ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เรืองโรจน์ มหาศรานนท์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Viewwwwww (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Viewwwwww (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19:
|}}
 
พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก '''เรืองโรจน์ มหาศรานนท์''' อดีตรองหัวหน้า[[พรรคพลังประชาชน]] อดีตนายทหารราชองครักษ์พิเศษ<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/013/T_0001.PDF</ref> อดีต[[ผู้บัญชาการทหารสูงสุด]] เกิดเมื่อวันที่ [[28 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2489]] มี[[ชื่อเล่น]]ว่า "ต๋อย" บุตร ร.ต.ท.ระดม มหาศรานนท์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา<ref>http://www.narinet.in.th/korat_data/?m=detail&data_id=2083</ref>พี่ชายชื่อ นายเรืองเดช มหาศรานนท์ เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลิมา พลเอกเรืองโรจน์ มหาศรานนท์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจาก[[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] ต่อมาได้สอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2505 หลังจากนั้นได้เข้ารับการศึกษาต่อใน[[โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า]] และจบออกรับราชการเป็นร้อยตรี ในเหล่าทหารราบแห่ง[[กองทัพบกไทย|กองทัพบก]]เมื่อปี พ.ศ. 2511
 
ในตอนต้นของชีวิตราชการได้ปฏิบัติราชการในกรมผสมที่ 5 ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ ภาคใต้ และต่อมาได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งต่างๆต่าง ๆ ในสังกัด [[กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์]] [[กรุงเทพมหานคร]]
 
หลังจากจบการศึกษาจาก[[โรงเรียนเสนาธิการทหารบก]] เมื่อปี พ.ศ. 2522 ได้ไปปฏิบัติราชการเพื่อปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ โดยดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายส่งกำลังบำรุงของกองพลทหารราบที่ 3 ต่อจากนั้น ได้มีโอกาสปฏิบัติหน้าที่เป็น ฝ่ายเสนาธิการประจำตัวของพลเอก[[สุนทร คงสมพงษ์]] อดีต[[ผู้บัญชาการทหารสูงสุด]] และประธานคณะกรรมการรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
 
ได้รับพระราชทานยศ "พลตรี" ในตำแหน่ง เสนาธิการ[[กองอำนวยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ]] เมื่อ พ.ศ. 2534 ต่อมาได้ยศ พลโท ในตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายเสนาธิการประจำ เสนาธิการทหาร พลเอก [[มงคล อัมพรพิสิฏฐ์]] ทำให้ได้สะสมประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาระดับสูงของกองทัพไทยเพิ่มขึ้น
 
พลเอกเรืองโรจน์ได้รับความไว้วางใจในเวลาต่อมา ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดบัญชีทหาร ในช่วงที่ประเทศไทยประสบวิกฤตทางเศรษฐกิจ และมีส่วนสำคัญในการบริหารจัดการด้านงบประมาณของกองทัพไทย จนผ่านอุปสรรคมาได้ เป็นเวลาถึง 3 ปี ก่อนที่จะได้รับยศเป็น พลเอก ในตำแหน่งผู้บัญชาการ[[หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา]] เมื่อปี พ.ศ. 2543 หน่วยนี้ก่อตั้งมากว่า 43 ปี ตั้งแต่ยุคสงครามเย็น และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกองทัพไทยที่มีบทบาทในการพัฒนาชนบทเพื่อส่งเสริมความกินดีอยู่ดีของประชาชนและขจัดเงื่อนไขต่างๆต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่การแตกแยกทางความคิดของประชาชนซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการดำรงความมั่นคงของชาติ
 
พลเอกเรืองโรจน์ได้ดำรงตำแหน่งนี้เป็นเวลา 3 ปี และได้ริเริ่มปรับทิศทางการพัฒนาเพื่อจัดระเบียบตามแนวชายแดน เพื่อให้ชุมชนชายแดนร่วมเป็นปราการในการป้องกันประเทศ แนวความคิดดังกล่าวนี้ยังเป็นแนวความคิดที่ยังใช้ได้มาจนถึงปัจจุบัน
 
พลเอกเรืองโรจน์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ประธานคณะที่ปรึกษากองบัญชาการทหารสูงสุด ทำหน้าที่ให้คำแนะนำและคำปรึกษาโดยตรงแก่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง [[ผู้บัญชาการทหารสูงสุด]] ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา
 
ในเหตุการณ์การ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549|รัฐประหารในคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549]] พลเอกเรืองโรจน์ถูกแต่งตั้งโดยประกาศ[[สถานการณ์ฉุกเฉิน]]ของ พันตำรวจโท[[ทักษิณ ชินวัตร]] ให้เป็นผู้อำนวยการควบคุมสถานการณ์ แต่ทว่าคำสั่งนี้ไม่อาจปฏิบัติได้ เนื่องจากกองกำลังของ[[คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] (คปค.) ได้ควบคุมสถานการณ์ที่กองบัญชาการทหารสูงสุดไว้ได้แล้ว ต่อมา พลเอกเรืองโรจน์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและรองกรรมการคณะกรรมการคณะกรรมการกำกับดูแลการเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยตำแหน่งหลังแต่งตั้งเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554 แต่งตั้งโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิรูปการครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษํตริย์เป็นประมุข<ref>http://www.thethailaw.com/law10/lawpdf/law25412550/6932.PDF</ref>และดำรงตำแหน่งนี้จนเกษียณอายุราชการ ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549
บรรทัด 37:
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 หลังจากที่ประชุมสมาชิกเดิมของ[[พรรคไทยรักไทย]] มีมติให้ ส.ส.เก่าของพรรค สมัครเป็นสมาชิก[[พรรคพลังประชาชน]] เพื่อดำเนินการทางการเมืองต่อไป พลเอกเรืองโรจน์ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคด้วย และได้รับเลือกเป็นรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 และต่อมาได้ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี<ref>[http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000142370 เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร “พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ” ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี]</ref>
 
พลเอกเรืองโรจน์สมรสกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัตนาภรณ์ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ [[มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี]] มีบุตรชาย 1คน ชื่อ นายเดชอุดม มหาศรานนท์ และบุตรสาว 1 คน
 
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==