index.php?option=com_content&view=article&id=73:870151-&catid=7:88&Itemid=25
* วิบูลย์ วิจิตรวาทการ. '''ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช.''' -- กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2549. [[ISBN 9743415092]]
* Rong Syamananda '''A History of Thailand (Eighth Edition) ''' -- Bangkok : Thai Watana Panich
 
{{กรุงศรีอยุธยา}}