ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rameshe999 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Famefill (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13:
 
''ผู้สนับสนุน:''
* [[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|พระมหากษัตริย์]]{{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}}
* [[พรรคประชาธิปัตย์]]{{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}}
|combatant2 = [[ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png|25px]] [[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 26|รัฐบาลแปลก]]
|commander1 = [[จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์]]
บรรทัด 28:
หลังจาก[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490]] ได้ทำให้อำนาจของคณะราษฎรหมดสิ้นลงไปอย่างสิ้นเชิง คณะรัฐประหารได้ชู จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นผู้นำและนายกรัฐมนตรีสืบต่อมา อย่างไรก็ดี เขาไม่เหลือฐานอำนาจใด และการเมืองหลังจากนั้นอยู่ในการปกครองแบบสามเส้า ซึ่งมีการคานอำนาจกันระหว่าง จอมพล ป. กับฝ่ายกองทัพของจอมพล[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] และฝ่ายตำรวจของพลตำรวจเอก [[เผ่า ศรียานนท์]]
 
ต่อมาเกิด[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2494|รัฐประหารในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2494]] นำโดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่เป็นรัฐประหารตนเอง ตามมาด้วยยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2492 และกลับไปใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2475 เพื่อเป็นการลดอำนาจพระมหากษัตริย์ พระองค์เจ้าธานีนิวัตทรงบันทึกปฏิกิริยาของพระองค์ว่า "ท่านกริ้วมาก ทรงตำหนิหลวงพิบูลอย่างแรงหลายคำ ท่านว่าฉันไม่พอใจมากที่คุณหลวงทำเช่นนี้"<ref name="ณัฐพล"/>{{rp|48–9}}{{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}} ต่อมาทรงพยายามเจรจาต่อรองกับรัฐบาลขอให้เพิ่มเติมพระราชอำนาจบางอย่าง เช่น ให้ทรงเลือกสมาชิกวุฒิสภาได้<ref name="ณัฐพล"/>{{rp|49}}{{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}} ใน พ.ศ. 2496 พระองค์ขัดแย้งกับรัฐบาลเรื่องพระราชบัญญัติจำกัดการถือครองที่ดิน ทรงชะลอการลงพระปรมาภิไธย แต่สุดท้ายก็ผ่านเป็นกฎหมาย<ref name="ณัฐพล">{{cite book |last1=ใจจริง |first1=ณัฐพล |title=ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ: ความเคลื่อนไหวของขบวนการปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม (พ.ศ. 2475-2500) |date=2556 |publisher=ฟ้าเดียวกัน |isbn=9786167667188 |edition=1}}</ref>{{rp|50}}{{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}}
 
ในช่วงปลายรัฐบาล จอมพล ป. เขาร่วมมือกับเผ่าเพื่อคานอำนาจกับฝ่ายเจ้าและอนุรักษนิยมที่มีอำนาจสูงขึ้นเรื่อย ๆ เขาพยายามดำเนินนโยบายแบบเสรีประชาธิปไตยตามแบบสหรัฐเพื่อขอความช่วยเหลือจากต่างชาติ และพยายามนำตัวปรีดี พนมยงค์ กลับประเทศและรื้อฟื้นคดีสวรรคตรัชกาลที่ 8 ใหม่เพื่อล้างมลทินให้ปรีดี อย่างไรก็ดี รัฐบาลสหรัฐไม่เห็นชอบกับแผนการดังกล่าวเพราะมองว่าจะก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพที่ไม่เป็นผลดีต่อยุทธศาสตร์ของสหรัฐ ความพยายามนำปรีดีกลับประเทศน่าจะเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่นำไปสู่รัฐประหาร<ref name="ณัฐพล"/>{{rp|51}}{{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}} ตั้งแต่เดือนเมษายน 2500 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชและกลุ่มกษัตริย์นิยมเคลื่อนไหวเตรียมรัฐประหาร มีการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรว่า พระองค์ทรงพระราชทานเงินสนับสนุนแก่พรรคประชาธิปัตย์ 700,000 บาท และมีรายงานว่าพระองค์ทรงเสด็จฯ ไปบ้านพักของ[[หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช]]ในยามวิกาลอย่างลับ ๆ อยู่เสมอ<ref name="ณัฐพล"/>{{rp|52}}{{ต้องการอ้างอิงเฉพาะส่วน}}
 
[[ไฟล์:04 03.jpg|thumb|left|ภาพเหตุการณ์ขณะที่ จอมพลสฤษดิ์ นำคณะนักศึกษาเข้าพบจอมพล ป. ที่ทำเนียบรัฐบาล]]