ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 11:
งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2477 โดยกลุ่มนักเรียน[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] เพื่อสร้างความสามัคคีนิสิตในหมู่นิสิตนักศึกษาทั้งสองมหาวิทยาลัย เนื่องจากมุมมองของนักเรียนในสมัยก่อนว่า ผู้เข้าศึกษาใน[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]สำเร็จมัธยมศึกษา ส่วนผู้เข้าศึกษาใน[[มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง]] (ชื่อในขณะนั้น) ไม่สำเร็จมัธยมศึกษา ทำให้มีการดูถูกกันหรือไม่สนิทสนมกันเหมือนเดิม จึงเป็นแรงบันดาลใจให้นิสิตนักศึกษาทั้งสองมหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมสานความสามัคคีและสร้างความปรองดองระหว่างกัน โดยมีแบบอย่างจากการแข่งขันเรือประเพณีระหว่าง[[มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด]]และ[[ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์]]ใน[[สหราชอาณาจักร]] และการแข่งขันเบสบอลประเพณีระหว่าง[[มหาวิทยาลัยเคโอ]]และ[[มหาวิทยาลัยวาเซดะ]]ใน[[ประเทศญี่ปุ่น]] แต่กลุ่มผู้ริเริ่มถนัดและสนใจกีฬาฟุตบอลมาตั้งแต่เมื่ออยู่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จึงตกลงที่จะจัดการแข่งขันฟุตบอลขึ้น
 
ผู้ริเริ่มฝ่ายจุฬาฯ ประกอบด้วย [[ประถม ชาญสันต์]] เป็นหัวหน้านิสิต[[คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|คณะอักษรศาสตร์]]ในขณะนั้น กับทั้ง[[ประสงค์ ชัยพรรค]] และ[[ประยุทธ์ สวัสดิ์สิงห์]] เวลานั้น [[หม่อมราชวงศ์สุมนชาติ สวัสดิวัฒน์]] นายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำเรื่องเสนอผ่านกองกิจการนิสิตซึ่งมี[[หม่อมราชวงศ์สลับ ลดาวัลย์]] เป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อขออนุมัติจัดงานจากอธิการบดี ส่วนผู้ริเริ่มฝ่ายธรรมศาสตร์ คือ [[ต่อศักดิ์ ยมนาค]] และ[[บุศย์ สิมะเสถียร]] ได้ทำเรื่องเสนอ[[เดือน บุนนาค]] เลขาธิการมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เพื่อขออนุมัติจากผู้ประศาสน์การ เมื่อได้รับฉันทานุมัติจากมหาวิทยาลัยทั้งสองแล้ว งานก็ได้เริ่มขึ้นโดยมีธรรมศาสตร์เป็นเจ้าภาพ จัดที่ท้อง[[สนามหลวง]]เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2477 และมีการเก็บค่าผ่านประตูคนละ 1 บาท รายได้ทั้งหมดมอบให้แก่สมาคมปราบวัณโรคซึ่งเป็นโรคที่ร้ายแรงที่สุดในขณะนั้น
 
ปีต่อมา ย้ายสถานที่จัดการแข่งขันมายังสนามฟุตบอลโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จนปี พ.ศ. 2492 ย้ายมาที่[[สนามศุภชลาศัย]]ถึงปัจจุบัน รายได้ที่เหลือจากการหักค่าใช้จ่ายแล้วมอบให้แก่หน่วยงานการกุศลทุกครั้ง จนปี พ.ศ. 2521 จึงเริ่มนำรายได้ถวาย[[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] โดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย
 
การพระราชทานถ้วยรางวัลมีขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2492 เมื่อ[[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี]] เสด็จมาเป็นองค์ประธาน จนปี พ.ศ. 2495 [[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]]เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานและพระราชทานถ้วยรางวัลด้วยพระองค์เอง แต่ปัจจุบัน โปรดให้ผู้แทนพระองค์มาแทน
[[ไฟล์:ภาพการแปรอักษรประจำงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 68.jpg|left|thumb|357x357px|อัฒจันทร์ฝั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แปรอักษร]]
เหตุการณ์ที่ทำให้ต้องยกเลิกการจัดงานฟุตบอลประเพณีมีหลายครั้ง เช่น ในปี พ.ศ. 2485 เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ทั่ว[[กรุงเทพมหานคร]] ช่วงปี พ.ศ. 2487–2491 เกิด[[สงครามมหาเอเชียบูรพา]] ในปี พ.ศ. 2494 เกิด[[กบฏแมนฮัตตัน]] ช่วงปี พ.ศ. 2516 – 2518 องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เห็นว่าการจัดงานฟุตบอลประเพณีใช้งบประมาณมาก เป็นกิจกรรมที่ฟุ่มเฟือย ในปี พ.ศ. 2557 เกิด[[วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557|วิกฤตการณ์ทางการเมือง]] ในปี พ.ศ. 2560 ยกเลิกกิจกรรมเพื่อเป็นการแสดงความอาลัยในช่วง[[การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|พระราชพิธีพระบรมศพ]] ของ[[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร|พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]] และในปี พ.ศ. 2564 ยกเลิกกิจกรรมเพื่อป้องกัน[[การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย พ.ศ. 2563|การแพร่ระบาด]]ของ[[โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019]]
 
== เอกลักษณ์เด่น ==
บรรทัด 28:
ทั้งขบวนล้อการเมือง และขบวนสะท้อนสังคม มีจุดประสงค์เพื่อเป็นเสมือนกระจกที่สะท้อนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นภายในสังคม โดยนำเสนอภายใต้ขอบเขต ซึ่งจะไม่โจมตีไปที่ใครคนใดคนหนึ่ง เพื่อให้นิสิต-นักศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้ตระหนักและตื่นตัวต่อปัญหา/สถานการณ์ที่เกิดขึ้น และร่วมกันหาทางแก้ไขเพื่อให้สังคมมีความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น
=== จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ===
[[ไฟล์:PrakiowPresenter.jpg|thumb|264x264px|ขบวนผู้อัญเชิญพระเกี้ยว]]
 
==== การอัญเชิญพระเกี้ยว ====
 
การอัญเชิญ[[พระเกี้ยว]]ปรากฏหลักฐานครั้งแรกในหนังสือพิมพ์สยามนิกร (พิเศษ) ฉบับวันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2507 โดยมีนิสิตหญิง 1 คน เป็นผู้อัญเชิญ โดยการอัญเชิญ[[พระเกี้ยว]]เข้ามาสู่สนามการแข่งขันเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่นักกีฬาและกองเชียร์ โดยจะคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นนิสิตชาย 1 คน และ นิสิตหญิง 1 คน เพื่อเป็นตัวแทนบรรดานิสิตอัญเชิญพระเกี้ยวเข้าสู่สนามแข่งขัน ถึงแม้ว่านิสิตทุกคนต่างมีฐานะเป็นผู้อัญเชิญพระเกี้ยว<ref>หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. “การอัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณี: หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.” ''เว็บไซต์ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.'' 7 พฤศจิกายน 2552. http://www.memocent.chula.ac.th/article/อัญเชิญพระเกี้ยว/ (8 ธันวาคม 2559 ที่เข้าถึง).</ref> แต่เนื่องจากในทางปฏิบัตินั้นไม่สามารถให้ทุกคนเป็นผู้อัญเชิญ[[พระเกี้ยว]]ได้ จึงต้องคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นตัวแทนนิสิตเพื่อทำหน้าที่นี้<ref>[http://www.memocent.chula.ac.th/article/อัญเชิญพระเกี้ยว/ การอัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณี] จาก หอประวัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</ref>
 
==== ประธานเชียร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ====