ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Caramel latte 56 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Caramel latte 56 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 26:
'''เลขาธิการใหญ่คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม''' ({{lang-vi|Tổng Bí thư Ban Chấp hành Trung ương Đảng Cộng sản Việt Nam}}) ({{lang-en|General Secretary of the Central Committee of the Communist Party of Vietnam}}) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 ถึง พ.ศ. 2519 เป็นสำนักงานสูงสุดในพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามและโดยทั่วไปมักเรียกว่า ''ผู้นำสูงสุดแห่งเวียดนาม'' หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม '''เลขาธิการเอก''' ({{lang-vi|Bí thư Thứ nhất}}) ในช่วงปี พ.ศ. 2494 ถึง พ.ศ. 2512 ตำแหน่งเลขาธิการเป็นตำแหน่งที่สูงสุดเป็นลำดับที่สองรองจากตำแหน่ง'''ประธาน'''พรรคแรงงานเวียดนาม ซึ่งมีท่าน[[โฮจิมินห์]]ดำรงตำแหน่งประธานอยู่ เลขาธิการใหญ่ยังเป็นเลขาธิการของคณะกรรมาธิการทหารส่วนกลางซึ่งเป็นผู้นำองค์กรพรรคในกิจการทหาร{{sfn|Porter|1993|pp=83–84}} ในช่วงเวลาหนึ่งของประวัติศาสตร์ตำแหน่งเลขาธิการใหญ่มีความหมายเปรียบเสมือนกันกับผู้นำสูงสุดของเวียดนาม เลขาธิการคนปัจจุบันคือ[[เหงียน ฟู้ จ่อง]]และเขาได้รับการจัดอันดับให้ลำดับที่หนึ่งในโปลิตบูโร
 
'''เจิ่น ฟู้'''ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้ง[[พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน]] ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการคนแรกของพรรค หนึ่งปีหลังจากได้รับเลือกเขาถูกทางการฝรั่งเศสตัดสินจำคุกเนื่องจากจัดกิจกรรมต่อต้านฝรั่งเศส เขาเสียชีวิตในคุกในปีเดียวกัน{{sfn|Dodd|Lewis|Emmons|2003|p=557}} ผู้รับช่วงเป็นเลขาธิการคนที่ 2 โดยพฤตินัยคือ ''เลอ ห่ง ฟอง'' เลขาธิการ OEC ซึ่งเป็นผู้นำพรรคโดยผ่านสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมการบริหารพรรคแห่งโพ้นทะเล (OEC) เหตุที่ได้เป็นเลขาธิการพรรคเพราะคณะกรรมการกลางถูกปราบปรามทั้งหมด{{sfn|Brocheux|2007|p=60}} ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2478 ในการประชุมพรรคครั้งแรกที่มาเก๊า ''ฮ่า หุ่ย เติบ'' ได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการคนที่ 3 และจนถึงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2481 ในที่ประชุมคณะกรรมการพรรค ณ บาเดียม [[นครโฮจิมินห์|กรุงไซ่ง่อน]] เขาได้ลาออกจากตำแหน่ง เดือนพฤษภาคมเขาถูกเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสจับกุมและถูกประหารในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2484 {{sfn|Quinn-Judge|2002|p=225}} ในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2481 หลังการลาออกของเลขาธิการคนที่ 3 ''เหงียน วัน เกอ''ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการคนที่ 4 ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2483 เขาถูกเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสจับกุม และถูกประหารชีวิตโดยการยิงในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ท่ามกลางวิกฤติของ[[พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน]]ที่ถูกทางการฝรั่งเศสกวาดล้างผู้นำพรรคหลายคน ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2484 ''[[เจื่อง จิญ]]''ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการคนที่ 5{{sfn|Currey|2005|p=61}} โดยบทความใน NhânDân เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2494 ได้กล่าวถึงบทบาทของเจื่องจิญในฐานะ "ผู้สร้างและผู้บัญชาการ" ของการปฏิวัติในขณะที่[[โฮจิมินห์]]ถูกเรียกว่า "จิตวิญญาณของการปฏิวัติเวียดนามและการต่อต้านของเวียดนาม"{{sfn|Quinn-Judge|2002|pp=1–2}} ในปีพ.ศ. 2488 พรรคคอมมิวนิสต์อินโดจินได้สลายตัวทำให้เจื่องจิญพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการใหญ่ตามสภาพพรรค และในปี พ.ศ. 2499 ได้ก่อตั้งพรรคใหม่อีกครั้งในนามพรรคแรงงานเวียดนาม จิญกลับมาเป็นเลขาธิการเอกคนที่ 1(5) แต่เนื่องจากบทบาทของเขาในการรณรงค์ปฏิรูปที่ดินอย่างรุนแรงเขาจึงต้องลาออก{{sfn|Thai|1985|pp=27–29}} ''[[โฮจิมินห์]]''จึงเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการเอกพรรคแรงงานเวียดนามต่อเป็นคนที่ 2(6) แต่ได้แต่งตั้งให้เล สวนเป็นรักษาการเลขาธิการเอกอย่างรวดเร็ว{{sfn|Ooi|2004|p=777}} ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 ''[[เล สวน]]''ได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการเอกคนที่ 3(7) และเป็นผู้นำสูงสุดลำดับที่สองจนกระทั่งโฮจิมินห์เสียชีวิตในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2512{{sfn|Brocheux|2007|p=174}}
 
==References==
{{Reflist}}