ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aroonsaha (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Aroonsaha (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 18:
== พระประวัติ ==
===ปฐมวัยและการศึกษา===
นายพันเอกพิเศษ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ประสูติเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2394 ที่[[วังท่าพระ]] ทรงเป็นพระโอรสองค์สุดท้ายใน[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม]] อธิบดีกรมช่างศิลป์หมู่และช่างศิลา กับหม่อมน้อย (สกุลเดิม: ภมรมนตรี) อดีตหม่อมใน[[สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์]] เมื่อประสูติมีพระนามว่ายศที่ '''หม่อมเจ้าชายปฤษฎางค์ ชุมสาย'''
 
พระองค์เจ้าหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กข้าหลวงเดิมใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 5 ทรงเป็นนักเรียนหลวงเสด็จไปเรียนหนังสือศึกษาที่โรงเรียนราฟเฟิลล์ [[ประเทศสิงคโปร์]] พร้อมกับพระราชอนุชาในรัชกาลที่ 5 อีกหลายพระองค์ จากนั้นได้เสด็จไปศึกษาต่อที่[[ประเทศอังกฤษ]] ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2414]] และเข้าศึกษาใน[[ราชวิทยาลัยแห่งลอนดอน]] (King's College London) [[มหาวิทยาลัยลอนดอน]] ในสาขา[[วิทยาศาสตร์ประยุกต์]]และ[[วิศวกรรมศาสตร์]] เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาและเสด็จกลับประเทศไทย[[สยาม]]ในปี พ.ศ. 2419 แล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับราชการตำแหน่งผู้ช่วยราชการใน[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์|พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศรวรฤทธิ์]] ต่อมาพระองค์เจ้าหม่อมเจ้าปฤษฎางค์ได้ทรงขอกลับไปศึกษาต่อเพิ่มเติมที่ประเทศอังกฤษในด้านวิศวกรรมโยธา และด้านการจัดการ[[โรงกษาปณ์]] <ref name="ศิลปวัฒนธรรม"/>
 
===รับราชการ===
[[ไฟล์:Prisdang 1883.jpg|thumb|200px|left|พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ฉายเมื่อปี พ.ศ. 2426 ขณะดำรงตำแหน่งอัครราชทูตสยามประจำกรุงปารีส]]
ในปี [[พ.ศ. 2423]] ขณะมีพระชันษาได้ 29 ชันษาปี ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นล่ามและตรีทูต ในคณะของ[[เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค)]] เพื่อเข้าเฝ้า[[สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร]] และได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูตไทยคนแรกประจำ[[ราชสำนักเซนต์เจมส์]]แห่งอังกฤษ และประจำประเทศต่าง ๆ ในยุโรปและอเมริการวมถึง 12 ประเทศ ได้เป็นผู้แทนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระจักรพรรดิแห่ง[[ออสเตรีย-ฮังการี]]และพระเจ้ากรุง[[ปรัสเซีย]] ก่อนจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นอัครราชทูตประจำ[[กรุงปารีส]] พร้อมทั้งรับพระราชทานสถาปนาพระอิศริยยศเป็นอิศริยยศเป็น "พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า" และรับพระราชทาน[[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎสยาม]] ชั้นที่ 1 มหาสุราภรณ์ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้า เมื่อปี พ.ศ. 2426 ขณะมีพระชันษาได้ 32 ชันษาปี<ref name="ตั้งพระองค์เจ้าปฤษฎางค์">{{cite book |title= จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาค ๑๔ (เดือน ๙ จุลศักราช ๑๒๔๕)|last= จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|first= พระบาทสมเด็จพระ|authorlink= พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|coauthors= |year= 2481|publisher= โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย|location= กรุงเทพฯ|isbn= |page= |pages= |url= https://vajirayana.org/จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน-พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว-ภาค-๑๔/เดือน-๙-จุลศักราช-๑๒๔๕|accessdate= 24 กันยายน 2562}}</ref>
 
ในปี พ.ศ. 2428 พระองค์เจ้าปฤษฎางค์มีพระชันษาได้ 34 ชันษาปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ให้แสดงความเห็นต่อการเสียเอกราชของพม่าจาก[[สงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่สาม]] และแนวการปรับปรุงการปกครองของสยามเพื่อรับมือกับสถานการณ์ทำนองเดียวกันที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ทรงตั้งพระทัยจะพระราชหฤทัยให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ถวายความคิดเห็นเป็นการส่วนพระองค์ แต่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้นำพระราชหัตถเลขาและคำกราบบังคมทูลดังกล่าวไปประชุมปรึกษาพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ [[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา|พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต]] [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์|พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ]] และข้าราชการผู้ใหญ่ในสถานทูต และได้ตกลงกันว่าจะทูลเกล้าฯ ถวายความเห็นรวมกันทั้ง 4 พระองค์ พร้อมทั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่อีก 7 คน อันเป็นที่มาของคำเสนอให้ปฏิรูปการเมืองการปกครอง หรือ "คำกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ. 103" ซึ่งสาระสำคัญคือขอให้มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลักในการปกครองบ้านเมืองด้วยระบอบประชาธิปไตย <ref name="ศิลปวัฒนธรรม">[http://www.numtan.com/nineboard/view.php?id=1166 เรียกร้องรัฐธรรมนูญครั้งแรก สมัยรัชกาลที่ ๕ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ กับ "คำกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ. ๑๐๓"] หนังสือ ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 24 ฉบับที่ 12 วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546</ref>
 
หลังการทูลเกล้าฯ ถวายความเห็นดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอทั้ง 3 พระองค์ และพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ เสด็จกลับกรุงเทพฯสยาม แต่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ยังไม่เสด็จกลับทันที ด้วยทรงติดภารกิจในการลงพระนามให้สยามเป็นสมาชิกใน[[สหภาพสากลไปรษณีย์]] และจัดพิมพ์แสตมป์สยามในระบบสากลเป็นครั้งแรก (โปรดเกล้าฯ พระราชทานอำนาจในการดำเนินการดังกล่าวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2428)<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=เล่ม 1|issue=ตอน 34|pages=หน้า 298|title=พระราชทานอำนาจให้พระวงษเธอพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ไปประชุมสากลโทรเลข|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2427/034/298_1.PDF|date=16 สิงหาคม 2432|accessdate=3 สิงหาคม 2562|language=ไทย}}</ref> หลังจากนั้นจึงเสด็จกลับสยามพร้อมกับพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณในเดือนมกราคม พ.ศ. 2429
 
กล่าวกันว่าเพราะการทำเกินพระราชประสงค์ในการถวายความคิดเห็นครั้งนั้น พระองค์เจ้าปฤษฎางค์จึงไม่ทรงเป็นที่โปรดปรานตั้งแต่นับแต่นั้นเป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม เมื่อเสด็จกลับมาถึงสยามแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์เข้ารับราชการใน[[กรมไปรษณีย์โทรเลข|กรมไปรยสนีย์แลโทรเลข]]<ref>{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง=พิพัฒน์ ชูวรเวช, พ.ต.อ. นายแพทย์|ชื่อหนังสือ=ตำนานแสตมป์ไทยสำหรับนักสะสม|URL= |จังหวัด=กรุงเทพ|พิมพ์ที่=อรุณการพิมพ์|ปี= พ.ศ. 2546|ISBN=974-91019-9-5|หน้า=หน้าที่|จำนวนหน้า=264}}</ref> ซึ่งกำลังอยู่ในระยะเริ่มจัดตั้ง โดยทรงรับตำแหน่งเป็นจางวางกรมไปรยสนีย์แลโทรเลข และยังได้ทรงปฏิบัติราชการอื่นที่สำคัญอีกหลายอย่าง จนได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ในปี พ.ศ. 2432 ในระยะนี้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงประสบปัญหาส่วนพระองค์ด้านการเงินอย่างหนัก และทรงถูกเรียกคืนบ้านหลวงเนื่องจากทรงมีปัญหาในการบริหารจัดการเงินงบประมาณกรมไปรยสนีย์แลโทรเลข และทรงพยายามจะบรรจุพระอนุวงศ์พระองค์หนึ่งเข้ารับราชการในกรมโยธาธิการ ซึ่งขณะนั้นอยู่ในขั้นตอนการจัดตั้งหน่วยงาน (พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงมีส่วนร่วมในการร่างแผนจัดตั้งหน่วยงานด้วย) เพื่อตอบแทนเจ้านายพระองค์หนึ่งซึ่งได้ประทานความช่วยเหลือทางการเงินแก่พระองค์<ref>[https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1329230777140617&id=1174884455908584&__tn__=K-R พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ พระประวัติที่ถูกตัดตอน (๗) ล้างภาพใหญ่โตหมดสิ้น - หม่อมหลวงชัยนิมิตร นวรัตน]</ref> พระองค์จึงคิดว่ามีศัตรูที่คอยจ้องเล่นงานพระองค์อยู่ตลอดเวลาและเกิดความท้อใจที่จะรับราชการต่อไป
 
===ลาออกจากราชการและผนวช===
[[ไฟล์:Kurt boeck indien nepal 046.jpg|thumb|300px|พระชินวรวงศ์ หรือพระภิกษุพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ (ประทับนั่งตรงกลาง) ขณะเสด็จไปจาริกแสวงบุญที่ประเทศพม่า เมื่อ พ.ศ. 2442 ในรูปนี้ทรงฉายพระรูปร่วมกับพันเอก[[เฮนรี สตีล โอลคอตต์]] พุทธศาสนิกชนชาวอเมริกัน (ยืนข้างหลังพระชินวรวงศ์)]]
ในปี พ.ศ. 2434 ขณะมีพระชันษาได้ 40 ชันษาปี พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้ตามเสด็จ[[สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช|สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช]] เสนาบดีกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น ไปราชการที่[[ประเทศญี่ปุ่น]] ระหว่างทางเสด็จกลับ ขบวนเสด็จได้แวะที่[[เซี่ยงไฮ้]] [[ราชวงศ์ชิง|ประเทศจีน]] เนื่องจากสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทรงพระประชวรอย่างกะทันหันและจำเป็นต้องพักรักษาพระองค์ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้ตัดสินพระทัยลาออกจากราชการโดยไม่มีการบอกกล่าวและทรงทิ้งจดหมายกราบบังคมทูลลาออกไว้ ก่อนจะเสด็จไปยังเมืองต่าง ๆ ในต่างประเทศ เพื่อหางานทำ ทั้งที่[[ไซ่ง่อน]] ([[โคชินไชนา]]) กรุง[[พนมเปญ]] ([[กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส]])<ref>[https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1333132136750481&id=1174884455908584&__tn__=K-R พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ พระประวัติที่ถูกตัดตอน (๑๑) มูลเหตุวิบากหลากหลาย - หม่อมหลวงชัยนิมิตร นวรัตน]</ref> [[รัฐเปรัก]] (อาณานิคมมลายูของอังกฤษ)<ref>[https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1334209869976041&id=1174884455908584&__tn__=K-R พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ พระประวัติที่ถูกตัดตอน (๑๒) ร่อนเร่พเนจรร้อนกาย - หม่อมหลวงชัยนิมิตร นวรัตน]</ref> จนกระทั่งได้เสด็จไปที่[[ประเทศศรีลังกา]]และทรงผนวชเป็นพระภิกษุในปี พ.ศ. 2439 ขณะมีพระชันษาได้ 45 ชันษาปี โดยมีพระวัสกะฑุเว ศรีสุภูติ (Waskaḍuwe Śrī Subhūti) พระสังฆนายกแห่งกรุงโคลัมโบ เป็นพระอุปัชฌาย์<ref>by Indrajith, Saman “Temple that keeps Thai - Sri Lanka ties strong”, ''The Island'', 16.08.2003. Accessed on 15.2.2018 on http://www.island.lk/2003/08/16//satmag01.html</ref> ทรงได้รับพระฉายาว่า "ชินวรวงฺโส ภิกขุ" หรือ "พระชินวรวงศ์" (ในเอกสารภาษาต่างประเทศ ทรงใช้พระนามว่า Bhikkhu P.C. Jinavaravamsa) ภายหลังได้ทรงเป็นเจ้าอาวาส[[วัดทีปทุตตมาราม]] เป็น[[วัดไทย]]วัดแรกในกรุง[[โคลัมโบ]] ระหว่างปี พ.ศ. 2448 - 2453<ref>[http://www.mfa.go.th/web/224.php?id=14560 ศรีลังกา : กฐินพระราชทาน ณ วัดทีปทุตตมาราม ปฐมฤกษ์ครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ไทย-ศรีลังกา]</ref>
[[ไฟล์:Buddhist Stupa containing relics of Buddha, National Museum, New Delhi.jpg|thumb|left|200px|[[พระบรมสารีริกธาตุ]]ที่ขุดพบจากโบราณสถานกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งรัฐบาล[[บริติชราช]]ในขณะนั้นได้แบ่งเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติกรุงนิวเดลี [[ประเทศอินเดีย]] เป็นพระบรมสารีริกธาตุชุดเดียวกันกับที่รัฐบาลบริติชราชได้ทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2442]]
ระหว่างที่พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ดำรงสมณเพศเป็นพระภิกษุชินวรวงศ์นั้น ได้มีการค้นพบ[[พระบรมสารีริกธาตุ]]ภายในซากโบราณสถานกรุง[[กบิลพัสดุ์]]ที่[[ประเทศอินเดีย]]ในปี พ.ศ. 2439 เมื่อพระชินวรวงศ์ทรงทราบข่าวดังกล่าวจึงเสด็จไปที่นั่นเพื่อตรวจสอบพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดพบ<ref>{{cite journal|journal=Life Style กรุงเทพธุรกิจ|author=เพ็ญนภา หงษ์ทอง|volume=|issue=|pages=|title=ตามรอยพิสูจน์พระบรมสารีริกธาตุ จากกบิลพัสดุ์สู่บรมบรรพต|url=https://www.facebook.com/Buddhism2Science/photos/a.206619752807599/330440537092186/?type=1&theater|date=23 พฤศจิกายน 2555|accessdate=17 สิงหาคม 2562|language=ไทย}}</ref> และได้ทรงแนะนำให้รัฐบาลอังกฤษซึ่งปกครองอินเดีย ([[บริติชราช]]) ทูลเกล้าฯ ถวายพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว<ref>[https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1326602350736793&id=1174884455908584 พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ พระประวัติที่ถูกตัดตอน (๔) เคว้งคว้างเวหาคว้าลม - หม่อมหลวงชัยนิมิตร นวรัตน]</ref> เพราะทรงเป็นพระมหากษัตริย์เพียงประเทศพระองค์เดียวในโลกยุคสมัยนั้นที่ทรงเป็นพุทธมามกะ ต่อมาเมื่อทางสยามตอบรับการทูลเกล้าฯ ถวายพระบรมสารีริกธาตุจากรัฐบาลอังกฤษ และมอบหมายให้[[เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)|พระยาสุขุมนัยวินิต (ปั้น สุขุม)]] ข้าหลวง[[มณฑลนครศรีธรรมราช]] เป็นผู้ออกไปรับพระบรมสารีริกธาตุในปี พ.ศ. 2442 ปรากฏว่าพระชินวรวงศ์ได้เกิดความขัดแย้งกับพระยาสุขุมนัยวินิตอย่างรุนแรง เนื่องจากพระองค์ได้บอกกับพระยาสุขุมนัยวินิตว่า ทรงแอบหยิบเอาพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระเศียรที่รัฐบาลอังกฤษรวบรวมไว้จากการค้นพบดังกล่าวมาองค์หนึ่ง เผื่อว่าหากรัฐบาลอังกฤษไม่ยอมทูลเกล้าฯ ถวายพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ก็จะได้นำพระบรมสารีริกธาตุส่วนนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเสียเอง พระยาสุขุมนัยวินิตซึ่งมีความรู้ทางพระพุทธศาสนาและภาษาบาลีเป็นอย่างดี จึงแจ้งแก่พระชินวรวงศ์ว่าพระองค์ได้ต้อง[[อาบัติ]][[ปาราชิก]]ข้อ "อทินนาทานสิกขาบท" (ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้) ไปแล้ว ขาดจากความเป็นพระภิกษุ ณ นาทีที่กระทำเช่นนั้นแล้ว และได้รายงานเรื่องดังกล่าวไปยังทางกรุงเทพฯสยาม<ref>{{cite journal|journal=|author=[[สุลักษณ์ ศิวรักษ์]]|volume=|issue=|pages=|title=ค้นหาพระพุทธเจ้า|url=http://www.buddhadasa.org/บทความพุทธทาสภิกขุ/ค้นหาพระพุทธเจ้า-สุลักษณ์-ศิวรักษ์.html|date=|accessdate=17 สิงหาคม 2562|language=ไทย}}</ref><ref name="หล่นลงโคลนตมจมดิน">[https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1327478597315835&id=1174884455908584&__tn__=K-R พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ พระประวัติที่ถูกตัดตอน (๕) หล่นลงโคลนตมจมดิน - หม่อมหลวงชัยนิมิตร นวรัตน]</ref>
 
เมื่อทางกรุงเทพฯ สยามทราบเรื่องพระชินวรวงศ์ต้องอาบัติปาราชิกตามที่พระยาสุขุมนัยวินิตได้รายงานไปก็เห็นด้วยเช่นนั้น และ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ|สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ]] เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ ได้ทรงมีโทรเลขไปยังพระชินวรวงศ์ผ่านกงสุลสยามในโคลัมโบว่า พระชินวรวงศ์จะเข้าไปกรุงเทพฯ สยามแบบเป็นพระไม่ได้ เพราะต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ในเวลานั้นพระชินวรวงศ์ทรงมีแผนการจะเสด็จกลับประเทศสยามเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงได้รับโทรเลขดังกล่าวจึงทรงล้มเลิกแผนการเสด็จกลับ และภายหลังแม้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จประพาสกรุงโคลัมโบระหว่างทางเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2450 แต่พระชินวรวงศ์ก็ไม่ได้รับโอกาสให้เข้าเฝ้าฯ ทั้งในสมณเพศ เพราะรัฐบาลสยามยังคงตั้งเงื่อนไขไว้ว่าพระชินวรวงศ์จะเข้าเฝ้าได้ก็ต่อเมื่อลาสิกขาออกเป็นฆราวาสแล้วเท่านั้น<ref name="หล่นลงโคลนตมจมดิน" />
 
อนึ่ง พระบรมสารีริกธาตุที่สยามได้รับมาจากรัฐบาลอังกฤษนั้น โปรดเกล้าฯ ให้บรรจุไว้ที่[[พระบรมบรรพต]] [[วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร]] และแบ่งไปยังประเทศต่าง ๆ ที่นับถือพระพุทธศาสนา
 
===ลาสิกขาและบั้นปลายพระชนม์ชีพ===
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์เสด็จกลับประเทศสยามในปลายปี พ.ศ. 2453 (แต่ปฏิทินสากลเปลี่ยนเป็น ค.ศ. 1911 แล้ว) ขณะมีพระชันษาได้ 60 ชันษาปี เพื่อร่วมพระราชพิธีถวายบังคมพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ การเสด็จกลับสยามครั้งนี้กลายเป็นการเสด็จกลับอย่างถาวร เพราะพระองค์จำต้องลาสิกขาออกเป็นฆราวาสตามเงื่อนไขของ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ|พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ]]<ref name="หล่นลงโคลนตมจมดิน" /> และ[[สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส]] เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2453 เพื่อให้ทรงได้รับพระบรมราชานุญาตให้เข้าไปถวายบังคมพระบรมศพ แต่หลังจากเสร็จงานพระราชพิธีพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว พระองค์ก็ไม่ได้ทรงรับพระบรมราชานุญาตให้ผนวชและกลับไปศรีลังกาอีกครั้ง<ref>{{cite journal|journal=ศิลปวัฒนธรรม|volume=|issue=|pages=|author=[[สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา]]|title=ทำไม ร.5 ทรงห้าม “พระองค์เจ้าปฤษฎางค์” เหยียบแผ่นดินรัชกาลพระองค์จนชีวิตยากไร้|url=https://www.silpa-mag.com/history/article_24733|date=20 ธันวาคม 2561|accessdate=16 สิงหาคม 2562|language=ไทย}}</ref> เนื่องจากทางกรุงเทพฯ สยามยังคงเห็นว่าพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ต้องอาบัติปาราชิกจากเรื่องทรงแอบหยิบเอาพระบรมสารีริกธาตุในครั้งนั้น รวมเวลาที่ทรงผนวชเป็นพระภิกษุได้ 14 พรรษา
 
หลังจากลาสิกขาแล้วทรงทำงานเป็นบรรณาธิการแผนกภาษาไทยให้กับหนังสือพิมพ์ "สยามออบเซิร์ฟเวอร์" ของ[[พระยาอรรถการประสิทธิ์ (วิลเลียม แอลเฟรด คุณะดิลก)]] อยู่ระยะหนึ่ง จากนั้นประทับอยู่ใน[[ตรอกกัปตันบุช]] ทรงหาเลี้ยงชีพเลี้ยงพระชนม์ชีพด้วยการรับจ้างสอนภาษาอังกฤษ ต่อมาในปี พ.ศ. 2466 พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ได้ขอกลับเข้ารับราชการอีกครั้งที่[[กระทรวงการต่างประเทศ]] ทั้งที่ในเวลานั้นทรงมีพระชันษาได้ 72 ชันษาปีแล้ว พระองค์รับราชการได้ไม่นานก็ทรงถูกให้ออกจากราชการ (สำนวนในยุคนั้นเรียกว่า "ถูกดุลย์") เช่นเดียวกับข้าราชการหลาย ๆ คนในเวลานั้น เนื่องจากรัฐบาลจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายในงบประมาณแผ่นดินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงบันทึกไว้ว่าถูกให้ออกจากราชการในปี พ.ศ. 2467)<ref>[http://www.reurnthai.com/index.php?topic=6360.720 พระองค์เจ้าปฤษฎางค์-ชีวิตลับที่ทรงเผยไม่ตลอด (เว็บบอร์ดเรือนไทยดอตคอม)]</ref>
 
ในช่วงบั้นปลายพระชนม์ชีพ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงย้ายไปอาศัยพำนักอยู่ในตรอก[[วัดมหาพฤฒาราม]] ดำรงพระชนม์ชีพด้วยเงินเบี้ยหวัดในฐานะพระอนุวงศ์และมีพระญาติส่วนหนึ่งให้ความอุปการะ แต่ก็ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตพระชนม์ชีพ อีกทั้งพระองค์ยังมีพระโรคภัยรุมเร้า ประชวรเข้าโรงพยาบาลบ่อยครั้ง ดังข้อความในตอนท้ายของหนังสือพระประวัติซึ่งพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ทรงนิพนธ์ไว้เอง ระบุว่า
 
{{คำพูด|''ข้าพเจ้าก็มีร่างกายทุพพลภาพ โรคภัยต่าง ๆ ก็ตามมาผะจญซ้ำเติม ป่วยไข้เรื่อยมาโดยความอัตคัดจนกาลบัดนี้ เป็นตุ๊กตาล้มลุกลงนอนอยู่บ้าง ลุกขึ้นเต้นรำตะกุยตะกายหาใส่ท้องบ้าง เที่ยวขอทานญาติมิตรจนเขาเบื่อระอาบ้าง ไปอยู่โรงพยาบาลบ้าง เรื่อยมา จนได้แพทย์สวรรค์มาช่วยให้ลุกขึ้นเต้นไปได้อีกครั้งหนึ่ง จึงได้เขียนประวัติตัวเอง ซึ่งแม้ตัวเองก็อดเห็นแปลกประหลาดไม่ได้''|พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์}}
 
พระองค์ทรงดำรงพระชนม์อยู่ด้วยความยากไร้เช่นนี้ จนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2477 ขณะมีพระชันษาได้ 84 ชันษาปี และได้รับการพระราชทานเพลิงพระศพที่[[วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร]] เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 โดยพระศพของพระองค์ได้รับการบรรจุในโกศราชวงศ์อย่างเก่า<ref>{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง=กรมศิลปากร|ชื่อหนังสือ=สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ภาค 4|URL= httphttps://www.finearts.go.th/suphanburilibrarynakhonsithammaratlibrary/parametersview/search/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B9%8C/book/99.html?17849-สาส์นสมเด็จลายพระหัตถ์-สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์-และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ--ภาคที่-42- page=122|จังหวัด=พระนคร|พิมพ์ที่=สำนักพิมพ์คลังวิทยา|ปี= ม.ป.ป.|ISBN=|หน้า=122|จำนวนหน้า=}}</ref> คือเป็นโกศไม้สี่เหลี่ยมหุ้มผ้าขาว ยอดโกศเป็นรูปฉัตร 3 ชั้น และไม่มีเครื่องประกอบใด ๆ <ref>{{อ้างหนังสือ|ผู้แต่ง=กรมศิลปากร|ชื่อหนังสือ=สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ภาค 4|URL= httphttps://www.finearts.go.th/suphanburilibrarynakhonsithammaratlibrary/parametersview/search/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B9%8C/book/99.html?17849-สาส์นสมเด็จลายพระหัตถ์-สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์-และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ--ภาคที่-42- page=164|จังหวัด=พระนคร|พิมพ์ที่=สำนักพิมพ์คลังวิทยา|ปี= ม.ป.ป.|ISBN=|หน้า=158|จำนวนหน้า=}}</ref>
 
== ชีวิตส่วนพระองค์ ==