ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท้าวอินทรสุริยา (เนื่อง จินตดุล)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ศรีคำ002 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขที่ 8989690 สร้างโดย Aroonsaha (พูดคุย)
บรรทัด 26:
}}
 
'''ท้าวอินทรสุริยา สรรพาหารพิจาริณี''' (เนื่อง จินตดุล; 10 ธันวาคม พ.ศ. 2428 - 16 ตุลาคม พ.ศ. 2517) เป็นพระพี่เลี้ยงผู้ถวายการอภิบาลพระราชโอรส-ธิดาใน[[สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก]] และพระราชโอรส-ธิดาใน[[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]]
 
==ประวัติ==
ท้าวอินทรสุริยา สรรพาหารพิจาริณีมีนามเดิมว่า (เนื่อง จินตดุล) เป็นธิดาคนเดียวของกลีบ และทองคำ จินตดุล เกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2428 ณ [[ตำบลบางขุนศรี]] [[อำเภอบางกอกน้อย]] [[จังหวัดธนบุรี]] บิดารับราชการกรมมหรสพ มารดามีเชื้อสายราชินิกุล[[ณ บางช้าง|ชูโต]]
 
เมื่อเนื่องอายุประมาณ 2 ขวบ มารดายกเธอให้เป็นธิดาบุญธรรมของคุณนายทับทิม บุณยาหาร ซึ่งเป็นญาติกัน เนื่องเป็นที่รักของคุณนายทับทิมและคนในบ้าน เพราะเธอสุภาพเรียบร้อย ว่านอนสอนง่าย เมื่อเนื่องเริ่มโตพอศึกษา คุณนายทับทิมจึงหาครูมาสอนเธอที่บ้านให้พออ่านออกเขียนได้ จนอายุ 15 ปี เนื่องมีใจน้อมไปทางธรรม เนื่องจากมีโอกาสติดตามคุณนายทับทิมไปวัด ทำบุญรักษาศีลทุกวันมิได้ขาด ต่อมาเนื่องตัดสินใจโกนผมนุ่งห่มขาว บวชอยู่ ณ สำนักชี[[วัดพระเชตุพน]] เป็นเวลา 5 ปี ครั้นไม่มีคนช่วยดูแลบ้าน คุณนายทับทิมจึงขอร้องให้ลาเพศชีกลับมาช่วยดูแลบ้านตามเดิม
บรรทัด 57:
 
==บั้นปลายชีวิต==
ต้นปี พ.ศ. 2505 ท้าวอินทรสุริยา สรรพาหารพิจาริณี ได้กราบบังคมทูลลา ถือเพศอุบาสิกานุ่งขาวห่มขาวอีกครั้ง ณ วัดโกมุทรัตนาราม [[จังหวัดชลบุรี]] โดยมีหลวงพ่อสาลี เป็นผู้ประกอบพิธี เมื่อบวชแล้วก็ย้ายมาจำพรรษา ณ [[วัดธาตุทอง]] ท่านได้อุทิศตนบำเพ็ญประโยชน์ให้กับการบำรุงวัด สถานพยาบาล โรงเรียน และสถาบันแม่ชี และท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ที่ชอบมาก คือ วัดวชิราลงกรณวราราม [[ตำบลหนองน้ำแดง]] [[อำเภอปากช่อง]] [[จังหวัดนครราชสีมา]] ท้าวอินทรสุริยา มีโอกาสได้รู้จักกับ[[หลวงปู่ฝั้น อาจาโร]] และอาจารย์[[สายพระป่าในประเทศไทย]]หลายรูป ในเวลาต่อมา[[พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]]ทรงขอร้องให้ ท้าวอินทรสุริยา เข้ามาพำนักใน[[พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]] และพระราชทานห้องพักในพระตำหนักจิตรลดารโหฐานให้
 
ท้าวอินทรสุริยา สรรพาหารพิจาริณี ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2517 เวลา 19.10 น. ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สิริรวมอายุได้ 88 ปี 11 เดือน<ref name="เจ้านายเล็กๆ" /> ท้าวอินทรสุริยาเกิดในเดือนธันวาคม ถึงแก่อนิจกรรมในเดือนตุลาคม ตอนมีอายุ 88 ปี 11 เดือน เหมือนกับพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผู้ที่ท้าวอินทรสุริยา ถวายการอภิบาลและถวายงานอย่างใกล้ชิดมาตลอด
 
ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน น้ำหลวงอาบศพ โกศแปดเหลี่ยม ฉัตรเบญจา 6 คันตั้งประกอบเกียรติยศ ปี่ไฉน 1 กลองชนะ 10 ประโคมเวลารับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และให้ตั้งโกศศพบำเพ็ญกุศลไว้ ณ ศาลาบัณณรศภาค [[วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร]]
 
วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2518 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร [[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง]] [[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]] [[สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] และ[[สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี]] เสด็จฯในการพระราชทานเพลิงศพท้าวอินทรสุริยา สรรพาหารพิจาริณี ณ [[เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส]] โดยทรงพระดำเนินขึ้นบนเมรุ ทรงวางดอกไม้จันทน์พระราชทานเพลิงศพด้วยพระองค์เอง
 
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==