ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าลูทวิชที่ 2 แห่งบาวาเรีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เก็บกวาด
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 64:
คำประกาศนี้ลงพิมพ์โดยหนังสือพิมพ์ที่เมือง[[บัมแบร์ค]]เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1886 แต่ถูกยึดโดยรัฐบาลเพราะความกลัวจากผลของการเผยแพร่ข้อเขียนนั้น โทรเลขถึงนักหนังสือพิมพ์และเพื่อนของลูทวิชเกือบทุกชิ้นถูกรัฐบาลสั่งสกัดกั้นทั้งสิ้น แต่ลูทวิชได้รับสาส์นจากมุขมนตรีปรัสเซีย[[อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค|บิสมาร์ค]] ให้เดินทางไปมิวนิกเพื่อไปปรากฏพระองค์ต่อประชาชน แต่ลูทวิชทรงมีความรู้สึกว่าไม่สามารถจะทำได้ ซึ่งเป็นการตัดสินชะตาของพระองค์เอง รุ่งขึ้นวันที่ 12 มิถุนายนคณะกรรมการจากรัฐบาลกลุ่มที่สองก็มาถึงปราสาท พระเจ้าลูทวิชทรงถูกจับเมื่อเวลาตีสี่และถูกนำตัวขึ้นรถม้า ทรงถามด็อกเตอร์กุดเด็นผู้เป็นผู้นำคณะกรรมการว่าทำไมจึงประกาศว่าพระองค์วิกลจริตได้ในเมื่อด็อกเตอร์กุดเด็นก็ไม่เคยตรวจพระองค์<ref> Hans Nohbauer, Ludwig II, p.82</ref> แต่อย่างไรก็ตามพระเจ้าลูทวิชก็ถูกนำตัวจากนอยชวานชไตน์ไปยังปราสาทเบิร์กบนฝั่งทะเลสาบชตาร์นแบร์คทางใต้ของมิวนิกในวันนั้น
 
การสวรรคตของลูทวิชที่ทะเลสาบชตาร์นแบร์คเป็นเรื่องที่ยังที่น่าสงสัยกันอยู่ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1886 เวลาหกโมงเย็นลูทวิชทรงขอออกไปเดินกับด็อกเตอร์กุดเด็น ด็อกเตอร์กุดเด็นตกลงและสั่งไม่ให้ยามเดินตามไปด้วย ทั้งลูทวิชและด็อกเตอร์กุดเด็นไม่ได้กลับมาจากการเดิน คืนเดียวกันร่างของทั้งสองคนก็พบลอยน้ำใกล้ฝั่งทะเลสาบชตาร์นแบร์คเมื่อเวลาห้าทุ่ม หลังจากที่สวรรคตก็มีการสร้างชาเปลเพื่อเป็นอนุสรณ์ตรงที่พบพระศพ ทุกวันที่ 13 มิถุนายนของทุกปีจะมีพิธีรำลึกถึงพระองค์
 
รัฐบาลประกาศว่าการสวรรคตของลูทวิชเป็นการฆ่าตัวตายโดยการจมน้ำตาย ซึ่งไม่เป็นความจริง<ref>Hans Nohbauer, Ludwig II, p.88 </ref> <ref> Katerina von Burg, Ludwig II of Bavaria, p.315</ref> สาเหตุการสวรรคตของลูทวิชไม่เคยมีการอธิบายอย่างเป็นจริง เป็นที่ทราบกันว่าพระเจ้าลูทวิชทรงว่ายน้ำแข็งและที่บริเวณที่พบพระศพน้ำก็ลึกเพียงแค่เอว รายงานการชันสูตรพระศพก็บ่งว่าไม่มีน้ำในปอด จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะสวรรคตโดยการจมน้ำตาย<ref> Hans Nohbauer, Ludwig II, p.88</ref> สาเหตุการสวรรคตยังคงเป็นปริศนามาจนทุกวันนี้เพราะราชวงศ์วิทเทลส์บัคยังไม่ยอมให้แก้ปัญหา<ref> Katerina von Berg, Ludwig II of Bavaria, p.308 </ref> สาเหตุการสวรรคตจึงมีด้วยกันหลายทฤษฏี ทฤษฏีเชื่อกันว่าลูทวิชถูกลอบปลงพระชนม์โดยศัตรูขณะที่ทรงพยายามหนีจากเบิร์ก และอ้างกันว่าทรงถูกยิงตาย<ref> Hans Nohbauer, Ludwig II, p.88 </ref> แต่เจคอป ลิเดิลนักตกปลาประจำพระองค์กล่าวว่าสามปีหลังจากที่สวรรคต ลิเดิลถูกบังคับให้สาบานว่าจะไม่เอ่ยปากกับใครถึงเรื่องที่เกิดขึ้น ลิเดิลก็ไม่ได้กล่าวอะไรกับใครแต่ทิ้งบันทึกที่มาพบเอาหลังจากที่ลิเดิลเสียชีวิตไปแล้ว ในบันทึกกล่าวว่าตัวลิเดิลเองซุ่มรอลูทวิชอยู่ในเรือที่จะพาพระองค์ไปกลางทะเลสาบเพื่อจะไปสมทบกับผู้ที่จะช่วยหลบหนีคนอื่นๆ แต่เมื่อทรงก้าวมาทางเรือ ลิเดิลก็ได้ยินเสียงปืนจากฝั่ง ลูทวิชล้มลงมาในเรือและสวรรคตทันที<ref> Hans Nohbauer, Ludwig II, p.88</ref> <ref> Katerina von Burg, Ludwig II of Bavaria, p.311</ref> อีกทฤษฏีหนึ่งสันนิษฐานว่าลูทวิชสวรรคตตามธรรมชาติอาจจะจากหัวใจวายหรือเส้นโลหิตในสมองแตก ระหว่างที่ทรงพยายามหลบหนีเพราะอากาศที่ทะเลสาบเย็น<ref> Hans Nohbauer, Ludwig II, p.88</ref> บางคนก็เชื่อว่าสิ่งที่ง่ายที่สุดในการเฉลยปัญหานี้คือการชันสูตรพระศพใหม่ เพื่อจะได้รู้กันเป็นที่แน่นอน เพราะถ้าทรงถูกยิงจริงก็เป็นสิ่งที่ง่ายที่จะพบแม้ว่าจะเกิดขึ้นนานมาแล้วก็ตาม
บรรทัด 79:
 
=== ลูทวิชและศิลปะ ===
พระเจ้าลูทวิชทรงเป็นผู้อุปถัมภ์คีตกวี[[ริชชาร์ท วากเนอร์]] และทรงสละพระราชทรัพย์เพื่อช่วยในการสร้าง[[โรงละครเทศกาลบายรอยท์|โรงอุปรากรบายรอยท์]] เป็นที่เชื่อกันว่าถ้าวากเนอร์ไม่ได้รับการอุปถัมภ์จากลูทวิชก็คงไม่ได้เขียน ''[[แหวนแห่งนิเบลลุงเก็นแดร์ริงเด็สนีเบอลุงเงิน]]'' จนจบสมบูรณ์ ซึ่งเป็น[[โอเปร่า]]ชิ้นสำคัญที่สุดของวากเนอร์ หรือ[[พาร์ซิฟาล]] (Parsifal) ซึ่งเป็น[[โอเปร่า]]ชิ้นสุดท้าย
 
=== ปราสาทของลูทวิช ===
บรรทัด 87:
พระเจ้าลูทวิชทรงมีความสนพระทัยในการสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ ซึ่งอาจจะทรงได้มาจากพระเจ้าลูทวิชที่ 1 พระอัยยิกาผู้เป็นผู้สร้างมิวนิกใหม่เกือบทั้งหมดจนเป็นที่รู้จักกันในนาม “เอเธนส์บนฝั่งแม่น้ำอิซาร์” พระเจ้ามัคซีมีลีอานที่ 2 พระบิดาทรงดำเนินการสร้างมิวนิกต่อและทรงก่อสร้าง[[ปราสาทโฮเอินชวังเกา]] ซึ่งเป็นปราสาทที่ลูทวิชใช้เวลาส่วนใหญ่เมื่อยังทรงพระเยาว์ ที่อยู่ไม่ใกลจากนอยชวานชไตน์ของลูทวิชที่ 2 ที่มาสร้างทีหลัง ลูทวิชทรงวางแผนที่จะสร้างโรงละครโอเปร่าใหญ่บนฝั่งแม่น้ำอิซาร์ที่มิวนิก แต่แผนถูกยับยั้งโดยรัฐบาลบาวาเรีย<ref> Ludwig II. und seine Schloesser by Michael Petzet and Werner Neumeister, p.24 </ref> ลูทวิชจึงทรงนำผังเดียวกันนั้นไปสร้างโรงละครที่เบย์รึทด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
 
หลังจากสวรรคตลูทวิชทรงทิ้งผังการออกแบบสำหรับปราสาทอื่นๆ ที่ยังไม่ได้สร้างไว้มาก รวมทั้งผังสำหรับห้องต่างๆ ในปราสาทที่สร้างเสร็จแล้ว ผังเหล่านี้ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูทวิชที่ 2 ที่[[พระราชวังเฮเรินคีมเซ]] ผังเหล่านี้ออกแบบในปลายรัชสมัยของลูทวิชราวปี ค.ศ. 1883 และออกแบบในขณะที่พระราชทรัพย์เริ่มร่อยหลอลง สถาปนิกทราบว่าในเมื่อไม่มีทางที่จะสร้างปราสาทเหล่านี้ได้จึงได้ออกแบบกันอย่างหรูหราพิสดารโดยไม่ต้องคำนึงถึงงบประมาณ
 
สิ่งก่อสร้างโดยพระเจ้าลูทวิช:
::* '''สวนฤดูหนาว''', [[มึนชเนอร์เรซิเดนซ์พระราชฐานมิวนิก]] กลางเมือง[[มิวนิก]] - เป็นสวนที่หรูหราสร้างบนหลังคาวัง ประกอบด้วยทะเลสาบเทียม, สวน และจิตรกรรมฝาผนัง สวนมีหลังคาคลุมที่ทันสมัยทำด้วยโลหะและแก้ว<ref> Hans Nohbauer, Ludwig II, p.18</ref> หลังจากลูทวิชสวรรคตสวนก็ถูกรื้อทิ้งในปี ค.ศ. 1897 เพราะน้ำจากทะเลสาบเทียมรั่วลงมาห้องข้างล่าง จากรูปถ่ายที่หลงเหลืออยู่แสดงถึงสิ่งก่อสร้างที่เต็มไปด้วยจินตนาการที่น่าทึ่งรวมทั้งถ้ำและศาลาแบบมัวร์, กระโจมแบบอินเดีย, และสายรุ้งส่องแสงและพระจันทร์<ref> Past and present Castles of Bavaria by Paolo Calore, pp.164-165 </ref> <ref> Hans Nohbauer, Ludwig II, p.18</ref>
 
::* '''[[ปราสาทนอยชวานชไตน์]]''' - หรือปราสาทหงส์หินใหม่เป็นปราสาที่สร้างตามแบบป้อม[[สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์|โรมาเนสก์]]ผสม[[สถาปัตยกรรมไบแซนไทน์|ไบแซนไทน์]] ภายในเป็นแบบโรมาเนสก์และ[[สถาปัตยกรรมกอธิค|กอธิค]]สร้างเหนือปราสาทโฮเอินชวังเกาของพระราชบิดา ภายในเป็นจิตรกรรมฝาผนังจากโอเปราของวากเนอร์ [[รูปสัญลักษณ์]]ส่วนใหญ่เป็นการสรรเสริญความเกียรติศักดิ์อย่างคริสเตียนและความรักอันบริสุทธิ์ซึ่งอาจจะเป็นสี่งที่ช่วยให้ลูทวิชยึดมั่นใน อุดมคติของความเป็นคริสเตียน ปราสาทนี้ยังสร้างไม่เสร็จเมื่อลูทวิชสวรรคต ผู้ชมสามารถเข้าชมบริเวณที่พักอาศัยของลูทวิช, ห้องมหาดเล็ก, ห้องครัว และท้องพระโรงใหญ่ภายในปราสาทได้ แต่ตัวบัลลังก์ยังทำไม่เสร็จแต่แบบที่ออกแสดงให้เห็นถึงภาพถ้าสร้างเสร็จ <ref> ibid, p.89 </ref> ปราสาทนอยชวานชไตน์เป็นสัญลักษณ์ของเยอรมนีที่เป็นที่รู้จักกันดีสัญลักษณ์หนึ่ง และถูกนำไปใช้เป็นแบบอย่างในการสร้างปราสาทเจ้าหญิงนิทราของ[[ดิสนีย์แลนด์]]
 
::* '''[[ลินเดอร์โฮฟ]]''' - เป็นวังแบบ[[ศิลปะโรโคโค|โรโคโค]]แบบฝรั่งเศสพร้อมทั้งสวนแบบภูมิทัศน์ ในบริเวณสวนมีถ้ำวินัสซึ่งเป็นใช้เป็นที่แสดงโอเปร่าในขณะที่ลูทวิชนั่งเรือรูปหอยบนผิวน้ำในทะเลสาบใต้ดิน[http://commons.wikimedia.org/wiki/Image:Venusgrotte_Linderhof.jpg] ที่ส่องสว่างด้วยไฟฟ้าซึ่งเป็นของใหม่ในสมัยนั้น แสงไฟสามารถเปลี่ยนจากแดงเป็นน้ำเงิน นอกจากนั้นก็มีกระท่อมคนตัดไม้ที่ทำจากต้นไม้เทียม รูปสัญลักษณ์ที่ใช้ตกแต่งภายในแสดงให้เห็นถึงความสนใจของลูทวิชในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของฝรั่งเศสโบราณ ทรงเห็นพระองค์เองว่าเป็น “Moon King”จันทรกษัตริย์” ซึ่งเป็นเหมือนเงาของ [[พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส]]ผู้เป็น Sun King”สุริยกษัตริย์” จากลินเดอร์ฮอฟลูทวิชชอบเล่นรถลากเลื่อนอย่างหรูหราบนหิมะกลางแสงจันทร์ รถลากเลื่อนมาจากคริสต์ศตวรรษ 18 พร้อมด้วยมหาดเล็กในเครื่องทรงจากคริสต์ศตวรรษเดียวกัน และเป็นที่ทราบกันว่าทรงหยุดทักทายกับชาวบ้านที่พบระหว่างทางซี่งทำให้เป็นที่ชื่นชมของประชาชน ปัจจุบันรถลากเลื่อนคันนี้ตั้งแสดงอยู่ที่พิธภัณฑ์รถม้าในวังนึมเฟินบวร์คที่มิวนิก นอกจากนั้นลินเดอร์ฮอฟนเดอร์โฮฟยังมีศาลาแบบมัวร์
 
::* '''[[พระราชวังเฮเรินคีมเซ]]''' - ตั้งอยู่ที่เกาะเฮเรินกลางทะเลสาบเคียมเซ สร้างตามแบบส่วนกลางของ[[พระราชวังแวร์ซายส์]]ที่ฝรั่งเศสที่มีพระประสงค์จะสร้างให้เด่นและดีกว่าแวร์ซายส์ทั้งขนาดและความหรูหรา แต่สร้างไม่เสร็จเพราะขาดกำลังเงิน นักท่องเที่ยวฝรั่งเศสมักจะมาชมบันไดทูต (Ambassador's staircase) เพราะบันไดทูตที่แวร์ซายส์ถูกริ้อทิ้งในปี ค.ศ. 1752<ref>Past and present Castles of Bavaria by Paolo Calore, p.60 </ref>
 
::* ลูทวิชทรงตกแต่ง'''[[ตำหนักเคอนิกอัมชาเค็นราชสถานชาเคิน]]''' (Königshaus am Schachen) เป็นแบบอาหรับรวมทั้งบัลลังก์นกยูง มีข่าวลีอว่าเมื่อทรงมีงานเลี้ยงหรูหราที่นี่ลูทวิชก็จะนอนเอนอย่างสุลต่านตุรกีล้อมรอบด้วยผู้รับใช้หน้าตาดีที่นุ่งน้อยห่มน้อย
 
::* '''[[ปราสาทฟอลเคนชไตน์ฟัลเคินชไตน์]]''' (Castle Falkenstein) – ทรงซื้อซากปราสาทซึ่งเป็นที่ตั้งปราสาทที่สูงที่สุดในเยอรมนีและมีพระราชประสงค์ที่จะสร้างปราสาทใหม่ตามแผนที่วาดโดยของคริสทีอัน ยังค์ ที่จะเป็นแบบเทพนิยายที่ยิ่งไปกว่านอยชวานชไตน์ตั้งอยู่บนผาเหนือนอยชวานชไตน์ แต่ก็สร้างไม่เสร็จ
 
== ลูทวิชและวัฒนธรรมร่วมสมัย ==