ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เนื้อหาน้อย+ไม่มีอ้างอิงแสดงความโดดเด่น
ป้ายระบุ: เปลี่ยนทางใหม่
Pittayutm (คุย | ส่วนร่วม)
ลบการเปลี่ยนทางไป มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ป้ายระบุ: ลบหน้าเปลี่ยนทาง เพิ่มรายการยาว ผู้ใช้แก้หน้าเปลี่ยนทาง
บรรทัด 1:
#เปลี่ยนทาง{{กล่องข้อมูล [[คณะในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]]
| ชื่อ = คณะทันตแพทยศาสตร์ <br> มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์<br>วิทยาเขตหาดใหญ่
| ชื่ออังกฤษ = Faculty of Dentistry<br>Prince of Songkla University
| อักษรย่อ = ทพ. / DENT
| ภาพ = [[ไฟล์:Prince of Songkla University Emblem.png|150px]]
| วันที่ก่อตั้ง = {{วันเกิดและอายุ|2526|11|10}}
| คณบดี = รศ.ดร.ทพญ. ชิดชนก ลีธนะกุล
| รองคณบดีฝ่ายคลินิก =
| สีประจำคณะ = {{color box|Thistle}} [[สีม่วง|สีม่วงสุทธาสิโนบล]]
| ที่อยู่ = 15 ถนนกาญจนวนิช ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90112
| เว็บ = https://www.dent.psu.ac.th
}}
'''คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์''' (Faculty of Dentistry : Prince of Songkla University) เป็นคณะทันตแพทยศาสตร์ของ[[มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]] โดยเป็นคณะทันตแพทยศาสตร์ลำดับที่ 5 ของประเทศไทย ผ่านการรับรองหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิตจากทันตแพทยสภาแล้ว
 
== ประวัติ ==
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 เพื่อเป็นสถาบันผลิตทันตแพทย์ในเขตภาคใต้ โดยเป็นคณะทันตแพทยศาสตร์แห่งแรกของภาคใต้ เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในการกระจายทันตแพทย์สู่ชุมชนชนบทในภาคใต้ ปัจจุบันคณะทันตแพทยศาสตร์ ผลิตทันตบุคลากรทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและระดับวุฒิบัตร โดยจัดการเรียนการเรียนการสอนทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติที่เน้นผู้เรียนเป็น สำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย ภายใต้การดูแลโดยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถด้าน วิชาการสาขาต่าง ๆ และด้านการวิจัย<ref>[https://www.dent.psu.ac.th/dent/history/ ประวัติคณะทันตแพทยศาสตร์] 16 เมษายน 2564.</ref>
 
นอกจากนี้ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยังเป็นศูนย์กลางการให้บริการทางทันตกรรมของภาคใต้ โดยมีโรงพยาบาลทันตกรรมซึ่งเป็นศูนย์กลางวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางทันตกรรม และเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษา<ref>[https://www.dent.psu.ac.th/hospital/th/ โรงพยาบาลทันตกรรม] 16 เมษายน 2564.<</ref>
 
ปัจจุบันคณะทันตแพทยศาสตร์ได้พัฒนาก้าวหน้าไปอย่างมากมาย จากเจตนารมณ์เดิมที่ผลิตทันตแพทย์สนองความต้องการของชุมชนภาคใต้ มาเป็นการตอบสนองประชากรทั้งประเทศ รวมทั้งขยายบทบาททางวิชาการสู่ระดับนานาชาติมากขึ้น
 
== สาขาวิชา ==
คณะทันตแพทยศาสตร์ ประกอบด้วย 6 ภาควิชา ดังนี้
# ภาควิชาชีววิทยาช่องปากและระบบการบดเคี้ยว
# ภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์
# ภาควิชาทันตกรรมป้องกัน
# ภาควิชาทันตกรรมอนุรักษ์
# ภาควิชาศัลยศาสตร์
# ภาควิชาโอษฐวิทยา
 
== หลักสูตรการศึกษา ==
ปัจจุบัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดการเรียนการสอนในหลักสูตร ได้แก่
{| class="toccolours" width = 100%
|-
! colspan = "2" style="background: limegreen "| <center>ปริญญาตรี</center>
|-
| valign = "top" |
'''หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (6 ปี)'''
* สาขาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต
'''หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (4 ปี)'''
* สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
|-
|}
 
== โรงพยาบาลทันตกรรม ==
โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2529 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงานคลินิกของนักศึกษาทันตแพทย์ และทันตบุคลากร เพื่อให้บริการรักษาทางทันตกรรมแก่ผู้ป่วยในพื้นที่ภาคใต้ สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางคลินิกทันตกรรม โดยมีการทำงานเป็นฝ่ายการรักษาและฝ่ายอำนวยการ<ref>[https://www.dent.psu.ac.th/hospital/history/ ประวัติโรงพยาบาลทันตกรรม.] 16 เมษายน 2564.</ref>
 
ฝ่ายรักษาพยาบาลดูแลในเรื่องการบริการรักษาทางทันตกรรมโดยมีคลินิกต่าง ๆ ได้แก่
#คลินิกรวม 1
#คลินิกรวม 2
#คลินิกรวม 3
#คลินิกบัณฑิตศึกษาและเฉพาะทาง
#คลินิกรังสี
#คลินิกบริการทันตกรรมนอกเวลาราชการ
 
ฝ่ายอำนวยการ ทำหน้าที่สนับสนุนการให้การรักษาพยาบาล ได้แก่ งานเวชระเบียน งานเภสัชกรรม หน่วยเงินรายได้ งานเวชภัณฑ์กลาง งานห้องปฏิบัติการทันตกรรม งานวิศวกรรมซ่อมบำรุง งานสังคมสงเคราะห์ และงานธุรการโรงพยาบาลทันตกรรม<ref>[https://www.dent.psu.ac.th/hospital/medicalrecords-audit/ หน่วยงานภายในโรงพยาบาลทันตกรรม] 16 เมษายน 2564.</ref>
 
โรงพยาบาลทันตกรรมเป็นสถานที่สำหรับการสนับสนุนงานวิจัย ทั้งงานวิจัยทางคลินิกและงานวิจัยทางห้องปฏิบัติการทันตกรรม ของทั้งนักศึกษาปริญญาตรี นักศึกษาหลังปริญญา และอาจารย์ทันตแพทย์ ทำให้เกิดงานวิจัยที่กว้างขวางมากขึ้น
 
== หน่วยทันตกรรมพระราชทาน ==
หน่วยทันตกรรมพระราชทาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เริ่มดำเนินกิจกรรมการตรวจรักษา ให้บริการทางทันตกรรมตามพระราชดำริมาตั้งแต่ พ.ศ. 2513 เพื่อให้ประชาชนผู้มีฐานะยากจน และด้อยโอกาสทางสังคมได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทย โดยงบประมาณในการดำเนินงานทั้งหมดได้มาจากเงินพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งค่าใช้จ่ายจำนวนมากเป็นการจัดซื้อเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ และการดูแลบำรุงรักษา รวมทั้งการให้บริการรักษาทางทันตกรรม การดำเนินงานระยะเวลาต่อมาได้ขยายพื้นที่การให้บริการและรูปแบบกิจกรรมการรักษา การเผยแพร่ความรู้ด้านทันตกรรม และสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก<ref>[https://www.dent.psu.ac.th/hospital/dental-foundation/ หน่วยทันตกรรมพระราชทาน] 16 เมษายน 2564.</ref>
 
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้น้อมรับพระราชดำริในการที่จะให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยได้มีสุขภาพช่องปากที่ดี จึงได้จัดทำโครงการออกหน่วยทันตกรรมพระราชทานเป็นประจำโดยอาศัยความร่วมมือจากพื้นที่ในการร่วมส่งเสริมการให้บริการทางทันตกรรมเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพช่องปากที่ดีอย่างยั่งยืน
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.dent.psu.ac.th/ddent/index.php/2012-03-09-08-00-46 เว็บไซต์คณะทันตแพทยศาสตร์]
 
{{มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์}}
{{คณะทันตแพทยศาสตร์ในประเทศไทย}}
 
[[หมวดหมู่:คณะทันตแพทยศาสตร์ในประเทศไทย|สงขลานครินทร์]]
[[หมวดหมู่:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์|ทันตแพทยศาสตร์]]