ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอลับแล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เพื่อเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อมูลตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พบขึ้นใหม่
เพื่อความถูกต้องของข้อมูล
บรรทัด 48:
                 เมืองลับแลงตั้งอยู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำจึงผู้คนเดิมชาวกะลอม(ขอม)อาศัยอยู่ ต่อมาพ่อขุนรามคำแหงจึงนำคนสุโขทัยมาทำนาปลูกข้าว จึงเป็นเมืองที่อยู่ในความปกครองของรัฐสุโขทัยที่ชื่อว่าเมืองสระหนองหลวง (เมืองทุ่งยั้ง) ในสมัยพระญาลิไทได้ยกเมืองสระหนองหลวงขึ้นกับเมืองเชลียง และสร้างพระมหาเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานไว้ที่ม่อนเชียงแก้ว โดยให้ชื่อว่า “เจติยะพิหารอารามคีรีเขต”  (ศิลาจารึกเจดีย์พิหาร หลักที่ ๓๑๙)<ref name=":0" /> และเกิดเหตุน้ำท่วมดินโคลน ผู้คนในเมืองล้มตาย บ้านเมืองร้างจึงได้ชื่อว่าเมืองทราก (ซาก) ต่อมา พ.ศ. ๑๙๔๘ เจ้ายี่กุมกามจึงนำคนเชื้อสายชาวยวนจากเมืองเชียงรายมาอยู่ที่เมืองซากตามคำเชิญของพระญาไสลือไท (พระมหาธรรมราชาที่ ๓)
 
                 จนกระทั่งเกิดศึกสงครามระหว่างล้านนากับกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๑๙๙๔ พระเจ้าติโลกราชยกทัพจากเมืองเชียงใหม่ มาตีเมืองซากแตกได้ยามเย็น จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองลับแลงไชย” แปลว่าได้ชัยชนะตอนเย็น แล้วขึ้นครองเมืองลับแลงไชย เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ของแรกของเมืองลับแลงไชย ในศึกนั้นได้สร้างพระพุทธรูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าอุทิศให้กับเจ้ายี่กุมกาม แล้วยกทัพไปตีเมืองเมืองเชลียงได้ จึงเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นเชียงชื่น โดยให้เจ้าหมื่นด้งครอง ต่อมาไม่นานพระญาเจ้าติโลกราชสั่งประหารเจ้าหมื่นด้งนคร นางอั้วป้านคำ นางเมืองเชียงชื่นโกรธไม่พอใจจึงได้ยกเมืองเชลียงและเมืองลับแลงคืนให้สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ตั้งแต่นั้นเมืองลับแลงก็เป็นเมืองที่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา ในสมัยอยุธยา ชาวลับแลงได้ถูกเกนเกณฑ์คนไปช่วยทำศึกร่วมกับกรุงศรีอยุธยาอยู่เนือง ๆ จนเสร็จศึกหงสาวดีกับกรุงศรีอยุธยา เมืองลับแลงได้ขึ้นกับเมืองพิไชย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ใน พ.ศ. ๒๒๐๕ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จไปตีเชียงใหม่ได้ผ่านทัพเข้าเมืองลับแลในครานั้นได้บรูณะวิหารหลวงวัดบุปผารามสวนดอกไม้สัก (วัดดอนสัก) ด้วย
 
                 ในสมัยธนบุรี ในปี พ.ศ.๒๓๑๓ พระเจ้าตากสินเสด็จไปปราบก๊กพระฝางที่เมืองฝางสวางคบุรี หลังจากนั้นได้ทรงให้บูรณปฏิสังขรณ์พระอาราม และพระมหาธาตุ แล้วจึงเสด็จพระราชดำเนินไปยั้งทัพเมืองศรีพนมมาศ ทุ่งยั้ง กระทำการสมโภชพระแท่นศิลาอาสน์ถึงสามวัน