ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยานครราชสีมา (ขำ ณ ราชสีมา)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้า
 
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
'''พระยานครราชสีมา''' นามเดิมว่า '''ขำ''' ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าเมือง[[จังหวัดนครราชสีมา|นครราชสีมา]]ในช่วงต้นรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และดำรงตำแหน่งเป็น '''พระยาไชยวิชิตสิทธิสาตรา''' ผู้รักษากรุงเก่าอยุธยาในรัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เป็นแม่ทัพในสงคราม[[อานัมสยามยุทธ]]
 
พระยานครราชสีมา หรือพระยาไชยวิชิตสิทธิสาตรา (ขำ) เป็นบุตรของ[[เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน)]]<ref name=":0">'''จดหมายเหตุนครราชราชสีมา'''. กรมศิลปากร, พ.ศ. 2497</ref> มารดาไม่ปรากฏชัดเจน อาจจะคือท่านผู้หญิงบุนนาค ธิดาของ[[เจ้าพระยามหาเสนา (ปิ่น)|เจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น)]] และเป็นน้องสาวของ[[เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)]] พระยานครราชสีมา (ขำ) มีพี่น้องร่วมมารดาและต่างมารดารวมกันทั้งสิ้น 50 คน<ref name=":0" /> ยกตัวอย่างเช่น นายศัลวิชัยหุ้มแพร (ทองคำ) [[พระยานครราชสีมา (เมฆ ณ ราชสีมา)]] พระยามหาณรงค์ (พลาย มหาณรงค์ ณ ราชสีมา) พระยาสุริยเดช (คง ณ ราชสีมา) พระยาสุริยเดช (โสฬส อินทโสฬส ณ ราชสีมา) ฯลฯ<ref name=":0" />
 
พระยานครราชสีมา (ขำ) ปรากฏครั้งแรกรับราชการในตำแหน่ง''พระราชวรินทร์'' เจ้ากรมพระตำรวจนอกซ้าย ในสงคราม[[อานัมสยามยุทธ]] พ.ศ. 2376 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯมีพระราชโองการให้[[พระยามหาอำมาตยาธิบดี (ป้อม อมาตยกุล)|พระมหาเทพ (ป้อม อมาตยกุล)]] และพระราชวรินทร์ (ขำ) ยกทัพไปทางภาคอีสานเพื่อไปโจมตีอาณาจักรเมืองพวนและเมืองล่าน้ำหรือ[[จังหวัดเหงะอาน]]ของเวียดนาม<ref name=":1">เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค). '''พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓'''.</ref> พระราชวรินทร์ (ขำ) ยกทัพไปถึงเมือง[[หนองคาย]] พระราชวรินทร์และ[[พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา ณ หนองคาย)|พระปทุมเทวาภิบาล (บุญมา)]] เจ้าเมืองหนองคายยกทัพจากหนองคายไปยังเมืองพวน ส่งคนไปเกลี้ยกล่อม[[เจ้าสานเมืองพวน]]ให้หันมาเข้ากับฝ่ายสยาม เจ้าสานเมืองพวนยินยอมมาเข้าสวามิภักดิ์ต่อฝ่ายสยาม และให้การต้อนรับพระราชวรินทร์ซึ่งยกทัพเข้าครองเมืองพวนได้โดยสวัสดิภาพ<ref name=":1" />
 
ต่อมาพระราชวรินทร์ (ขำ) ได้เลื่อนเป็น''พระพิเรนทรเทพ'' เจ้ากรมพระตำรวจใหญ่ขวา จากนั้นในปีพ.ศ. 2380 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯมีพระราชโองการให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) พระยามหาอำมาตยาธิบดี (ป้อม อมาตยกุล) และพระพิเรนทรเทพ (ขำ) ไปสำรวจสำมะโนประชากรทำบัญชีเลกไพร่พลที่หัวเมืองลาวภาคอีสานและเขมรป่าดง พระพิเรนทรเทพ (ขำ) รับผิดชอบเดินทางไปทำบัญชีไพร่พลเมืองหนองคาย เมืองหนองหาร เมือง[[ขอนแก่น]] [[อำเภอชนบท|เมืองชนบท]] [[อำเภอภูเวียง|เมืองภูเวียง]] และเมืองปากเหือง<ref name=":1" />
[[ไฟล์:Wat_Mai_Phiren_ubosot.jpg|left|thumb|พระยานครราชสีมา (ขำ) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระพิเรนทรเทพ บูรณะปฏิสังขรณ์วัดใหม่โพธิ์สามต้น ต่อมาได้รับชื่อว่า[[วัดใหม่พิเรนทร์]] ปัจจุบันตั้งอยู่ที่[[แขวงวัดท่าพระ]] [[เขตบางกอกใหญ่]]]]
ในพ.ศ. 2383 บรรดาเจ้าเมืองกัมพูชาซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของเวียดนาม[[ราชวงศ์เหงียน]]นั้น ก่อกบฏลุกฮือขึ้นต่อต้านการปกครองของญวน เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) และพระพิเรนทรเทพ (ขำ) ติดตามเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) ไปในการยกทัพเข้าโจมตีเมืองเขมร เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) มอบหมายให้พระพิเรนทรเทพ (ขำ) และ[[เจ้าพระยายมราช (แก้ว สิงหเสนี)|พระพรหมบริรักษ์ (แก้ว)]] ยกทัพจากเมืองพระตะบองเข้าตีเมือง[[โพธิสัตว์ (เมือง)|โพธิสัตว์]]<ref name=":1" /> ในเวลานั้นเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ผู้เป็นบิดาของพระพิเรนทรเทพ (ขำ) ล้มป่วยลง เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ถึงแก่อสัญกรรมในพ.ศ. 2388 พระพิเรนทรเทพ (ขำ) และญาติพี่น้องได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดใหม่โพธิ์สามต้นในพ.ศ. 2384 ซึ่งต่อมาวัดนี้ได้รับชื่อว่า[[วัดใหม่พิเรนทร์]]