ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สวัสดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PanyaPangya (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9:
ผู้ที่ริเริ่มใช้คำว่า "สวัสดี" คือ [[พระยาอุปกิตศิลปสาร]] (นิ่ม กาญจนาชีวะ) โดยพิจารณามาจากศัพท์ "โสตฺถิ" ใน[[ภาษาบาลี]] หรือ "สฺวสฺติ" ใน[[ภาษาสันสกฤต]] โดยได้เริ่มใช้เป็นครั้งแรก ณ [[คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ขณะที่พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) เป็นอาจารย์อยู่ที่นั่น หลังจากนั้น ในปี [[พ.ศ. 2486]] [[จอมพล ป.พิบูลสงคราม]] [[นายกรัฐมนตรี]]ในสมัยนั้นเห็นชอบให้ใช้คำว่า "สวัสดี" เป็นคำทักทายอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ [[22 มกราคม]] เป็นต้นมา<ref> [http://www.nsru.ac.th/oldnsru/knowwhy/hello.htm สวัสดี ก็มีที่มา...] </ref>
 
"สวัสดี" เป็นภาษาสันสกฤต มาจาก สุ- คำอุปสรรค (คำเติมหน้าศัพท์ที่ทำให้ความหมายของศัพท์เปลี่ยนแปลงไป) แปลว่า ดี งาม หรือ ง่าย และคำว่า "อสฺติ" (อสฺ ธาตุ + -ติ วิภัตติ) เป็นคำกิริยาแปลว่า มี
แผลงคำว่า "สุ" เป็น "สฺว" (สฺวะ) ได้โดยเอา "อุ" เป็น "อวฺ" เป็น "สฺวฺ" ตามหลักไวยากรณ์ แล้วสนธิกับคำว่า "อสฺติ"
เป็น "สฺวสฺติ" อ่านว่า สฺวัดสฺ-วัส-สฺ-ติ (svasti) แปลว่า "ขอความดีความงามจงมี (แก่ท่าน) "
 
พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) ได้ปรับเสียงของคำว่า "สฺวสฺติ" ที่ท่านได้สร้างสรรค์ขึ้นให้ง่ายต่อการออกเสียงของคนไทย จากคำสระเสียงสั้น (รัสสระ/รัสสะ รสฺส) ซึ่งเป็นคำตาย มาเป็นคำสระเสียงยาว (ทีฆสระ ทีฆะ ทีฆ) ซึ่งเป็นคำเป็น ทำให้ฟังไพเราะ รื่นหูกว่า จึงกลายเป็น "สวัสดี" ใช้เป็นคำทักทายที่ไพเราะและสื่อความหมายดี ๆดีๆ ต่อกันของคนไทย
ส่วนคำว่า "ราตรีสวัสดิ์" ซึ่งเป็นคำแปลจากคำว่า "good night" ซึ่งเป็นคำลาในภาษาอังกฤษ ได้ถูกสร้างขึ้นในสมัยของจอมพล ป.พิบูลสงคราม เช่นกัน โดยกำหนดให้คนไทยทักกันตอนเช้าว่า "อรุณสวัสดิ์" มาจากคำว่า "good morning" และให้ทักกันในตอนบ่ายว่า "ทิวาสวัสดิ์" มาจากคำว่า "good afternoon" ส่วนตอนเย็นให้ทักกันว่า "สายัณห์สวัสดิ์" มาจากคำว่า "good evening" แต่เนื่องจากต้องเปลี่ยนไปตามเวลา จึงไม่เป็นที่นิยม คนไทยนิยมใช้คำว่า "สวัสดี" มากกว่า เพราะใช้ได้ตลอดเวลา แต่กระนั้น คนไทยก็ยังคงใช้อยู่บ้างบางคำคือ คำว่า อรุณสวัสดิ์ และราตรีสวัสดิ์
 
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/สวัสดี"